แสดงว่า ศ.ดร. คนนี้หลอกผมนิหว่า ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณวุฒิ ปริญญาเอกด้านกฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัยปารีส 2 ประเทศฝรั่งเศส ผมยกบทความของท่าน ศ.ดร.นันทวัฒน์มา http://www.pub-law.n...ew.aspx?id=1540 คนในนี้ก็โต้แย้งท่านได้หมดจด ขาวสะอาด เข้าใจง่าย โอว..เคลียร์ชัดๆเลย ขอบคุณ ศ.ดร. Gop ครับ ที่มาให้ความกระจ่าง ทั้งที่ท่านเพิ่งมาทีหลัง มาซักถามข้อมูลคนโน้นนี้เอาไปวินิจฉัย รวมทั้ง อ.วันชัยด้วย.. เสียดายที่ขนาด อ.ประมาณ ยังต้องทิ้งท่านไป เพราะคงอิจฉาความเก่ง (ปาก)
เอาเลยครับ 5555 แหม ผมรอตั้งนาน ได้แค่นี้เองหรือครับ ผมไปห้ามคุณคิดอะไรไม่ได้หรอกครับ แต่ช่วยตอบผมหน่อยได้มั้ย ผมถามมาตั้งแต่เย็นแล้วว่า
๑ คุณคิดว่าตอนอ่านคำพิพากษานั้น ตุลาการทุกคนวินิจฉัยมาแค่สองประเด็น คือเรื่องข้อกฏหมายและ การฟ้องร้องนั้นชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในประเด็นหลังๆเลยใช่มั้ย
๒ ถ้าเป็นอย่างนั้น ตุลาการจะรู้ได้อย่างไร ว่าเสียงส่วนใหญ่นั้นจะให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะหรือแพ้เพียงเพราะสองประเด็นแรกนี้เท่านั้น การทำงานอย่างนี้มีด้วยหรือ??
ก่อนที่จะมาไล่ถามผม ซึ่งก็เป็นครั้ง2ของคุณ ซึ่งคำถามฟังแล้วก็ งงๆ อยู่ แจงรายละเอียดคำถามอีกรอบได้ไหม
แต่ตอนนี้จะถามกลับ ว่าคุณได้อ่านสิ่งที่ผมโพสไปแล้วหรือไม่ บทความอันนั้นไง
******************* ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
" ไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้อธิบายเรื่องนี้ต่อประชาชนดีครับ ระหว่าง
เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งอยู่อย่างเงียบเหลือเกินมาเป็นเวลานานแล้ว) กับ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะตามที่ผมเข้าใจนั้น
คำวินิจฉัยมีผลเมื่ออ่าน และเมื่อ
อ่านอย่างไรก็ควรจะเขียนอย่างนั้น หากจะมีการแก้ไขถ้อยคำให้สละสลวยบ้างก็ยอมรับได้ แต่ไม่ใช่เมื่ออ่านแล้วและผลก็เกิดแล้วคือ
ผูกพันทุกองค์กร พอเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ตอนเขียนก็เลยถือโอกาสเขียนเพิ่มเติมขยายความออกไปอีก แถมยังให้เหตุผลต่างไปจากที่อ่านด้วยจนทำให้ตอนนี้
ไม่ทราบแน่ชัดแล้วว่าที่
ยกคำร้องไปนั้นเนื่องมาจากประเด็นใดกันแน่ระหว่าง
การยื่นคำร้องพ้นกำหนดเวลา 15 วันหรือ
นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นครับ เรื่องนี้
ควรจะต้องมีคำตอบที่ชัดเจนนะครับว่าหลักควรเป็นอย่างไรคำวินิจฉัยมีผลเมื่ออ่านใช่หรือไม่ อ่านแล้วแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่ ถ้าได้สามารถทำได้มากน้อยเพียงใด ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ศาลรัฐธรรมนูญควรชี้แจงให้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่
เงียบหายไปเหมือนกับทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญครับ !!! นอกจากนี้แล้ว ผมยังมีข้อสังเกตอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับ
ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน ตามความเข้าใจของผม
ในวันตัดสินคดี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนต้องออกจากบ้านมาพร้อมกับความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตน พอประชุมกันแต่ละคนก็จะเสนอความเห็นของตน เมื่อทุกคนเสนอความเห็นเสร็จแล้ว ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นการตรวจดูความเห็นของแต่ละคนในแต่ละประเด็นเพื่อให้ผลออกมาว่า สรุปแล้วเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อยในแต่ละประเด็นเป็นอย่างไร จากนั้นจึงไปทำคำวินิจฉัยกลาง แต่เท่าที่ปรากฏ สาธารณชนไม่ทราบความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดก่อนเลยซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนเป็นที่มาของคำวินิจฉัย ดังนั้น ก่อนที่จะทราบผลของคำวินิจฉัยกลาง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนก่อน หาไม่แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องประชุมก็อาจไม่มีความชัดเจนและอาจเปลี่ยนแปลงได้ ผมไม่ทราบว่า
ผมขอมากไปไหมครับ !! หากสามารถเปิดเผยความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนซึ่ง
ต้องมีอยู่แล้วก่อนการวินิจฉัยทันทีที่มีการอ่านคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะ
เป็นประโยชน์อย่างมากและอย่างน้อยก็จะเป็น
เกราะป้องกันความเข้าใจผิดหรือข้อครหาต่าง ๆ ที่ตามมาด้วยครับ ก็ลองดูนะครับ ไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ให้คำตอบในเรื่องนี้ได้ครับ"
************************************ ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
ถ้าผมไม่ได้เข้าใจคำถามผิด คงน่าจะ เคลียร์กันได้นะครับ
แต่ก็เอาอีกแล้วนะไอคุณกบ ชอบมาขอมีส่วนร่วมในการคุย
สักแต่โพสต์ โดยไม่อ่านอะไรที่ผมยกข้อมูลมาบอกไปแล้วก่อนหน้า
ให้หมดเสียก่อนคุณเป็นแบบนี้ เหมือนกรณีเรื่องวิหาร ที่คุยกันครั้งก่อน เป๊ะๆเลย
พอเราประชดแกล้งชมให้ ก็ไม่รู้ตัวอีก เฮ้อ
ไอฟายบุ๊คม้าก..เอ็งอย่าเพิ่งประกาศชัยชนะปิดกะทู้ กรุยังไม่แพ้เว๊ย เพราะกรุเอา ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ ดร. มาสู้ว่ะ 555
Edited by Tam-mic-ra., 28 February 2012 - 00:41.