Jump to content


กวี

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 มีนาคม 2553
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2557 11:40
-----

Topics I've Started

รบกวนด้วยครับ แดงตอแหลบอกว่าเป็นฝีมือม๊อบฝ่ายเรา

12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:50

แดงตอแหลในเฟสว่าเป็นสภาพศูนย์ราชการหลังจากม๊อบออกไปแล้ว อยากไปเถียงแต่ไม่มีข้อมูล

รบกวนพี่ๆ ที่นี่ ท่านใดพอจะมีข้อมูลบ้างไหมครับ?


ิPhoto essay : ป่าแม่วงก์ (บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อน) by ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 13:49


เรื่อง/ภาพ: ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์

เชื่อว่าหลายๆท่านยังไม่เคยเห็นป่าแม่วงก์ บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อน บางคนก็บอกเป็นป่าเสื่อมโทรม บางคนก็บอกมันสวยจะตาย ป่าเต็งรังก็เป็นแบบนี้แหล่ะ ต้นไม้จะไม่ได้หนาแน่นเหมือนป่าดงดิบ อีกคนบอกป่าตรงนี้เคยมีชาวบ้านอยู่ เคยถูกสัมประทานไม้มาก่อน เป็นป่าปลูกต้นเล็กๆ ก็ว่ากันไป

ผมโชคดีมีกิจการอยู่ใกล้บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อน เลยโฉบไปโฉบมาอยู่ 2-3 ครั้ง นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสร่วมกับคณะที่สำรวจป่าเพื่อทำ EHIA ด้วย จึงมีโอกาสเข้าไปในป่าลึกบริเวณ ขุนน้ำเย็น ซึ่งเป็นจุดที่น้ำจะท่วมถึงบริเวณด้านในของอ่างเก็บน้ำถ้ามีการสร้างเขื่อน สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ไม่มีบทความยืดๆยาวๆให้เสียเวลา ดูภาพและข้อมูลประกอบภาพแล้วตัดสินใจกันเองดีกว่าครับว่า สมบูรณ์ หรือ เสื่อมโทรม? ควรจะรักษาไว้ หรือ ทำลายไปก็ไม่เสียดาย? 

view_heaven.jpg
1. ใครที่ไปป่าแม่วงก์ บริเวณหน่วยแม่เรวา ก็จะได้เห็นภาพประมาณนี้ครับ เราสามารถขับรถจนแทบจะลงไปล้างรถได้เลย ลำน้ำแม่วงก์ ตรงจุดที่ถ่ายภาพนี้เลยที่จะมีการสร้างเขื่อน แนวสันเขื่อนจะแทยงจากมุมซ้ายล่างของภาพไปจนถึงป่าอีกฝั่งที่มุมขวาบน ภาพนี้ถ่ายเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นเดือนกลางหน้าแล้ง น้ำใสไหลเย็นมีปริมาณมากครับ จากภาพจะเห็นว่าป่าด้านหลังแห้งกรอบ ผลัดใบกันขนานใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะปกติของป่าเต็งรัง หรือ เบญจพรรณ ที่จะมีการผลัดใบในฤดูแล้ง แต่จะเห็นว่าป่าหญ้าริมน้ำยังเขียวชะอุ่มเป็นอาหารให้สัตว์กินหญ้าได้ตลอดปี

rapid.jpg
2. ลำน้ำแม่วงก์บริเวณนี้เรียกกันว่า "แก่งลานนกยูง" ครับ แก่งเปรียบเสมือนปอดของสายน้ำเป็นจุดแลกเปลี่ยนก๊าซ ปล่อยคาร์ไดออกไซด์ รับ ออกซิเจน ลานหินลานทรายริมลำน้ำเป็นจุดที่นกยูงเพศผู้ใช้เป็นที่ลำแพนหางจีบตัวเมีย จึงได้ชื่อนี้มา

stream.jpg
3. ลำธารที่ราบแบบนี้เล่นน้ำสนุกไม่อันตรายครับ คนมาเที่ยวกันเยอะ

kayak.jpg
4. พายคายัคล่องแก่งก็สนุกดีครับ ไม่ยากจนเกินไป โดยเฉพาะในฤดูที่น้ำไม่แรงมาก

hypsibarbus.jpg
5. ลำน้ำตรงนี้ถือว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งที่ผมเคยสำรวจปลามา ในภาพคือปลาตะพากส้ม เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในลำธารที่ราบต่ำแบบนี้ครับ เพียงแค่ไปยืนอยู่ที่บริเวณหาดทรายหน้าบ้านพัก ก็จะเจอพวกเขาว่ายกันอยู่มากมาย

sign_fish.jpg
6. ยังมีปลาอีกมากมายเลยที่อาศัยอยู่ในลำน้ำแห่งนี้ มีไม่กี่ชนิดที่จะอาศัยและสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งในลักษณะของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนได้

otter_track.jpg
7. ถ้าเราใช้เสือแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า ในแหล่งน้ำก็ใช้นากครับ เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นผู้ล่าสูงสุดในแหล่งน้ำจืดแบบนี้แล้ว ที่ลำน้ำแม่วงก์บริเวณนี้ เราสามารถพบรอยเท้านากได้ทั่วไป วันไหนเงียบๆ เจ้าหน้าที่ว่าขึ้นมานั่งเล่นอยู่บนหาดหน้าบ้านพักเลย ดวงของเรายังไม่สมพงษ์กันสักทีนะคุณนากนะ 

snail_0.jpg
8. ไม่ใช่ว่าจะสวยงามไปเสียหมด ในลำน้ำแม่วงก์ถูกหอยเชอรี่บุกรุกอยู่เหมือนกัน แต่เนืองจากว่าเป็นระบบนิเวศน้ำไหลที่หอยเชอรี่ไม่เชี่ยวชาญ มันจึงมีปริมาณไม่มากนัก ลองสร้างเขื่อนกักน้ำให้นิ่ง มีซากพืชเยอะๆ มีตอไม้ให้ไข่ รับรองว่าเขื่อนแม่วงก์เป็นบ่อเพาะหอยเชอรี่แน่นอน

peacock4.jpg
9. ลานนกยูงมีนกยูงจริงไหม?  มีสิ มีเยอะด้วย พบเห็นได้ง่ายด้วย และเป็นพันธุ์ไทยแท้แน่นอน หินก้อนนี้อยู่ตรงข้ามกับถนนเลย ไปดูได้ทุกวันครับ ภาพไม่ได้ถ่ายจากที่อื่น
 
(มีต่อ)
 
นี่ไงครับ ป่าเสื่อมโทรมของด๊อก แล้วไม่ต้องมาอ้างนะครับว่านกยูงนี่เป็นนกยูงเลี้ยง นกยูงอินเดีย ตัวเขียวขนาดนี้นกยูงพันธุ์ไทยแท้แน่นอนครับ (นกยูงอินเดียจะสีน้ำเงิน ดูที่จุกหงอนก็ได้ครับ นกยูงอินเดียจุกจะกางเป็นรูปพัด นกยูงไทยจุกจะเป็นพู่กระจุกแบบที่เห็นในรูป)
  •  

ตอบ ดร.โสภณ กรณีบทความ การโกหกและบิดเบือนเพื่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์: ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์

8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 01:29

โดย: ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์

Link: บทความ http://prachatai.com...l/2013/10/49084

จากกรณีที่ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ได้เขียนบทความลงในเว็บประชาไท โดยมีชื่อบทความและลิงค์ตามที่ได้อ้างถึงด้านบนนั้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนบทความที่ท่านได้อ้างถึงสองบทความ คิดว่าจะเป็นการเสียมารยาทถ้าหากมีผู้ใหญ่มาตักเตือนแล้วไม่ออกมาไขข้อข้องใจให้ชัดเจน จึงเขียนบทความนี้เพื่อตอบท่าน โดยข้อแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ครับ

1. เขื่อนแม่วงก์ไม่สามารถช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากเป็นเขื่อนขนาดเล็กและมีปริมาณการกักเก็บน้ำแค่ 1% ของปริมาณน้ำท่วมในคราวนั้นถูกต้องแล้วครับ และทุกครั้งที่ผมได้อ่านหรือฟังการบรรยายของ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ คุณศศินจะพูดต่อทุกครั้งว่านอกจากช่วยน้ำท่วมใหญ่ไม่ได้แล้ว ยังช่วย อำเภอลาดยาวก็ไม่ได้มากนัก เนื่องจากบริเวณที่สร้างเขื่อนรับน้ำจากผืนป่าที่สมบูรณ์ซึ่งค่อยๆปล่อยน้ำออกมาและมีพื้นที่รับน้ำไม่มากนัก (ในวันที่น้ำหลากท่วมอ.ลาดยาว ภาพถ่ายจากลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนน้ำยังไม่ได้ไหลแรงอะไรและยังใสอยู่เลยครับ) ในขณะที่น้ำที่ไหลท่วม อ.ลาดยาว จุดที่มีชาวบ้านออกมาเรียกร้องต้องการเขื่อนมากที่สุดนั้น เป็นน้ำหลากมาจากทุ่งฝั่งตะวันตกและเหนือของอำเภอ ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ๆเขื่อนแม่วงก์ช่วยเหลืออะไรได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลของกรมชลฯที่ระบุว่าถึงแม้จะมีเขื่อนแม่วงก์ก็ช่วยอำเภอลาดยาวได้แค่ 20% เมื่อพูดถึงตรงนี้คุณศศินจะพูดต่อว่า ถ้าจะช่วยแค่ 20% ไปขุดคลองให้ระบายน้ำออกจากอำเภอให้ดีขึ้น 20%ได้ใช้อาทิตย์หน้าเลยในขณะที่เขื่อนแม่วงก์ต้องรออีกตั้ง 8 ปี และใช้งบประมาณมากกว่ากันมหาศาล  ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่รับน้ำของลำน้ำแม่วงก์มีอยู่ในบทความนี้ครับhttp://siamensis.org/article/38856

2. เรื่องบ้านของเสือ เวลานักอนุรักษ์บอกว่าป่าบริเวณนั้นเป็นบ้านแหล่งใหญ่ที่สุดของเสือ เราไม่ได้มองแต่พื้นที่บริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนแค่ 13,000 ไร่ตามที่ท่านเข้าใจ เราไม่ได้มองแค่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ครับ เรามองป่าตะวันตกทั้งผืน  ส่วนอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อะไรทั้งหลายนั้นมนุษย์ไปตีเส้นเอง เสือไม่รับรู้ครับ ป่าผืนนี้เป็นป่าผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เป็นจุดที่มีเสืออาศัยอยู่มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เสือห้วยขาแข้งกับเสือแม่วงก์/คลองลาน จริงๆแล้วก็เป็นเสือประชากรเดียวกัน แต่เสือในป่าแม่วงก์และคลองลานเคยหมดไปเนื่องจากการถูกล่าและบุกรุก เมื่อเราดูแลรักษาอย่างดี เสือจากห้วยขาแข้งจึงกลับขึ้นมาอาศัยอยู่ในแม่วงก์ เสือตัวหนึ่งมีอาณาเขตการหากินกว้างมาก จึงไม่แปลกถ้ามันจะลงมาถึงบริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนซึ่งเป็นพื้นที่ราบริมแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเหยื่อมาก ส่วนข้อมูลจำนวนเสือในป่านั้น ได้มาด้วยการสำรวจโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพ แล้วใช้ลายของเสือมาจำแนกเสือแต่ละตัว ซึ่งนักวิจัยพบ “อย่างน้อย” 12 ตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะวางกล้องดักถ่ายเสือได้ทั้งป่า ตัวเลขนี้จึงเป็นตัวเลข “อย่างน้อย” ซึ่งการมี***็ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องออกมากินหมา กินควาย ขบคนตามที่ท่านจินตนาการ เสือ สัตว์ป่าทุกชนิด กลัวคนโดยสัญชาติญาณ ไม่จำเป็น ไม่ถูกบีบคั้นจริงๆ มันไม่ออกมาหรอกครับ พวกเสือตามข่าวที่ท่านยกมา ส่วนใหญ่ดูสภาพการแล้วว่าน่าจะเป็นเสือหลุด มีตัวที่เบตงที่ไม่แน่ใจเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเสือป่าก็น่าเสียดายเหลือเกินเพราะเป็นเสือโคร่งชนิดย่อยของทางใต้ที่เหลืออยู่น้อยมาก
 
ในกรณีของเสือนี้ นักอนุรักษ์มิได้ห่วงแต่แค่เรื่องการสูญเสียถิ่นอาศัยจากการสร้างเขื่อนเท่านั้น แต่ห่วงเรื่องการถูกล่าในระหว่างที่มีการก่อสร้างเขื่อน ซึ่งจะมีคนเข้าไปเป็นจำนวนมากในพื้นที่ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นเขตอุทยานชั่วคราว ห่วงทางรถที่จะมีการตัดเข้าไปเพิ่มเติมในป่าเพื่อตัดไม้ว่าต่อไปจะถูกใช้เป็นเส้นทางล่าสัตว์ หวงเรื่องอ่างเก็บน้ำที่จะทำให้การเดินทาง(ทางเรือ)เข้าไปทางตอนในของป่าเพื่อไปล่าสัตว์ง่ายขึ้น
อ้างอิง: http://wwf.panda.org/?211011/-
 
3. ตัวเลขจำนวนต้นไม้ เป็นตัวเลขที่ผมอ้างอิงจาก EIA ที่จัดทำโดยบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งได้รับการว่าจ้างโดยกรมชลประทาน ตัวเลขนี้เป็นการประเมินตามหลักวิชาการป่าไม้ของผู้ทำรายงาน ผมมิได้นึกขึ้นมาเองแต่อย่างใดครับ ซึ่งจะขอชี้แจงต่อ ในกรณีที่ท่านเคยถามว่าเอาข้อมูลจากไหนมาต้านเขื่อนในเมื่อยังไม่มีการเผยแพร่ EHIA ขอเรียนว่าโครงการนี้ได้มีการทำการศึกษาEIA ไปแล้วในปีพ.ศ.2555 ซึ่งก็ได้ครอบคลุมเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ได้นำมาใช้ในการคัดค้าน ส่วนกรณีของ EHIA เป็นการถูกสั่งให้ไปทำในส่วนของ H หรือส่วนของ Health เพิ่มเติมให้ละเอียดขึ้น ข้อมูลในส่วนเดิมอื่นๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักคือทางด้าน กายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และ คุณค่าคุณภาพของชีวิตนั้นเชื่อว่าไม่ได้มีใหม่หรือมีการแก้ไขมากนัก จึงเชื่อว่าใช้อ้างอิงในการคัดค้านได้ครับ  ทั้งนี้ถ้ากรมชลประทานจะยอมให้พวกเราช่วยตรวจสอบ EHIA ฉบับปัจจุบันก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
 
4. คลองส่งน้ำมิได้เป็นคำขู่แต่เป็นเรื่องจริงครับ คลองส่งน้ำชุดนี้ มีความกว้าง 50 เมตร มูลค่าก่อสร้างสูงกว่าค่าสร้างเขื่อนครับ ตัวลำน้ำแม่วงก์ตรงจุดที่จะสร้างเขื่อนยังกว้างไม่ถึง 50 เมตรเลยด้วยซ้ำ คงไม่มีลำน้ำคูคลองใดๆในพื้นที่แถวนั้นกว้างขนาดนั้นแล้ว จึงเชื่อได้ว่ามันกินพื้นที่ทำกินชาวบ้านแน่ๆ และก็น่าสนใจว่าถ้าหากทำคลองส่งน้ำกว้าง 50 เมตร สูง 20เมตร ทับลงไปบนเส้นทางน้ำหลากทางระบายน้ำเดิม (ตามที่มีการแนะนำ) น้ำฝนหรือน้ำที่หลากมาจะไหลไปทางไหน คลองส่งน้ำนี้จะกีดขวางการไหลของน้ำทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่าปกติหรือไม่? และจะกักให้พื้นที่ๆซึ่งเคยได้รับน้ำหลากไม่ได้รับน้ำหรือไม่?
 
เรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้าน ยังมีตรงบริเวณที่จะใช้ปลูกป่าทดแทนอีก 35,000 ไร่ ซึ่งระบุว่าเป็นพื้นที่รกร้างหรือป่าเสื่อมโทรม แต่ถ้าดู Google Earth จะพบว่าพื้นที่ๆจะใช้ปลูกป่าทดแทนเป็นพื้นเกษตรกรรมทั้งสิ้น ผมเห็นด้วยถ้าหากจะมีการยึดที่ดินป่าที่ถูกบุกรุกคืนมาเพื่อปลูกป่า แต่การจะอ้างว่าจะไม่มีใครเดือดร้อนจากการกระทำดังกล่าว ไม่มีการจ่ายค่าเวรคืน และไม่เคยมีการพูดถึงเลยจากกลุ่มนักการเมืองที่ต้องการสร้างเขื่อน ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับคนชายขอบเหล่านั้น
อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม: http://siamensis.org/article/38862และ http://www.siamensis.org/article/35988
 
5. เรื่องทุจริต เห็นด้วยกับท่านครับ
 
ในส่วนเรื่องการล่ารายชื่อเพื่อการคัดค้านการสร้างเขื่อน ซึ่งท่านได้นำไปเปรียบเทียบว่าจะล่ารายชื่อผู้ที่อยากได้เขื่อนนั้น ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ

1. ป่าแม่วงก์ เป็น “อุทยานแห่งชาติ” ซึ่งเป็นของคนไทยทุกคน เป็นสมบัติของสาธารณะที่เราใช้ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมจึงคิดว่าคนไทยทุกคนมีสิทธิ์ในการร่วมตัดสินใจในครั้งนี้ เราไม่สามารถให้สิทธิ์“คนบ้านใกล้” มาตัดสินใจใช้ทรัพยากรส่วนรวมเพียงกลุ่มเดียวได้ เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ก็เหมือนกับคนในซอยบ้านผม วันหนึ่งรุกขึ้นมาบอกว่า จะปิดซอยในบริเวณดังกล่าวเพื่อสร้างเป็นส่วนสาธารณะประจำซอย ผมก็คงไม่สามารถทำได้  แม้นว่าจะเป็นซอยหน้าบ้านผม อุทยานแห่งชาติก็เป็นของสาธารณะอย่างหนึ่งเช่นกัน

2. ผมไม่เชื่อว่าชาวบ้านที่อยากได้เขื่อน ได้รับข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจอย่างครบถ้วน แค่ที่ผมได้ฟังจากคลิปที่มีการปราศัยโดยนักการเมืองกลุ่มที่ต้องการสร้างเขื่อน ก็ชัดเจนแล้วว่าเป็นการนำความจริงแค่ส่วนเดียวมาพูด ผมเคยได้สัมผัสกับชาวบ้านกลุ่มนี้มาแล้วและเชื่อว่ายังมีข้อมูลอีกมากที่พวกเขายังไม่ทราบ แน่นอนว่าถ้ามีคนมาบอกว่ามีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม จะมีน้ำใช้หน้าแล้ง ใครๆก็ต้องอยากได้ แต่มันเป็นความจริงเพียงแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้นถ้าหากได้มีการศึกษารายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้ บางทีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ครอบคลุม ก็ไม่ต่างอะไรกับการโกหก 

3. กลุ่มต่อต้านเขื่อนพูดอยู่เสมอว่าไม่ใช่ว่าเราจะเอาแต่ป่าแต่สัตว์ ไม่สนใจคน แต่เราเชื่อว่าโครงการนี้ช่วยชาวบ้านไม่ได้ตามที่มีการกล่าวอ้าง เราเชื่อว่ามีโครงการที่สามารถใช้งบประมาณน้อยกว่านี้และช่วยชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ เรื่องน้ำท่วม อ.ลาดยาว ได้ยกตัวอย่างไปแล้วว่าสร้างทางระบายน้ำให้ดีก็ช่วยได้และีเร็วกว่า จะสร้างคลองระบายน้ำอีกสักคลองดักไว้ทางด้านเหนือให้น้ำหลากอ้อมไป ก็คงใช้ที่ดินและงบประมาณไม่มากนัก เรื่องน้ำแล้งต้องชี้แจงว่าพื้นที่ตรงนั้นไม่ได้แล้ง มีฝนมีน้ำ เพียงแต่ไม่มีที่กักเก็บ ดังนั้นการสร้างบ่อน้ำขนาดเล็ก/กลางไว้ตามหัวไร่ปลายนาเพื่อกักเก็บน้ำหลาก สร้างฝายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำเป็นช่วงๆ ก็น่าจะเป็นหนทางที่สามารถทำได้และใช้งบประมาณน้อยกว่าครับ ทั้งนี้ผมไม่ได้เป็นวิศกรชลประทานไม่กล้าออกความเห็นมากไปกว่าที่มีอยู่ใน EIA แต่ก็เชื่อว่าเรามีคนดีมีฝีมือที่แก้ปัญหาให้กับชาวบ้านในแถบนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งเขื่อนแม่วงก์ครับ

สุดท้ายนี้ขออนุญาตเรียนท่านดร.โสภณ ว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่มีคนเคารพนับถือมาก การที่ท่านยอมรับว่า"ต้องศึกษาข้อมูลมากกว่านี้" แต่ออกมาเขียนบทความกล่าวหาว่าผู้อื่นว่า โกหก บิดเบือนนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่อันมีวิจารณญานอันดีพึงกระทำ จึงเรียนมาด้วยความเคารพครับ

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์
8 ตุลาคม 2556
(เขียนที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีพื้นที่ป่าปกคลุมประเทศถึง 67% ก็ยังเจริญได้ เลิกทำลายป่าเพื่ออ้างการพัฒนาเสียทีเถิดครับพี่น้อง)

tiger_0.jpgภาพเสือจาก WWF
 
ด๊อกครับ เจ้าของบทความที่ด๊อกพูดถึงเค้ามาถกด้วยแล้ว ด๊อกว่าไงครับ?
  •  

นี่คือแดงเทียม?

29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 02:20

ไปเจอมาจากแฟนเพจของคุณกนกครับ ฮาดี

สงสัยจะก๊อปข้อความเพลินจนลืมดู

 

https://www.facebook...130660513618323


หน้ากากงิ้วเสิ่นเจิ้น

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 01:44

เห็นหน้ากากสีแดงเมดอินเสิ่นเจิ้นแล้วก็ทึ่งปนขำนะครับ นี่ไม่คิดจะคิดอะไรที่เป็นของตัวเองบ้างเลยเหรอ? แต่ก็นับถือความพยายามนะ อยู่อุตสาห์ดึงหน้าจนเหลี่ยม! นี่มันก๊อปเกรดเอชัดๆ ปานประหนึ่งว่าพ่อแม้วมันแต่งหน้าเล่นงิ้วแก้บน ประมานนั้น