Jump to content


นายชม

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ 2552
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2557 13:12
-----

Topics I've Started

หน้าที่พลเมือง...มี "สิทธิ" แล้วก็ต้องทำ "หน้าที่" ด้วยนะครับ

8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 09:18

หน้าที่พลเมือง

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้

สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง

พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ

         หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น

         กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น

พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

  • ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น

            1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 

            2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 
            3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ 
            4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้         1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว 
            2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน 
            3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
  • คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี         1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 
            2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
            3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 
            4. ความซื่อสัตย์สุจริต 
            5. ความสามัคคี 
            6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว 
            7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
            8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ

จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี

คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่

1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

2. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

3. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร

4. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน

5. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน

6. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย

การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนา และหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง

2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้านคนในสังคมให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน

3. สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน

4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน

5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ที่มา http://www.thaistudy...หน้าที่พลเมือง/


สังคมจีนเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน?

2 มกราคม พ.ศ. 2557 - 12:10

สังคมจีนเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน?

 

โดย : อาร์ม ตั้งนิรันดร

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เรามักสอนกันตามตำราและตามมาตรฐานฝรั่งว่าจีนปกครองด้วยระบบเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ จึงไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย  หากความเป็นจริงซับซ้อนกว่านี้มาก จีนอาจไม่ใช่สังคมประชาธิปไตยตามรูปแบบที่มักเข้าใจกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้ว สังคมจีนมีสาระที่เป็นประชาธิปไตยไม่น้อยเลยทีเดียว

ในบทความนี้ เราจะลองพยายามวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมจีนด้วยการเปรียบเทียบกับสังคมประเทศ A แต่เพื่อความสนุกสนานและท้าทายท่านผู้อ่าน เราจะค่อยเฉลยว่าประเทศ A ที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบคือประเทศใดในตอนท้ายของบทความ พยายามทายให้ถูกนะครับ

ปัจจัยที่เราจะใช้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมมี 5 ข้อ ดังนี้

 

ข้อแรก สังคมประชาธิปไตยต้องมีการหมุนเวียนผู้นำประเทศในแง่นี้ ในรอบสิบห้าปีที่ผ่านมาประเทศ A มีการเลือกตั้งก็จริง แต่ผู้นำคนเดียวหรือเครือญาติของผู้นำคนเดียวชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง จุดมุ่งหมายของการเลือกตั้งจึงไม่ใช่การหมุนเวียนผู้นำประเทศ แต่กลายเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผู้นำต่างหาก สำหรับสังคมจีน แน่นอนครับไม่มีพรรคการเมืองใดกล้ามาแข่งบารมีกับพรรคคอมมิวนิสต์หรอก แต่กลุ่มผู้นำสูงสุดของจีนได้รักษาคำมั่นที่จะอยู่ในอำนาจไม่เกิน 10 ปี ก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจไปสู่กลุ่มผู้นำใหม่อย่างสันติดังที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว คนจีนเข้าใจดีว่าถ้าอำนาจไม่เปลี่ยนมือเลย จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ จึงพยายามพัฒนาระบบการปกครองแบบคณะบุคคลที่พร้อมจะถ่ายโอนอำนาจทุกสิบปี และหลีกเลี่ยงการให้ผู้นำคนเดียวหรือตระกูลเดียวมีอำนาจเบ็ดเสร็จ

 

ข้อสอง สังคมประชาธิปไตยต้องรับฟังเสียงจากประชาชนแม้ประเทศ Aจะเปิดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่เข้าบริหารประเทศแล้ว กลับขาดระบบการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเพียงพอ ในขณะที่ในประเทศจีน แม้จะไม่มีการเลือกตั้ง แต่มีการวางระบบการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูนโยบายและร่างกฎหมายต่างๆ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังมีความพยายามให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดทำระบบรับฟังความคิดเห็นออนไลน์จากประชาชนในท้องถิ่น ทั้งยังให้ความสำคัญกับผลการสำรวจความคิดเห็นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในประเด็นนโยบายสาธารณะ

 

ข้อสาม สังคมประชาธิปไตยต้องอดทนและเปิดรับความเห็นต่างในประเทศ A คุณสามารถตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาแข่งขันกับพรรครัฐบาลระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาล และเขียนบทความโจมตีให้รัฐบาลลาออก เพียงแต่ผลลัพธ์คือรัฐบาลกลับไม่เคยทบทวนนโยบายตามความเห็นหรือข้อแนะนำของฝ่ายค้าน ในขณะที่ในจีน แม้คุณจะไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองมาค้านได้ ไม่อาจระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาลกลางได้ ไม่อาจเขียนโจมตีไล่พรรคคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศได้ แต่กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายของรัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับความเห็นต่างและข้อวิจารณ์นโยบายสาธารณะจากทีมงานข้าราชการ นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ค่อนข้างมาก มีตัวอย่างที่รัฐบาลทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายหลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง การมีความเห็นต่างในเรื่องนโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนพร้อมเปิดรับ ตราบเท่าที่คุณไม่ได้มีความเห็นว่าควรจะยุบพรรคคอมมิวนิสต์ทิ้งไป

 

ข้อสี่ สังคมประชาธิปไตยต้องช่วยผลักดันให้คนดีมีความสามารถได้ขึ้นมาบริหารบ้านเมือง ในเรื่องนี้ หากเราเปรียบเทียบรายชื่อรัฐมนตรีจากประเทศ A กับรัฐมนตรีจากประเทศจีน เราก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีผลการวิจัยว่ารัฐมนตรีจากประเทศ Aรวมไปถึงบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งหลายส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยสำคัญเท่านั้น (จึงเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันหมด) นอกจากนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในเมืองหลวงหรือภาคกลาง และรู้จักหรือมีสายสัมพันธ์กับท่านผู้นำในช่วงที่ท่านทำธุรกิจอยู่ก่อนที่ท่านจะเข้ามาเล่นการเมือง ขณะที่ในประเทศจีน คุณจะต้องเป็นนักศึกษาดีเด่น หรือเป็นนักกิจกรรมที่โดดเด่นจึงจะได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (ไม่ใช่ใครๆ ก็สมัครเข้าพรรคได้) และการแต่งตั้งสมาชิกพรรคเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ก็ดูกันที่ผลงานที่ผ่านมาเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับการกระจายตำแหน่งต่างๆ ในส่วนกลางไปยังสมาชิกพรรคที่มาจากภูมิภาคและพื้นฐานสังคมที่หลากหลาย

 

ข้อห้า สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นสังคมที่เปิดพื้นที่ให้มีการทดลองทางนโยบาย ในประเทศจีน การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงข้อเสนอด้วยน้ำลายหรือบนกระดาษเท่านั้น แต่ต้องมาจากผลการทดลองจริงว่าใช้ได้ผลหรือไม่กับบริบทของประเทศจีน โดยอาจเป็นการทดลองในเขตพื้นที่เล็กๆ พื้นที่หนึ่งก่อน หากใช้ได้ผล จึงจะนำไปขยายผลปรับใช้ทั่วประเทศ สังคมจีนจึงเป็นสังคมที่มีการกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการทดลองและแข่งขันกันในเรื่องนโยบาย ขณะที่สังคมของประเทศ A กลับเป็นสังคมรวมศูนย์จากส่วนกลาง มักถกเถียงเรื่องนโยบายกันบนกระดาษหรือผ่านเวทีปราศรัย แต่ไม่เปิดโอกาสให้มีการทดลองปฏิรูปอะไรใหม่ๆ เลย

 

มีหลายคนกล่าวว่าสังคมจีนยุคใหม่เป็น “คอมมิวนิสต์แต่เปลือก” เราก็สามารถกล่าวว่าสังคมประเทศ A ก็เป็น “ประชาธิปไตยแต่เปลือก” เช่นเดียวกัน ถึงตรงนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงเดาออกแล้วว่าผมกำลังเปรียบเทียบประเทศจีนกับประเทศใดถูกต้องครับ ประเทศ A ก็คือประเทศรัสเซียไงครับ (อย่าคิด “ใกล้” เกินไปครับ !!) โดยที่ประธานาธิบดีปูติน ก็คือผู้นำเผด็จการในคราบประชาธิปไตย และจริงๆ การเปรียบเทียบดังกล่าว ก็เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการชื่อดังด้านรัสเซียศึกษาชื่อ Ivan Krastev

 

Krastev อธิบายว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1989 - 1991 ผู้นำของทั้งรัสเซียและจีนต่างเห็นตรงกันว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นการปกครองที่ล้มเหลว เพียงแต่ทั้งสองมองเห็นสาเหตุแตกต่างกัน ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟของรัสเซียเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวคือ พรรคคอมมิวนิสต์ และต้องเร่งปฏิรูปการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งตามตะวันตก ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวไม่ใช่การปกครองเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่เป็นรูปแบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง จึงต้องเร่งเปิดและปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม แต่พยายามปฏิรูปสาระให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยมากขึ้น ผลก็คือความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

การดูว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน ต้องไม่ใช่เพียงพิจารณาจาก “รูปแบบ” ของสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น แต่ต้องดูถึง “สาระ” นั่นคือสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นเนื้อในเป็นอย่างไรด้วย รัสเซียเป็นประเทศที่มีรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย แต่ภายใต้รูปแบบดังกล่าว กลับเปี่ยมด้วยกลเกมกลโกงสารพัด ขณะที่จีนนั้นโดยรูปแบบเป็นเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โดยสาระอาจมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประเทศที่เรียกตนว่าเป็นประชาธิปไตยอีกหลายๆ ประเทศ

http://www.thaisocia...tiy_kh_hin.html

 

อ่านแล้วแอบเห็นแสงสว่างรำไรในประเทศแล้วครับ

17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:41

เมื่อคืน search หาเรื่อง ธกส.เจ๊งจำนำข้าว ไปเจอเพจนี้เข้าเลยเข้าไปอ่าน แอบเห็นแสงสว่างรำไรบ้างแล้วประเทศไทย  ;) 

"Baby Old : ถ้าเป๋นจะอี้ หมู่เฮาจะเยี๊ยะใดดี เอาเข้าไปขายแล้วธกส.บ่อมีเงินจ่าย ข้าวโฮงสีก่อเอาไปแล้ว ขยิบตาต๋อนนี้ข้าว กข.15 ก่อเริ่มเกี่ยวกั๋นแล้ว #ขยิบตา

sabaidree : ถ้าเฮาเกี่ยวแห้ง กะปอจะเก็บไว้ก่อนได้ แต่ถ้าเฮาใจ้รถดูดเอาก็อิ๊ดอยู่ครับ 
ไผ่จะว่าจะไดกะจ่างสมัยหน้าผมบ่เลือกแล้วเน้อพรรคนี้ โดนมานักแล้วคับหมู่เฮา

Snoopymomo : เหนื่อยคับเหนื่อย ยะนามาอิดหิมต๋าย ต้องมาเจอจ๊ะอี้แห๋ม จะขายฮื้อโฮงสีก่อถูกจะเข้าโครงก๋านจ๋ำนำก่อบ่าได้ตังค์ขายข้าวไปเป๋นเดือนแล้ว

Wavelap : จะเอาราคาดี ต้องใจเย็น หรือจะเอาราคาประกัน ที่ส่วนต่างสองสามร้อยครับ ได้เงินไม่พูดถึงความดี พอทีเสียว่าซะเสียๆหาย 

yano : ถึงเวลาจาวนาเฮาหูต๋าสว่างได้แล้วครับ #ขยิบตา

sabaidree : จาวบ้านเขาบ่ฮู้ข้อมูลผมกะปอว่า แต่หมู่เฮาเข้าถึงข้อมูล(net) น่าจะผ่อออกแล้วครับว่าแต้ๆแล้วบ้านเมืองเป๋นจะได #ร้องไห้

constantine : อิดใจ๋แต้ ใครทำกะหวังได้น่อ #ลังเล "
 

ที่มา 
http://www.chiangrai...?topic=509582.0