ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยมีพระราชดำรัสไว้เมื่อ 25 เมษายน 2549 ความว่า
“ขอยืนยันว่า มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามใจ
ไม่ใช่ มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า
ให้พระมหากษัตริย์ตัดสินทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขา จะนึกว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่
ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยพูด ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย”
และ “เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทานกัน ขอนายกฯ พระราชทาน
ไม่ใช่เป็นเรื่องของนายกฯ ที่เป็นประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว คือแบบไม่มีเหตุมีผล”
ท่านตรัสขนาดนี้ ยังไม่ฟังกันเลย ไม่อยากโหน แต่ทำไมจะเอาแต่ใจละเลย ไม่ใส่ใจในพระราชดำรัสกันเลย
ใจคอจะทูลเรื่องแบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล ไปให้ท่าน
อันนี้เป็นความเข้าใจเรื่อง นายกตามมาตรา 7 ที่เคยคิดกันมาก่อน...ซึ่งในหลวงท่านได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วว่าทำไม่ได้
เพราะคราวนั้น จะยื่นทูลเกล้า "ขอพระราชทานลงมา" พูดง่ายๆภาษาชาวบ้านว่า ให้ท่านทรงแต่งตั้งนายก ซึ่งท่านก็ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่าทำไม่ได้
เรื่องนี้ต้องนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และพสกนิกรอย่างเราควรมีความซาบซึ้งและภาคภูมิใจอย่างยิ่งว่า
ในหลวงของเรา ท่านมีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างถ่องแท้ จนท่านต้องมาสอนและคอยตักเตือนเราอีก
แต่คราวนี้ไม่เหมือนกันครับ นายกตามมาตรา 7 คราวนี้ ไม่ใช่นายกพระราชทาน
แต่เป็นนายกที่ประชาชนทูลเกล้า...ซึ่งแตกต่างกันอย่างยิ่ง
รัฐธรรมนูญไทย พศ. 2550 มาตรา 7 กล่าวไว้ว่า
" ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
การที่ประชาชนเป็นผู้ปฏิวัติถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ตามประเพณีที่เคยทำมา...การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาจะเป็นผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้า(สภาวะปกติ) หรือผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์นำชื่อขึ้นทูลเกล้า (สภาวะปฏิวัติ)
จากนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีลงมา โดยมีผู้สนองพระบรมราชโองการเป็นประธานสภาบ้าง ผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์บ้าง
กรณีนี้ ต้องเกิดการปฏิวัติโดยประชาชนก่อนครับ และลุงกำนันจะเป็นผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้า และเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีคนนี้จึงแต่งตั้งโดยประชาชน และเป็นประชาชนที่ใช้อำนาจอธิปไตยตามมาตรา 3 อย่างสมบูรณ์ครับ
นี่ไม่ใช่เป็นการโหนเจ้า หรือดึงฟ้าลงต่ำครับ คนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้พยายาม โหนเจ้าและดึงฟ้าลงต่ำเอาเรื่องที่ท่านเคยมีพระบรมราชวินิจฉัยไปแล้ว
มาพูดซ้ำ มาบิดเบือน โดยไม่พยายามทำความเข้าใจเสียก่อนครับ
ที่ผมพยายามอธิบายตรงนี้ เพื่อทำเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้นครับ เพื่อป้องกันนายกทูลเกล้าตาม มาตรา 7 จะถูกดึงไปโหนเจ้าลงมาบิดเบือนอีก
การปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้งที่ผ่านมา มีการฉีกรัฐธรรมนูญ เนื่องจากปฏิวัติโดยทหารและโดยปืน อีกทั้งทำการโดยทหาร ซึ่งขาดผู้มีความรู้ทางกฎหมายที่มีความรอบด้าน
แต่การประชาภิวัฒน์คราวนี้ต่างกันครับ นี่เป็นการปฏิวัติโดยประชาชน มีนักวิชาการ ข้าราชการ พลเรือน ฯลฯ จึงมีการศึกษาและเคารพในหลักการแห่งกฏหมายรัฐธรรมนูญทุกอย่าง
อันนี้เราต้องเข้าใจให้ตรงกันนะครับ จนถึงวันนี้เรายังเคารพรัฐธรรมนูญทุกมาตราครับ
จนกว่า...จะมีการประกาศปฏิวัติโดยประชาชน จึงจะมีการขอเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ บางมาตราครับ ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ
และจะมีประกาศครับ (เราจะได้ยิน "โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง") ประกาศผู้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ประกาศผู้นำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้า
ให้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีลงมา และมีผู้สนองรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามประเพณีที่เคยทำมา
ตามลำดับแล้วควรเป็นตามนั้นครับ แต่จะมีปัญหาแน่นอนครับ เพราะทางทักษิณไม่เลิกง่ายๆแน่ๆ
ประชาชนจึงต้องพร้อมปฏิวัติครั้งนี้ครับ ถ้าประชาชนไม่ออกจากบ้านไปร่วมกันปฏิวัติโดยสันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธแล้วละก็
เราจะได้กำนันติดคุกหัวโต และรัฐบาลพานทองแท้แทน
ไม่น่าเลือกยากครับ ผมว่าเรารู้ว่าควรทำอะไร
ขอบคุณครับ
(ขอเสนอว่าเราน่าจะเรียกนายกคนนี้ว่า "นายกทูลเกล้า" ครับ เพื่อกลบคำว่า นายกพระราชทานเสียที จะได้ไม่ถูกดึงไปบิดเบือนอีก พิจารณากันดูครับ)