Jump to content


นักเรียนตลอดชีพ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2557 17:04
-----

#1042627 กปปส ก็มีกองกำลังติดอาวุธเหมือนกันนะ

โดย หลวงประดิษฐ ดูมันทำ on 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 23:14

 

อาจจะไม่ใช่ ทาวอร์ ครับ 

 
เป็น ไมโคร ทราโว ครับ


อีกเรื่องมีคลิปจากนักข่าวยืนยันว่ามีการยิงมาจากหลังบริเวณรถตู้ ครับ ..


 

 

 

ถ้าเป็น ไมโคร ทราโว ไม่ทราบว่าหน่วยไหนใช้มั่งครับ เพราะตาม วิกิบอกว่า รุ่น x95 กองทัพเรือสั่งเข้ามาเหมือนกัน

Attached Images

  • ไม่มีชื่อ.png



#1042709 กปปส ก็มีกองกำลังติดอาวุธเหมือนกันนะ

โดย kanokporn on 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 23:40

ในเพจกองทัพนิรนาม เขาเขียนว่ามากัน 45 นาย จ้ะ ฝากบอกไว้ตรงนี้เลยว่า วันนี้หล่อมากกกกกก ทุกคนเลยจ้า :)




#702301 หากเกิดสงครามครั้งสุดท้ายขึ้น....ต้องจัดการใครมั่งนะ...ประเทศจึงจะเป็นของประช...

โดย คนบูรพา on 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 20:32

จัดการ "ไอ้เชี้ยแม้ว" ตัวแรกก่อนเลย............รับรองว่าจบ 1000 %

 

 

นอกนั้นไอ้พวกกากๆทั้งหลาย.....รับรองได้ว่า.......หางจุกตูดกันหมด.............

 

 

บ่องตง.........อยากเห็นวันนั้นจริงๆเลย..........

 

ชิวิตคงมี........ฟามสุข......จุงเบยยยย....... :D




#585688 เขมรยื่นคำฟ้องเพิ่ม เพื่อต้องการยึดดินแดนไทย ???

โดย Stargate-1 on 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 16:31


หลักฐานเริ่มชัด! ต้องหยุดขายชาติ

 


กระทรวงการต่างประเทศได้ออกเอกสารเผยแพร่เรื่องข้อเท็จจริงที่คนไทยควรรู้เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารที่กำลังถูกเขมรฟ้องคาอยู่ในศาลโลก....ข้อเท็จจริงหลายเรื่องที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวทำให้ความจริงเริ่มชัดเจนมากขึ้นทุกทีว่า มีคนขายชาติ


                คนขายชาติได้สมคบกับเขมรยืมมือศาลโลกเพื่อให้ตัดสินให้ดินแดนไทยถึง 19 ล้านไร่ตกเป็นของเขมร แล้วเอาผลประโยชน์ทั้งทางบก ทางทะเล ไปแบ่งปันกัน


                เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวมีความตอนหนึ่งยอมรับความจริงว่า ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินในปี พ.ศ. 2505 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลเขมรได้ยื่นฟ้องประเทศไทยเป็นสองรอบ คือ


                รอบแรก ยื่นฟ้องเมื่อ ค.ศ. 1959 หรือ พ.ศ. 2502 เป็นการฟ้องเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ขอให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นอธิปไตยของเขมร


                รอบที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1962 หรือ พ.ศ.2505 เขมรได้ยื่นคำร้องเพิ่มเติมคำฟ้อง กล่าวอ้างว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เป็นของเขมรด้วย


                แต่น่าละอายยิ่งนักที่ผู้คนในกระทรวงการต่างประเทศปกปิดไม่เปิดเผยความจริงให้ครบถ้วนว่า ในการฟ้องคดีรอบที่สองในรูปแบบของการยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องนั้นเป็นอย่างไร


                กระทรวงการต่างประเทศคงสรุปคำตัดสินของศาลโลกว่าตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ว่าเป็นอธิปไตยของเขมร แต่ก็ได้ยอมรับเอาไว้เองว่าศาลโลกไม่ได้ตัดสินเรื่องพื้นที่หรือดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร


                ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะเผยให้เห็นว่า มีการขายชาติ มีการสมคบกันเพื่อยกดินแดนไทยให้กับเขมร ดังนั้นข้อเท็จจริงอะไรที่ขาดหายไป หรือที่ถูกปกปิดไว้จึงต้องนำเอามาแฉและนำเอามาเปิดเผย เพื่อให้คนไทยทั้งประเทศและทหารทุกเหล่าทัพได้รู้เช่นเห็นชาติของขบวนการขายชาติ และจะได้ทำหน้าที่รักษาเอกราชอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มภาคภูมิ


                คำฟ้องรอบที่สองที่เขมรฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ในรูปแบบของคำฟ้องเพิ่มเติมนั้น ในเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศที่ว่าคนไทยควรรู้ แต่ไม่ได้เปิดเผยไว้คือ รัฐบาลไทยไม่ยอมรับศาลโลก ไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง


                นั่นคือเมื่อเขมรยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรอบปราสาทพระวิหารแล้ว โดยข้อกำหนดวิธีพิจารณาความของศาลโลก ศาลโลกไม่มีอำนาจสั่งว่าจะดำเนินคดีในส่วนนี้ได้หรือไม่ เพราะต้องรอฟังประเทศที่เป็นภาคีก่อน ศาลโลกจึงสั่งให้ส่งสำเนาแก่ทนายความฝ่ายไทยว่า จะคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้องหรือไม่


                คณะทนายความได้รับสำเนาคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องพร้อมคำสั่งศาลแล้ว ได้เสนอต่อรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ว่า สมควรเห็นชอบให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรียกเอาดินแดนได้


                คณะรัฐมนตรีที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่งเป็นประธาน มีมติมอบให้พระยาอรรถการีนิพนธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี


                พระยาอรรถการีนิพนธ์ได้ตั้งคณะทำงาน มีศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ เนติบัณฑิตอังกฤษ  ผู้พิพากษา พร้อมด้วยนายบุศย์ ขันธวิทย์ เนติบัณฑิตไทย ผู้พิพากษา และคนอื่น ๆ อีก เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ โดยพระยาอรรถการีนิพนธ์ได้สอบถามนายบุศย์ ขันธวิทย์ เป็นการส่วนตัวก่อนว่าในฐานะที่เคยเป็นทนายความมาก่อน มีความเห็นเรื่องเขมรขอเพิ่มเติมคำฟ้องอย่างไร


                นายบุศย์ ขันธวิทย์ แจ้งแก่พระยาอรรถการีนิพนธ์ว่า ไม่มีธรรมเนียมที่ไหนที่ฝ่ายโจทก์จะเพิ่มเติมคำฟ้องให้ตัวเองเสียเปรียบ มีแต่จะเพิ่มเติมเพื่อเอาเปรียบฝ่ายจำเลย เพียงเหตุผลเท่านี้ก็ต้องคัดค้านไม่ให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้อง ท่านเจ้าคุณพระยาอรรถการีนิพนธ์เห็นด้วย


                คณะทำงานพิจารณาเรื่องแล้วมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้รัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำฟ้อง คือไม่ยอมรับอำนาจศาลโลกให้พิจารณาเรื่องดินแดน และไม่ยอมรับให้เขมรเพิ่มเติมคำฟ้องเรื่องดินแดน


                ศาลโลกจึงมีคำสั่งยกคำร้องที่ฟ้องเรียกเอาดินแดนของเขมรนั้นเสีย ดังนั้นคดีดังกล่าวจึงพิพาทกันเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยก็แพ้คดีเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร นี่คือเหตุผลว่าทำไมศาลโลกจึงไม่ได้พิพากษาเรื่องดินแดนและเรื่องแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น


                ดังนั้นไอ้หน้าไหนก็ตามที่มาโกหกคนไทยว่าศาลโลกตัดสินให้ดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1:200,000 เป็นของเขมรจึงเป็นวาทกรรมของพวกขายชาติ ทรยศ กบฏชาติ ที่ต้องประหารชีวิตสถานเดียวเท่านั้น!

 

http://www.oknation....t.php?id=846377




#906217 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย bird on 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 11:59

 

 

 

ได้ความคืบหน้ามาอีกนิด...

 

ได้เรียนถามท่านผู้อาวุโสด้านกฎหมาย...ว่า

 

" วันนี้เห็นสื่อหลาย ๆ ช่อง กล่าวว่า เราเสียดินแดนแล้วหรือ อย่างน้อย ก็ประมาณ

1 - 1.5 ตร.กม.หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ก็พาดหัวตัวโต..ๆ เราแพ้คดี เสียดินแดน.."

 

ท่านได้อธิบายว่า..

 

" เราจะเสียดินแดน หรือไม่ ศาลไม่ได้บอก ไม่ได้กำหนด เพียงแต่บอกว่า

ให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันเอง...คำพิพากษาไม่ได้กล่าว ไม่ได้ระบุว่าต้องใช้

วิธีการใดในการกำหนด พื้นที่รอบตัวปราสาท...ย้ำ..คำพิพากษาไม่ได้

ระบุวิธีการในการกำหนดเส้นเขตแดน

 

เราจะเสียดินแดนหรือไม่...ขึ้นอยู่กับว่า ต่อจากนี้ไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายเรา

รัฐบาลของเรา จะแสดงจุดยืนในการกำหนดเส้นเขตแดนรอบตัวปราสาท

อย่างใด จะสามารถรักษาแผ่นดินของประเทศไทยไว้ได้ ณ จุดเดิมหรือไม่

 

ผู้ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องศึกษาคำพิพากษา 2505 ให้เข้าใจทุกตัวอักษร

ต้องหาที่ตั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบตามคำฟ้อง และจุดกำหนดเดิม

ให้ใกล้เคียงกับสภาพภูมิศาสตร์ในปัจจุบันให้มากที่สุด

 

รัฐบาลของเรา...จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ จะรักษาประโยชน์

ส่วนตัว วงศาคณาญาติ ทั้งที่เป็นเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย และที่เป็น

สัญชาติอื่น

 

ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า...ทหารของเราจะไม่ยอมให้เสียดินแดนแม้ตารางนิ้ว

กรมแผนที่ทหารของเรามีแต่คนเก่ง ๆ มีข้อมูลมากมาย การเสียดินแดน

คงเป็นไปได้ยาก...

 

ยกเว้นเสียจากว่า...

 

การเจรจาที่เกิดขึ้นจะมีบุคคลอันไม่พึงประสงค์เข้าไปเกี่ยวข้อง...

 

ซาตานในคราบของนักการเมือง "

 

ท่านกล่าวไว้เช่นนี้...

 

ตอนนี้ผมกังวล ตรงนี้มากครับ ...

 

ในคำพิพากษา ศาลได้หยิบเอาแผนที่ 1:200,000 มาอ้างอิง

กำหนดvicinity ของปราสาท ..แม้ว่าศาลจะบอกว่าไม่ยุ่งกับ

การกำหนดเขตแดน2ทั้ง2ฝ่าย แต่หากเราผลีผลามรับรอง

คำตัดสินครั้งนี้ไป ไม่เท่ากับเรารับเอาแผนที่1:200,000มาใช้

หรือครับ 

ไม่ใช่แต่ ในเฉพาะพื้นที่vicinity ปราสาทเท่านั้น หลังจากจบ

เรื่องคราวนี้ไป หากวันหนึ่งข้างหน้ากัมพูชาอ้างว่าเราได้รับรอง

การใช้แผนที่1:200,000ในการกำหนดพื้นที่แล้ว

(อ้างอิงการที่เรารับรองคำตัดสินในครั้งนี้)

เราต้องกำหนด พื้นที่อื่นในแผนที่นี้(รวม4.6ตร.กม.ด้วย)ตาม

แผนที่ 1:200,000ด้วยหรือไม่ ???...

 

 

ถามท่านผู้อาวุโสให้แล้วน่ะค่ะ...คำตอบคือ

 

การปักปันเขตแดนระหว่าง ไทย-กัมพูชา ในจุดอื่นที่กำหนดไว้แล้วก่อนคำพิพากษาล่าสุด

ไม่มีการอ้างอิงถึงแผนที 1 : 200,000 

 

คำพิพากษาครั้งนี้ศาลได้ระบุชัดว่า 1 : 200,000 ใช้เฉพาะคดีพิพาทเดิมเท่านั้น

 

เพราะคำพิพากษาได้ตัดสินโดยใช้แผ่นที่ 1 : 200,000 เป็นหลักฐานหนึ่งในการกำหนด

เขตอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ลบล้างไม่ได้ และคำพิพากษา 2505 

ก็ไม่ได้กำหนดจุดชัดเจนว่าจุดใด

 

แต่ครั้งนี้อ้างป้อมและแค้มป์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาปราสาทในปี 2504 ซึ่งไทยยอมรับว่า 

อยู่ทางใต้ของเส้นในแผนที่ แต่อยู่ทางเหนือของเส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นสันปันน้ำ

ซึ่งก็ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นจุดใดกันแน่..

 

การที่หลายฝ่ายต่างตีความกันไป ว่าไทยเสียดินแดนเพิ่มไม่ว่าจะเป็น 0.3 หรือ 50 ไร่

หรือจะเป็น 1 ตร.กม..หรือ 1.50 ตร.กม อาจจะเป็นการตีตนไปก่อนไข้..

 

น่าแปลก..ที่ไม่มีใครสักคนถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และน่าจะเป็น

หน่วยงานที่มีข้อมูลในด้านภูมิศาสตร์ชัดเจนที่สุด...กรมแผนที่ทหาร..

 

คำพิพากษาศาลโลก ให้ถือฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นภาษา

ทางกฎหมาย นักวิชาการต่างก็พยายามตีความไปต่าง ๆ ตามแนวทางที่ตนเชือถือ

ตามแผนที่ที่นักวิชาการยึดถือเป็นหลัก...

 

อย่าลืมว่า..ยุคสมัยต่างกัน การเดินเท้าสำรวจ กับ Google นั้นห่างกียหลายสิบปี

สภาพภูมิอากาศก็ย่อมต่างกัน สภาพเชิงผา ความลาดชันก็ต่างกัน

 

การกำหนดจุดเส้นเขตแดน บริเวณใกล้เคียงปราสาท ตามคำพิพากษา 2556 จึงเป็น

หน้าที่ของทีมเจรจาไทย ที่ต้องกำหนดจุดตั้งป้อมและแคมป์ ที่กล่าวถึงในปี 2504

ให้ได้...

 

ซึ่งแน่นอน...มติ ครม 2505 ที่เลือกทางเลือกที่ 2 น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

เพราะจัดทำขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน สภาพภูมิศาสตร์เดียวกัน..และ..ยังไม่มีผลประโยชน์

ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง..

 

ที่นี่..ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล..ว่าจะ ตีความอย่างไร..

 

จะยกพื้นที่ทางเข้า ใส่พาน บรรณาการให้หรือไม่....

 

ท่านผู้อาวุโส ทางกฎหมาย กล่าวไว้เช่นนั้น...

ผิดถูกประการใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

 

 
ขอบคุณมากครับ  :)
 

 

เท่าที่ผมได้สอบถามเพิ่มเติมไปยังนักกฎหมายท่านหนึ่งก็ได้ความเห็นคราวๆแบบนี้ ..

 

เท่าที่ดู เป็นเพราะการตัดสินคดีในปี2505 ที่บีบให้เรารับเอาแผนที่1:200,000มาใช้

(อ่านในเนื้อข่าวก่อนหน้านี้ก็พอเข้าใจถึงการรับเอาแผนที่มาใช้ของฝ่ายเราเองด้วย) ...

เพื่อใช้กำหนดอนาบริเวณของปราสาท 

 

และตรงกันอีกประเด็น คือ การกำหนดเส้นเขตแดนหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับฝ่ายไทยที่จะเจรจากับฝ่ายเขา

 

ปัญหาอีกอย่างของตรงนี้ คือ การอ้างอิงของศาล อ้างอิงไปยังตำบล(จุดตั้งค่ายทหาร)

ที่ต้องค้นหาว่าแนวที่จะให้เราถอยออกมานั้นคือตรงไหน

กอร์ปกับ ใช้แผนที่1:200,000 ซึ่งไม่มีความแน่นอนผิดเพี้ยนเยอะ ยิ่งจะหาแนวเส้นดังกล่าวเจอได้ยาก เข้าไปอีกหรือเปล่า

 

ส่วนนี้ ผมลองเสนอความเห็นดูนะครับ ถ้าเราไม่สามารถสู้กับกับการยืนยันการใช้แผนที่1:200,000

ในการหาเส้นที่ศาลกำหนดแล้ว เป็นไปได้ไหม ที่เราจะเสนอ แผนที่1:50,000 เข้าไปประกบในการ

หาพิกัดพื้นที่ หรือเส้นที่ถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ 2ประการ คือ 

 

1.หาพิกัดหรือเส้นที่เป็นที่ถูกต้องได้ง่ายกว่า

2.เพื่อให้ศักดิ์ และ สิทธิ์ ของแผนที่เรายึดถือ เท่าเทียมกับ แผนที่1:200,000 (อันนี้ไม่ต้องบอกเขาก็ได้)

 

 

เอกสารที่จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงตามคำพิพากษาศาล ถ้าไม่อยู่ในเอกสารประกอบที่ใช้ตั้งแต่คำฟ้อง คำแถลง

ไม่อาจนำมาใช้ได้..

 

แต่ทั้งนี้..ขึ้นอยู่กับทีมเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ว่ายินยอมหรือไม่ เพราะศาลกล่าวที่เพียงว่า...ให้ตกลงกันเอง




#906211 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย Stargate-1 on 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 11:54

ปัญหาอีกอย่างของตรงนี้ คือ การอ้างอิงของศาล อ้างอิงไปยังตำบล(จุดตั้งค่ายทหาร)

ที่ต้องค้นหาว่าแนวที่จะให้เราถอยออกมานั้นคือตรงไหน

กอร์ปกับ ใช้แผนที่1:200,000 ซึ่งไม่มีความแน่นอนผิดเพี้ยนเยอะ ยิ่งจะหาแนวเส้นดังกล่าวเจอได้ยาก เข้าไปอีกหรือเปล่า

 

ส่วนนี้ ผมลองเสนอความเห็นดูนะครับ ถ้าเราไม่สามารถสู้กับกับการยืนยันการใช้แผนที่1:200,000

ในการหาเส้นที่ศาลกำหนดแล้ว เป็นไปได้ไหม ที่เราจะเสนอ แผนที่1:50,000 เข้าไปประกบในการ

หาพิกัดพื้นที่ หรือเส้นที่ถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ 2ประการ คือ 

 

1.หาพิกัดหรือเส้นที่เป็นที่ถูกต้องได้ง่ายกว่า

2.เพื่อให้ศักดิ์ และ สิทธิ์ ของแผนที่เรายึดถือ เท่าเทียมกับ แผนที่1:200,000 (อันนี้ไม่ต้องบอกเขาก็ได้)

 

 

แผนที่ 1:200,000 มันเขียนออกมาโดยไม่ตรงกับพื้นที่จริง เช่น จุดที่หน้าผาเป้ยตาดี ก็ผิดตำแหน่งไป ตำแหน่งในแผนที่ 1:200,000 ทำผิดตำแหน่งไป 1.98 กิโลเมตร

http://webboard.seri...าร/#entry570625

 

หนึ่งในผู้ที่มีความพยายามและน่าชื่นชมที่ทุ่มเทค้นหาความจริง คือเพื่อนในเฟสบุ๊คคนหนึ่ง ชื่อ Chayut Ratanapong ได้เขียนบทความลงในเฟสบุ๊คของตัวเองชื่อ “แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่? ซึ่งได้นำแผนที่ของกัมพูชาซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1908 มาเทียบกับเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล เอิร์ธ แล้วพบว่า:
       
       แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นเท็จ โดยเฉพาะแนวสันปันน้ำตามแนวหน้าผาในระวางดงรักนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก เป็นผลทำให้แผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวผิดพลาดห่างจาก “สันปันน้ำและหน้าผาจริง” กินเข้ามาในดินแดนไทยถึง 4.49 กิโลเมตร ในขณะที่บางจุดก่อนถึงช่องสะงำผิดพลาดกินล้ำเข้ามาในดินแดนไทยไปถึง 9.78 กิโลเมตร โดย ขออนุญาตนำความบางตอนที่สำคัญในบทความของ Chayut Ratanapong ดังนี้
 

post-14906-0-66148300-1358310366.jpg

 

ภาพแสดงเปรียบเทียบ เส้นสีแดงได้มาจาก กูเกิล เอิรธ์ วัดตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวง เทียบกับแนวหน้าผาและเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งเป็นเท็จและไม่สามารถยึดตามแผนที่ของฝรั่งเศสได้ blank.gif        โดยในภาพนี้อธิบายสีของแต่ละเส้นดังนี้คือ เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N), เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก(E) , เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน, เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง, เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km, เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km, รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km
       
       เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000
       
        เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร
       
       ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร
       
       การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร
       
       ถ้าใช้หลักการนี้ ก็จะพบว่าบางพื้นที่อย่างเช่นกรณีใกล้ๆกับช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ แผนที่ของฝรั่งเศสผิดพลาดจากแผนที่ตาม กูเกิล เอิรธ์ ถึง 9.78 กิโลเมตร

 

ความจริงแล้ว ถ้านำแผนที่ 1:200,000 มาปรับตำแหน่งละติจูด ลองติจูดในแผนที่ ให้ตรงกับภูมิประเทศที่แท้จริงแล้ว เขมรอาจเสียปราสาทพระวิหาร เช่น ตำแหน่งละติจูด ลองติจูดของหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1:200,000 คาดเคลื่อนไป 1.98 กม. แล้วตำแหน่งอื่นๆ ในแผนที่ก็ไม่ตรง ตลอดแนวแผนที่ 100 กม. ศาลจึงไม่เอามาตัดสิน ปล่อยให้ทั้งคู่จินตนาการกันไปเอง   ชาวต่างชาติเขารู้กันหมดแล้ว  แม้แต่กูเกิ้ลเองยังรู้เลย เจบีซีจึงไปไม่ถึงไหนไง




#905683 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย bird on 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 22:55

 

ได้ความคืบหน้ามาอีกนิด...

 

ได้เรียนถามท่านผู้อาวุโสด้านกฎหมาย...ว่า

 

" วันนี้เห็นสื่อหลาย ๆ ช่อง กล่าวว่า เราเสียดินแดนแล้วหรือ อย่างน้อย ก็ประมาณ

1 - 1.5 ตร.กม.หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ก็พาดหัวตัวโต..ๆ เราแพ้คดี เสียดินแดน.."

 

ท่านได้อธิบายว่า..

 

" เราจะเสียดินแดน หรือไม่ ศาลไม่ได้บอก ไม่ได้กำหนด เพียงแต่บอกว่า

ให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันเอง...คำพิพากษาไม่ได้กล่าว ไม่ได้ระบุว่าต้องใช้

วิธีการใดในการกำหนด พื้นที่รอบตัวปราสาท...ย้ำ..คำพิพากษาไม่ได้

ระบุวิธีการในการกำหนดเส้นเขตแดน

 

เราจะเสียดินแดนหรือไม่...ขึ้นอยู่กับว่า ต่อจากนี้ไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายเรา

รัฐบาลของเรา จะแสดงจุดยืนในการกำหนดเส้นเขตแดนรอบตัวปราสาท

อย่างใด จะสามารถรักษาแผ่นดินของประเทศไทยไว้ได้ ณ จุดเดิมหรือไม่

 

ผู้ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องศึกษาคำพิพากษา 2505 ให้เข้าใจทุกตัวอักษร

ต้องหาที่ตั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบตามคำฟ้อง และจุดกำหนดเดิม

ให้ใกล้เคียงกับสภาพภูมิศาสตร์ในปัจจุบันให้มากที่สุด

 

รัฐบาลของเรา...จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ จะรักษาประโยชน์

ส่วนตัว วงศาคณาญาติ ทั้งที่เป็นเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย และที่เป็น

สัญชาติอื่น

 

ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า...ทหารของเราจะไม่ยอมให้เสียดินแดนแม้ตารางนิ้ว

กรมแผนที่ทหารของเรามีแต่คนเก่ง ๆ มีข้อมูลมากมาย การเสียดินแดน

คงเป็นไปได้ยาก...

 

ยกเว้นเสียจากว่า...

 

การเจรจาที่เกิดขึ้นจะมีบุคคลอันไม่พึงประสงค์เข้าไปเกี่ยวข้อง...

 

ซาตานในคราบของนักการเมือง "

 

ท่านกล่าวไว้เช่นนี้...

 

ตอนนี้ผมกังวล ตรงนี้มากครับ ...

 

ในคำพิพากษา ศาลได้หยิบเอาแผนที่ 1:200,000 มาอ้างอิง

กำหนดvicinity ของปราสาท ..แม้ว่าศาลจะบอกว่าไม่ยุ่งกับ

การกำหนดเขตแดน2ทั้ง2ฝ่าย แต่หากเราผลีผลามรับรอง

คำตัดสินครั้งนี้ไป ไม่เท่ากับเรารับเอาแผนที่1:200,000มาใช้

หรือครับ 

ไม่ใช่แต่ ในเฉพาะพื้นที่vicinity ปราสาทเท่านั้น หลังจากจบ

เรื่องคราวนี้ไป หากวันหนึ่งข้างหน้ากัมพูชาอ้างว่าเราได้รับรอง

การใช้แผนที่1:200,000ในการกำหนดพื้นที่แล้ว

(อ้างอิงการที่เรารับรองคำตัดสินในครั้งนี้)

เราต้องกำหนด พื้นที่อื่นในแผนที่นี้(รวม4.6ตร.กม.ด้วย)ตาม

แผนที่ 1:200,000ด้วยหรือไม่ ???...

 

 

ถามท่านผู้อาวุโสให้แล้วน่ะค่ะ...คำตอบคือ

 

การปักปันเขตแดนระหว่าง ไทย-กัมพูชา ในจุดอื่นที่กำหนดไว้แล้วก่อนคำพิพากษาล่าสุด

ไม่มีการอ้างอิงถึงแผนที 1 : 200,000 

 

คำพิพากษาครั้งนี้ศาลได้ระบุชัดว่า 1 : 200,000 ใช้เฉพาะคดีพิพาทเดิมเท่านั้น

 

เพราะคำพิพากษาได้ตัดสินโดยใช้แผ่นที่ 1 : 200,000 เป็นหลักฐานหนึ่งในการกำหนด

เขตอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ลบล้างไม่ได้ และคำพิพากษา 2505 

ก็ไม่ได้กำหนดจุดชัดเจนว่าจุดใด

 

แต่ครั้งนี้อ้างป้อมและแค้มป์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาปราสาทในปี 2504 ซึ่งไทยยอมรับว่า 

อยู่ทางใต้ของเส้นในแผนที่ แต่อยู่ทางเหนือของเส้นที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นสันปันน้ำ

ซึ่งก็ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นจุดใดกันแน่..

 

การที่หลายฝ่ายต่างตีความกันไป ว่าไทยเสียดินแดนเพิ่มไม่ว่าจะเป็น 0.3 หรือ 50 ไร่

หรือจะเป็น 1 ตร.กม..หรือ 1.50 ตร.กม อาจจะเป็นการตีตนไปก่อนไข้..

 

น่าแปลก..ที่ไม่มีใครสักคนถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และน่าจะเป็น

หน่วยงานที่มีข้อมูลในด้านภูมิศาสตร์ชัดเจนที่สุด...กรมแผนที่ทหาร..

 

คำพิพากษาศาลโลก ให้ถือฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นภาษา

ทางกฎหมาย นักวิชาการต่างก็พยายามตีความไปต่าง ๆ ตามแนวทางที่ตนเชือถือ

ตามแผนที่ที่นักวิชาการยึดถือเป็นหลัก...

 

อย่าลืมว่า..ยุคสมัยต่างกัน การเดินเท้าสำรวจ กับ Google นั้นห่างกียหลายสิบปี

สภาพภูมิอากาศก็ย่อมต่างกัน สภาพเชิงผา ความลาดชันก็ต่างกัน

 

การกำหนดจุดเส้นเขตแดน บริเวณใกล้เคียงปราสาท ตามคำพิพากษา 2556 จึงเป็น

หน้าที่ของทีมเจรจาไทย ที่ต้องกำหนดจุดตั้งป้อมและแคมป์ ที่กล่าวถึงในปี 2504

ให้ได้...

 

ซึ่งแน่นอน...มติ ครม 2505 ที่เลือกทางเลือกที่ 2 น่าจะใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

เพราะจัดทำขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน สภาพภูมิศาสตร์เดียวกัน..และ..ยังไม่มีผลประโยชน์

ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง..

 

ที่นี่..ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล..ว่าจะ ตีความอย่างไร..

 

จะยกพื้นที่ทางเข้า ใส่พาน บรรณาการให้หรือไม่....

 

ท่านผู้อาวุโส ทางกฎหมาย กล่าวไว้เช่นนั้น...

ผิดถูกประการใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ค่ะ




#904614 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย Stargate-1 on 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 12:35

 

 

 

'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด! 'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย

 

                11 พ.ย.56 นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แถลงยืนยันความพร้อมการถ่ายทอดสดศาลโลกอ่านคำตัดสินจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นขอตีความเรื่องอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร โดยจะถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านทางเว็บไซต์ของศาล www.icj-cij.org/homepage สามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงจริงในศาล เป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส พร้อมกันนั้้นกระทรวงการต่างประเทศได้จัดแปลเป็นภาษาไทยแบบสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) อีกทั้ง ยังสามารถเลือกรับฟังได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) เป็นภาษาไทย

                นอกจากนี้ ยังติดตามได้ทางโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/ThaiMFA และ www.twitter.com/mfathai  และยังมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 เป็นภาษาไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 เป็นภาษาอังกฤษ สถานีวิทยุ อสมท FM 100.5 และสถานีวิทยุสราญรมย์ AM 1575 เป็นภาษาไทย และยังสามารถรับฟังการอ่านคำตัดสินได้ทางเว็บไซต์ www.phraviharn.org และ saranrom.mfa.go.th เช่นเดียวกับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสามารถรับฟังผ่าน Mobile Application ของ อสมท. คือ MCOT App.

                นายเสข กล่าวต่อว่า ลำดับขั้นตอนการถ่ายทอดการอ่านคำพิจารณาคดี จะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ทางช่อง 9 และ 11 จะถ่ายทอดรายการพิเศษก่อนการอ่านคำตัดสิน จากนั้นเวลา 16.00 น. ตามเวลาไทยหรือตรงกับเวลา 10.00 น. ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลจะเริ่มอ่านคำตัดสิน คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากศาลอ่านคำตัดสินเสร็จแล้ว จากนั้นประมาณ 20 นาที นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนสู้คดีฝ่ายไทย จะให้สัมภาษณ์สด หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และอีกประมาณ 40 นาที จะมีรายการพิเศษสัมภาษณ์นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก่อนที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ จะแถลงสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง

                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสข ได้เปิดให้คณะสื่อมวลชนเข้าชมศูนย์ข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยได้พาชมห้องวอร์รูมกลาง ที่มีไว้ติดตามสถานการณ์และรับการถ่ายทอดสด ซึ่งภายในห้องมีการติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ 3 จอ จากนั้นพาชมห้องล่ามแปลภาษา ที่มีล่ามแปลทั้งหมด 2 คน ห้องเทคนิคของช่อง 9 และ 11 และห้องถ่ายทอดรายการพิเศษ ที่จัดขึ้นห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ

               อย่างไรก็ตาม นายเสข กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มธรรมยาตราได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษว่า เป็นสิทธิสามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยและกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มดังกล่าวและประชาชนในพื้นที่แล้ว เพื่อยืนยันว่า จะไม่เกิดการปะทะกันในพื้นที่ชายแดนแน่นอน

               "แม้ในระหว่างนี้ อาจมีข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนได้ ผมขอให้ประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเผยแพร่ เพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน และย้ำให้ประชาชนอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ควรรอฟังคำตัดสิน โดยท่านวีรชัย จะแปลภาษากฎหมาย เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย” นายเสข กล่าว

               ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารแล้ว  โดยกล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011

               โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ

               ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่

              ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพกษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง

               ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณ ดินแดน

               โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง

               เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ

               ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962

               1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน

               2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1

               3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแยังกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1

               ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน

              ศาลเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งภาคผนวก 1  ไม่ได้ระบุว่า เส้นทางชัดเจน แต่ชัดว่า ด่านตำรวจที่อยู่ใกล้เคียงกับแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลพิจารณาพื้นที่จำกัดด้านตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า ถือเป็นพื้นที่กัมพูชา ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความเรื่องบริเวณใกล้เคียงที่ครอบคลุมชะง่อนผาและครอบคลุมกัมพูชาไม่ถือว่าภูมะเขืออยู่ในพระวิหาร ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของจว.นี้ แต่ก็ถือว่า ภูมะเขือเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาและขณะเดียวกันเล็กกว่าจะครอบคุลมทั้งพระวิหารและภูมะเขือ และภูมะเขือไม่ได้เป็นบริเวณสำคัญที่ศาลจะพิจารณา ไม่มีหลักฐานที่จะเสนอว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารหรือกำลังไทยในบริเวณนั้น และไม่มีการพูดว่า ภูมะเขือมีส่วนสำคัญที่ไทยต้องถอนกำลัง

              การตีความที่จะกำหนดจุดต่าง ๆ   ศาลได้พิจารณาว่า ศาลไม่ได้กำหนดสันปันน้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลจะพิจารณา เนื่องจากศาลได้กำหนดว่า อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

              หลังการพิจาณาสรุปว่า คำพิพากษาปี  1962 ศาลไม่ได้พิจารณาที่กว้าง ดังนั้นไม่ได้มีความตั้งใจพิจารณาว่าพื้นที่ใกล้เคียงหรือภูมะเขืออยู่ในไทย การพิจารณา ปี 1962 ตามที่มีการร้องขอในกระบวนการพิจารณาได้มีการพิจารณาในส่วนของเขาพระวิหารด้านใต้   ตะวันออกใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีชะง่อนหน้าผา สองฝ่ายตกลงว่า พื้นที่อันนั้นอยุู่ในกัมพูชา และตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่าที่เป็นสิ่งแยกเขาพระวิหารออกจาภูมะเขือ ก่อนลาดลงสู่พื้นที่ราบกัมพูชา  ศาลพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่ข้อพิพาท และปี 1962  ไม่ได้บอกว่า อยู่ในไทยหรือกัมพูชาชะง่อนหน้าผาพระวิหารและภูมะเขือ มีพื้นที่ที่เริ่มสูงขึ้น เป็นเส้นของแผนที่

               อย่างไรก็ตาม สองฝ่ายไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้ คำพิากษา 1962  ศาลพิจารณาเรื่องวัดที่เกี่ยวข้องในข้อบทปฏิบัติการข้อสามและจะทำให้เข้าใจข้อบทปฏิบัติการ  ข้อพิจารณาในขณะนั้น เป็นเรื่องของอธิปไตย ศาลจึงได้ตัดสินใจในข้อปฏิบัติการที่  1  ว่า พระวิหารอยู่ในกัมพูชา ไทยมีหน้าที่ถอนกำลังทาหร และอื่นๆ ออกไปจากพื้นที่ของกัมพูชาในแถบพระวิหารและเรื่องข้อปฏิบัติที่สามที่ครอบคลุมพื้นที่ขยายเกินขอบเขตพระวิหาร 

               สำหรับอธิปไตยเหนือพื้นที่ก็จเป็นบริเวณที่อยู่ใต้อธิปไตยของกัมพูชาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ และพื้นที่ดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของข้อพิพาทปี 1962  เรื่องอธิปไตยที่ศาลพิจารณาคือ คาบเกี่ยวทั้งที่พูดถึงในวรรคแรกและสาม ศาลสรุปว่า พื้นที่ที่พูดถึงในวรรค 1 และ 3  ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชาและถือว่า เป็นการอ้างถืงวรรคสองและสามและพูดถึงบริเวณพระวิหาร ที่มีการร้องขอให้พิจารณา

               "ไทยได้รับว่า ไทยมีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะเคารพ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่ไทยบอกว่า เป็นพื้นที่อธิปไตยกัมพูชา สองฝ่ายต้องทำตามพันธกรณี ทั้งสองมีหน้าที่แก้ไขปัญหา ข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น  ภายใต้การทำงานสองฝ่ายไทยกัมพูชาต้องคุยกันเอง ยูเนสโกต้องดูแลในฐานะดูแลมรดกโลก   ก็สรุปว่า วรรคหนึ่งข้อบทปฏิบัติการทั้งหลาย กัมพูชามีอธิปไตยเหนือชะง่อนผาที่ต้องมีไว้ตาม 1962 ไทยต้องถอนทหารทั้งหมดออกไป ตามย่อหน้า 108 เป็นส่วนบทปฏิบัติการ ซึ่งศาลมีมติเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจรับฟังการตีความตามวันที่ 15 มิ.ย.1962  คือ กัมพูชามีอำนาจตามอธิปไตยในพระวิหาร ไทยต้องมีพันธกรณีถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ผู้เฝ้า"

 

http://www.komchadlu...111/172532.html
 

 

ศาลบอกว่า Annex1 อยู่ในสนธิสัญญาเชียวหรือ  ฟ้องฝรั่งเศสไปเลยว่าละเมิดอธิปไตย

 

 

ตามที่ผมสอบถามนักกฎหมาย เขาให้ความเห็นแบบนี้มาครับ 
 

 

 

นักกฏหมายท่านเดิม เพิ่มเติมข้อมูล มาครับ
 

1. ศาลโลก ปี 2505 บอกว่าถือว่าไทยรับแผนที่แล้ว โดยอ้างว่าไม่คัดค้านเท่ากับยอมรับ (แต่ไทยยังคัดค้าน)

 

2. ศาลโลก 2556 ยืนยันต่อว่าเรายอมรับแผนที่1:200,000ตามกฎหมายปิดปาก

 

3. ศาลอ้างว่าไม่วินิจฉัยเขตแดน วินิจฉัยแค่อธิปไตย เหนือพื้นที่ แต่บังคับเราให้รับแผนที่ แล้วบอกว่าเขตแดนไปปักปันกันเอง

 

ดังนั้น เราก็ควรคัดค้านแผนที่ ตอนปักปันเขตแดนจะได้ไม่มีปัญหา

 

 

 

 

 

http://www.oknation....t.php?id=341355

 

ว่าด้วย สนธิสัญญา และ แผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา: พรมแดนความ ไม่รับรู้ของสื่อสาธารณะ

 

 

โดย อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ/วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 ในทัศนะของผม พรมแดนความรับรู้เกี่ยวกับ สนธิสัญญา พรมแดน และแผนที่ ไทย-กัมพูชา ค่อนข้างแตกต่างมากจากสิ่งที่ปรากฏในนำเสนอของบรรดาสื่อสารมวลชนไทยในปัจจุบัน รวมทั้งบรรดา “ผู้รู้อิสระ” ทั้งหลายที่ออกมาให้สัมภาษณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
 ดังนั้นจึงขอโอกาสนำเสนอ พรมแดนความไม่รับรู้ หรือ ไม่ถูกนำเสนอผ่านสื่อสารมวลชนสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงและหลักฐานเกี่ยวกับ สนธิสัญญา และแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา
 ประการแรก สนธิสัญญา พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 และ สนธิสัญญา พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 และแผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 กล่าวคือ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในสนธิสัญญาระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2447/ค.ศ.1904 นั้น มาตรา 1 กำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” ซึ่งคำว่า “เส้นสันปันน้ำ” นี่เอง ได้ถูกนำมาเป็นข้อถกเถียง เรื่องดินแดนและอธิปไตยของไทยเหนือเขาพระวิหารบนเทือกเขาพนมดงรัก
 แต่เอาเข้าจริงแล้ว ใน มาตรา 3 ของสนธิสัญญาฉบับเดียวกันนี้ ก็ได้ระบุเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า
 “ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดยคณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง” หมายความว่า แม้สนธิสัญญาจะกำหนดให้ “เส้นเขตแดน คือ สันปันน้ำ” แต่ “แนวเขตแดนที่แน่นอนจะได้กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม” โดยมี พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และ พันตรี แบร์นารด์ เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส
 ต่อมา สนธิสัญญาครั้งหลังสุดในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินไปลงสัตยาบันกับฝรั่งเศสด้วยพระองค์เอง โดยตกลงยกพระตะบอง เสียมเรียบ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับด่านซ้ายและตราด รวมทั้งหมู่เกาะต่างๆ ของอำเภอแหลมงอบในปัจจุบัน เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยส่วนใหญ่ของประเทศเอาไว้
 สนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้เอง ทำให้เกิดแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชาขึ้น และพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรกใน 1 ปี ต่อมาคือ พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 และหนึ่งในแผนที่จำนวน 11 ระวาง ที่ถูกพิมพ์ขึ้นในชุดเดียวกันนี้ ก็ปรากฏเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางชื่อ “Dangrek” มีสัญลักษณ์ระบุอย่างชัดเจนว่าที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร “Preas Vihear” อยู่ในเขตแดนของกัมพูชา [แผนที่ฉบับนี้หาได้จาก Google โดยพิมพ์คำว่า Dangrek แล้วเลือกรูปภาพขนาดใหญ่พิเศษ]
 ประการที่สอง กรณี “ศาสตราจารย์” ผู้รู้ทางกฏหมายของไทยท่านหนึ่ง ให้ “คำอธิบาย” ว่า แผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา “เป็นการทำของฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานและสนธิสัญญา” แต่ “คำอธิบาย” ของผู้รู้ท่านนี้ ขัดแย้งต่อหลักฐานและข้อเท็จจริง
 กล่าวคือ แม้ว่า คณะกรรมการผสมสองฝ่ายไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และกระบวนการปักปันเขตแดนส่วนใหญ่กระทำขึ้น โดยฝ่ายฝรั่งเศส แต่ในที่สุดเมื่อมีตีพิมพ์แผนที่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 ฝ่ายสยามก็ยอมรับแผนที่ดังกล่าวไว้ และเอาเข้าจริงแล้ว แผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 ที่กัมพูชาใช้แนบคำฟ้องเพื่อสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก เมื่อปี พ.ศ.2502-2505/ค.ศ.1959-1962 ก็คือแผนที่แผ่นเดียวกันกับ แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระวางชื่อ “Dangrek” หนึ่งในแผนที่ ทั้งหมด 11 ระวาง ระวางละ 50 แผ่น ได้แก่ 1.Maekhop and Chianglom 2.rivers in the north 3.Muang Nan  4.Paklai 5.Huang River 6.Pasak 7.Mekong 8.Dangrek 9.Phnom Kulen 10.Lake และ 11.Muang Trat
 จากเอกสารราชการสถานทูตสยามในปารีส เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2451/1908 หม่อมเจ้า จรูญศักดิ์ กฤษดากร อัครราชทูตสยามประจำฝรั่งเศส ทรงกล่าวถึง “คณะกรรมการผสม - Mixed Commission of Delimitation” ว่า “ได้ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว” และทรงรับแผนที่ชุดนี้มาจาก “Captain Tixier” เพื่อส่งมาถวาย สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ของสยามขณะนั้น ซึ่งส่งมายังประเทศสยามทั้งหมด 11 ระวาง ระวางละ 44 แผ่น โดย ทรงเก็บไว้ที่สถานทูตในฝรั่งเศสระวางละ 2 แผ่น และส่งไปยังสถานทูตสยามแห่งอื่นๆ ได้แก่ ลอนดอน เบอร์ลิน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา แห่งละ 1 ชุด (ทั้ง 11 ระวางๆ ละ 1 แผ่น)
 ดังนั้น แผนที่ภาคผนวก 1 หรือ MAP ANNEX 1 จึงเป็นที่รับรู้ของฝ่ายสยามมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2451/ค.ศ.1908 หากจะมี “ผู้รู้อิสระ” บางท่านกล่าวว่า “เป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำปลอมขึ้นทีหลัง เพื่อให้ฝ่ายกัมพูชาเอาไปใช้สู้คดีในศาลโลก” จำต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนในถ้อยคำดังกล่าว เพราะแผนที่นี้ ปัจจุบันก็มีอยู่ที่กระทรวงต่างประเทศของไทย พิมพ์โดย H.BARRÈRE, Edituer Geographe.21 Rue du Bac, PARIS.   
  ประการที่สาม การรณรงค์ดินแดนที่เรียกว่า “มนฑลบูรพา” โดยอ้างอิง อนุสัญญาโตเกียว พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยได้เข้าไปครอบครองดินแดนกัมพูชาที่ จังหวัดพระตะบอง และ เสียมเรียบที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “จังหวัดพิบูลสงคราม” รวมทั้งดินแดนลาวที่ “จังหวัดลานช้าง” และ “จังหวัดจำปาศักดิ์”
 แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการลงนามในสนธิสัญญาอีกหนึ่งฉบับคือ สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2489 (ค.ศ.1946) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับรัฐบาลไทย ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายไทย ต้องถอนกำลังทหารออกจากดินแดนทั้งหมด ที่ไทยเคยบุกเข้าไปครอบครองในช่วงสงคราม เนื่องจากรัฐบาลไทยนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมมือกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่เพราะมีขบวนการเสรีไทยที่นำโดย ดร.ปรีดี พนมยงค์ ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องตกอยู่ในฐานะประเทศแพ้สงครามในครั้งนั้น
 เพราะฉะนั้น หากจะอ้างอิง อนุสัญญาโตเกียว พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ก็จำเป็นต้องให้ข้อมูลกับสาธารณะชนว่ายังมี สนธิสัญญาวอชิงตัน พ.ศ.2489 (ค.ศ.1946) ด้วยเช่นกัน และถึงแม้จะมีข้อถกเถียงว่า “รัฐบาลมิได้ขอสัตยาบันจากรัฐสภา” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า รัฐบาลในขณะนั้น ก็คือ ขบวนการเสรีไทย ทำให้ประเทศชาติของเรารอดพ้นจากสถานะ “ประเทศผู้แพ้สงคราม” สามารถดำรงความเป็นเอกราชและอธิปไตยมาได้จนถึงปัจจุบัน
 ประการสุดท้าย  กรณีที่ “ผู้รู้อิสระ” ท่านหนึ่งออกมาโพนทะนาว่า “ค้นพบแผนที่ลับ” ของฝรั่งเศส นั้น แท้จริงแล้ว แผนที่ดังกล่าว เป็นเพียงแผนที่ประกอบบทความซึ่งปรากฏอยู่ใน “Les relations de la France et du Siam 1860-1907” ซึ่งตัดตอนมาจากบทความในวารสารแห่งกองทหารฝรั่งเศสในอาณานิคม เขียนโดย ร้อยเอกโซฟ (le capitaine SEAUVE) อดีตสมาชิกในคณะสำรวจปาวี (Mission Pavie) ซึ่งเดินทางเข้ามาสำรวจทำแผนที่ในปี พ.ศ.2426 เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาวอันเป็นดินแดนที่อยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส
 ปัจจุบันบทความดังกล่าว กรมศิลปากรได้ทำการแปลเป็นภาษาไทย และจัดพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “สัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสยาม พ.ศ.2223-2450” เมื่อปี พ.ศ.2544 โดยแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส โดย อาจารย์นันทพร บรรลือสินธุ์ [หาได้ตามศูนย์หนังสือทั่วไป เช่น ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขาย 72 บาท]
 แผนที่ดังกล่าว ปรากฏในหนังสือหน้าที่ 178 ซึ่งวาดขึ้นเพื่อประกอบบทความ ว่าด้วยอาณาบริเวณที่สยามกับฝรั่งเศสนำมาแลกกันตามสนธิสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2450/ค.ศ.1907 ระบุไว้ว่า “CONVENTION DU 23 MARS 1907” ซึ่งวาดขึ้นโดยไม่ระบุพิกัดองศาเส้นรุ้งและเส้นแวง รวมทั้งไม่ปรากฏสัญลักษณ์หรือระบุที่ตั้งของปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด และด้านล่างของแผนที่ มีภาษาฝรั่งเศสระบุว่า “Revue des troupes colonials n°65” โดยมี Henri CHARLES-LAVAUZELLE เป็น ผู้พิมพ์ [ในเอกสารใช้คำภาษาฝรั่งเศสว่า éditeur แต่ภาษาอังกฤษแปลว่า publisher แปลว่า ผู้พิมพ์]
 ดังนั้น หากพิจารณาโดยหลักวิชาการพื้นฐาน “ประวัติศาสตร์” ว่าด้วย “ลำดับชั้นของหลักฐาน” ที่แบ่งเป็น หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง หรือ หลักฐานชั้นปลาย แล้ว จึงสรุปได้อย่างไม่มีข้อสงสัยว่า สถานะของการ “ค้นพบแผนที่ลับ” ของ “ผู้รู้อิสระ” รายนี้ เป็นเพียงหลักฐานชั้นปลายแถว ในการศึกษาเหตุการณ์เกี่ยวกับ สนธิสัญญา และแผนที่ไทย(สยาม)-กัมพูชา ซึ่งมีการลงนามและทำขึ้นระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ช่วงปี พ.ศ.2447-2451/ค.ศ.1904-1908 
 อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้รู้ นักวิชาการ ทั้งที่มีและไม่มีสังกัด อาจจะต้องทบทวนสิ่งที่ตนได้ออกมาแสดงความคิดเห็น อย่างเป็น “อิสระ” โดยบางครั้ง ขาดความรับผิดชอบทางวิชาการ ต่อข้อเท็จจริงและข้อมูลหลักฐานเบื้องต้น เพราะ บรรดา “ความอิสระ” ทั้งหลายนั้น อาจไม่ต้องคำนึงมากนักถึง ผลที่ตามมาต่อความรับรู้และความรู้สึกสาธารณะของประชาชน รวมทั้ง เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวที่กำลังทำงานกันอย่างสุดความสามารถ
 แต่สิ่งที่ “ผู้รู้อิสระ” ทั้งหลาย พูดออกไปนั้น บัดนี้ได้กลายเป็น “วาทกรรม” ที่ถูกนำไปขยายผล “เล่าสู่กันฟัง” กลายเป็น “อาณาจักรแห่งความหวาดระแวง และ มืดบอดระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน” ทั้งในมิติด้านกว้างและด้านลึก 

 

เพิ่มเติม : http://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9560000016185

 

Annex 1 อยู่ในสนธิสัญญาฉบับไหนครับ




#904252 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย Stargate-1 on 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 08:32

 

'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด! 'ศาลโลก'ไม่ชี้ขาด'เขตแดน'ภูมะเขือรอด!โยน'ยูเนสโก'ไกล่เกลี่ย

 

                11 พ.ย.56 นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ แถลงยืนยันความพร้อมการถ่ายทอดสดศาลโลกอ่านคำตัดสินจากกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อกรณีที่กัมพูชายื่นขอตีความเรื่องอาณาบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร โดยจะถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านทางเว็บไซต์ของศาล www.icj-cij.org/homepage สามารถรับชมภาพ และรับฟังเสียงจริงในศาล เป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส พร้อมกันนั้้นกระทรวงการต่างประเทศได้จัดแปลเป็นภาษาไทยแบบสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) อีกทั้ง ยังสามารถเลือกรับฟังได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) เป็นภาษาไทย

                นอกจากนี้ ยังติดตามได้ทางโซเชียลมีเดีย www.facebook.com/ThaiMFA และ www.twitter.com/mfathai  และยังมีการถ่ายทอดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 เป็นภาษาไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 เป็นภาษาอังกฤษ สถานีวิทยุ อสมท FM 100.5 และสถานีวิทยุสราญรมย์ AM 1575 เป็นภาษาไทย และยังสามารถรับฟังการอ่านคำตัดสินได้ทางเว็บไซต์ www.phraviharn.org และ saranrom.mfa.go.th เช่นเดียวกับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสามารถรับฟังผ่าน Mobile Application ของ อสมท. คือ MCOT App.

                นายเสข กล่าวต่อว่า ลำดับขั้นตอนการถ่ายทอดการอ่านคำพิจารณาคดี จะเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ทางช่อง 9 และ 11 จะถ่ายทอดรายการพิเศษก่อนการอ่านคำตัดสิน จากนั้นเวลา 16.00 น. ตามเวลาไทยหรือตรงกับเวลา 10.00 น. ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลจะเริ่มอ่านคำตัดสิน คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากศาลอ่านคำตัดสินเสร็จแล้ว จากนั้นประมาณ 20 นาที นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนสู้คดีฝ่ายไทย จะให้สัมภาษณ์สด หลังจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และอีกประมาณ 40 นาที จะมีรายการพิเศษสัมภาษณ์นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก่อนที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ จะแถลงสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง

                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเสข ได้เปิดให้คณะสื่อมวลชนเข้าชมศูนย์ข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศจัดขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ โดยได้พาชมห้องวอร์รูมกลาง ที่มีไว้ติดตามสถานการณ์และรับการถ่ายทอดสด ซึ่งภายในห้องมีการติดตั้งจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ไว้ 3 จอ จากนั้นพาชมห้องล่ามแปลภาษา ที่มีล่ามแปลทั้งหมด 2 คน ห้องเทคนิคของช่อง 9 และ 11 และห้องถ่ายทอดรายการพิเศษ ที่จัดขึ้นห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ

               อย่างไรก็ตาม นายเสข กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มธรรมยาตราได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษว่า เป็นสิทธิสามารถกระทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบประชาธิปไตยและกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มดังกล่าวและประชาชนในพื้นที่แล้ว เพื่อยืนยันว่า จะไม่เกิดการปะทะกันในพื้นที่ชายแดนแน่นอน

               "แม้ในระหว่างนี้ อาจมีข่าวสร้างความสับสนให้ประชาชนได้ ผมขอให้ประชาชนติดตามการถ่ายทอดสดและทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเผยแพร่ เพื่อป้องกันการเข้าใจคลาดเคลื่อน และย้ำให้ประชาชนอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ควรรอฟังคำตัดสิน โดยท่านวีรชัย จะแปลภาษากฎหมาย เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย” นายเสข กล่าว

               ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลโลกอ่านคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารแล้ว  โดยกล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้อง และร้องขอให้ศาลตีความปราสาทพระวิหาร และหลังจากยื่นคำร้องแล้ว กัมพูชาได้อ้างถึงคำร้องธรรมนูญศาล และร้องขอให้มีมาตการชั่วคราว เพราะมีการล่วงล้ำของประเทศไทยเข้าสู่ดินแดนกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ศาลก็มีมาตรการชั่วคราวให้แก่ทั้งสองฝ่ายในปี 2011

               โดยจะขอเริ่มต้นอ่านคำพิพาษาในวรรคที่ 14 ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเทือกเขาดงรัก ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพรมแดนสองประเทศคือ กัมพูชาตอนใต้ และไทยตอนเหนือ ในเดือน ก.พ.1904 กัมพูชาอยู่ใต้อารักขาของรัฐฝรั่งเศส ที่เทือกเขาดงรักเป็นไปตามสันปันน้ำ ซึ่งเป็นไปตามการประกาศของคณะกรรมการ เรื่องงานที่เสร็จสิ้่นคือ การเตรียมการและตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่ที่ได้รับ ซึ่งภารกิจนั้นมอบให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส 4 นาย ต่อมาในปี 1907 ทีมก็ได้เตรียมแผนที่ 17 ระหว่าง อินโดจีนกับไทย และมีแผนที่ขึ้นมา มีคณะกรรมการปักปันระหว่างอินโดจีนกับสยาม ทำให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา ปี 1953 ประเทศไทยได้ยึดครองปราสาทในปี 1954 แต่การเจราจาไม่เป็นผล ปี 1959 กัมพูชาร้องต่อศาล และไทยก็คัดค้านตามมา และศาลปฏิเสธการรับฟังของไทย และมีคำพิพาทเกิดขึ้นจริง ซึ่งเทือกเขาดงรักที่เรียกว่า แผนที่ภาคผนวก 1 นั้น อยู่ในกัมพูชา โดยมีผลบังคับระหว่างรัฐประเทศตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง แต่ในแง่การมีผลผูกพันเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศต้องยืนยันตามสันปันน้ำ

               ศาลพูดถึงข้อปฏิบัติการในคำพิพากษา ตัดสินว่า พระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยมีผลผูกพัน หรือในบริเวณข้างเคียง และมีพันธะกรณีที่ต้องนำวัตถุทั้งหลายที่ได้นำออกไปให้นำส่งคืน หลังจากมีคำพิพากษา 1962 ไทยก็ได้ถอนกำลังออกจากพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนาม หลังจากที่เป็นไปตามมติครม.ของไทยในวันที่ 11 ก.ค.1962 แต่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่

              ทั้งนี้ ศาลระบุว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหลังจากที่คำพิพกษา เป็นต้นมา ในมุมมองของไทยคือ ได้ออกจากบริเวณปราสาทและไทยได้กำหนดฝ่ายเดียวว่า เขตพระวิหารอยู่ที่ใดซึ่งตามคำพิพากษาในปี 1962 ได้กำหนดตำแหน่งเขตปราสาท ที่ไทยต้องถอนและได้จัดทำรั้ว ลวดหนาม ปราสาทไม่ได้เกินไปกว่าเส้นกำหนดตาม กัมพูชาประท้วงว่า ไทยถอนกำลังออกไปนั้นก็ได้ยอมรับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาจริง แต่กัมพูชาได้ร้องว่า ไทยสร้างรั้วรุกไปในดินแดนกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลและในมุมมองของกัมพูชาต้องการเสนอยูเนสโก แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองมีข้อพิพาทในความหมายและขอบเขตในคำพิพากษาปี 1962 จริง

               ศาลได้ดูสาระข้อพิพาทเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นไปตามขอบเขตอำนาจศาล ม.60 ตามธรรมนูญศาลหรือไม่และเห็นว่าสองฝ่ายขัดแย้งกัน ซึ่งในข้อพิพาท 1962 ที่บอกว่า คำพิพากษามีผลบังคับใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศ การพิจารณาครั้งนี้ศาลพิจารณาในจุดยืนของฝ่ายที่แสดงออกมาคือ ตามคำขอของกัมพูชา คือ มีสถานที่และได้ต่อสู้เพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็มีมุมมองต่างกันของขอบเขตและบริเวณ ดินแดน

               โดยข้อที่ 1 ปราสาทอยู่ในดินแดนกัมพูชา ท้ายที่สุดศาลก็ได้ดูเรื่องปัญหาที่สองฝ่ายเห็นต่างคือ พันธกรณีการถอนกำลังออกจากปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา และให้ข้อพิพากษาเรื่องการสื่อสารการเข้าใจของสองประเทศในการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการปะทะแสดงว่า มีความเข้าใจที่แตกต่างกันจริง คำพิพากษามีความสำคัญ 3 แง่ คือ คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินว่า มีข้อผูกพันเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 2.มีความสัมพันธ์กรณีความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณใดเป็นของกัมพูชา และ 3.มีข้อพิพาทในกรณีให้ไทยถอนกำลัง คือ เป็นเป็นไปตามข้อปฏิบัติข้อที่สอง

               เมื่อกัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องขอของกัมพูชา ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของทั้งสองฝ่าย ตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีอำนาจรับไว้พิจารณา ศาลจึงคำนึงถึงข้อ 60 ทำให้ขอบเขตมีความชัดเจนขึ้น ด้วยเหตุนี้ศาลจึงต้องดูอยู่ภายใต้ขอบเขตเคร่งครัด ไม่สามารถหยิบเรื่องที่ได้ข้อยุติไปแล้ว ดังนั้น การพิจารณาขอบเขตและความหมายจึงยึดถือข้อปฏิบัติที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ต่อสู้ว่า หลักการกฎหมายห้ามไม่ให้ศาลตีความเกินการตีความในปี 1962 และได้ถูกกล่าวย้ำในข้อต่อสู้ของคู่ความ อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 1962 ได้ และกัมพูชาเห็นว่า ข้อสรุปในปี 1962 ทำให้เห็นว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นต่างๆ ตามข้อวินิจฉัยในปี 1962 และขณะนั้นได้ใช้ข้อ 74 เป็นข้อบังคับในขณะนั้น ซึ่งไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา และบทสรุปเป็นเพียงบทสรุปของคำวินิจฉัย ไม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักปฏิบัติ

               ประเทศไทยยังได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของปี 1962 และเดือน ธ.ค. 2008 ที่มีเหตุการณ์ปะทุขึ้นมา คำพิพากษาไม่ถือว่า เป็นสนธิสัญญา หรือตราสารที่ผูกพันคู่ความ การตีความที่อาจจะมีผลกระทบกับพฤติกรรมต่อๆ ไป ดูได้จากสนธิสัญญา ณ กรุงเวียนนา การตีความ จะดูว่าศาลได้พิพากษาอะไร ขอบเขตและความหมายไม่อาจที่จะเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมของคู่ความ และการตีความศาลจะไม่พิจารณาในประเด็นนั้น มีลักษณะ 3 ประการในคำพิพากษา 1962

               1.พิจารณาว่า เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร และศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 โดยดูในคำคัดค้าน ว่า เป็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเขตแดน ดังนั้น ข้อเรียกร้อง 1-2 ของกัมพูชาในภาคผนวก 1 ศาลจะรับเท่าที่เป็นเหตุ โดยไม่มีการกล่าวถึงภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ไม่มีการแนบแผนที่ในคำพิพากษา ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างก็มีความสำคัญในการกำหนดเขตแดน

               2.แผนที่ภาคผนวก 1 ประเด็นที่แท้จริงคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดน ที่เป็นผลจากคณะกรรมการปักปันเขตแดน และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเสด็จของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนุภาพ ไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารก็เหมือนการยอมรับโดยอ้อมของสยามในอธิปไตย ถือเป็นการยืนยันของประเทศไทยในเส้นแบ่งแดนภาคผนวก 1 ในปี 1908 และ 1909 ยอมรับในแผนที่ และยอมรับว่า เส้นแบ่งเขตแดนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การยอมรับว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา ทำให้แผนที่ภาคผนวกอยู่ในสนธิสัญญา จึงเห็นว่าการตีความสนธิสัญญาจึงต้องชี้ขาดว่า เขตแบ่งตามแผนที่ 1

               3.ศาลมีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่เล็กมาก และในปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตพิพาทนั้นเล็กมาก และถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรขัดแยังกันในปี 1962 และทันทีหลังจากมีคำพิพากษา ศาลได้อธิบายว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ในทางทั่วไปถือว่า เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ศาลเห็นว่า ปราสาทอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา แต่ต้องกลับมาในบทปฏิบัติการ 2 และ 3 ที่เห็นว่า ผลของคำพิพากษาที่ 1 ตำรวจที่ปฏิบัติการในปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีการพูดถึงการถอนกำลัง และไม่มีการกล่าวถึงว่า หากถอนกำลังต้องถอนไปที่ใด พูดเพียงปราสาทและบริเวณใกล้เคียง ไม่มีการกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอน พูดเพียงว่าเจ้าหน้าที่ที่เฝ้ารักษาการหรือดูแล ศาลจึงเห็นว่า จะต้องเริ่มจากดูหลักฐานที่อยู่ต่อหน้าศาล และพยานหลักฐานเดียวคือ พยานหลักฐานที่ฝ่ายไทยได้นำเสนอ ซึ่งได้มีการเยือนไปยังปราสาทในปี 1961 แต่ในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานเชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายาม 1 คน และตำรวจ มีการตั้งแคมป์ และไม่ไกลมีบ้านพักอยู่ และทนายฝ่ายไทย กล่าวว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1

               ต่อมาปี 1962 กัมพูชาได้เสนอข้อต่อสู้ว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน แต่ศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้สันปันน้ำ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่า สำคัญ เพราะการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกันสันปันน้ำ การที่สถานีตำรวจตั้งใกล้สันปันน้ำ เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อศาลสั่งให้ไทยถอนกำลัง ก็น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆ ตามคำเบิกความของไทย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่อื่นใด จึงเห็นว่าควรยาวไปถึงสถานที่ตั้งมั่นของสถานีตำรวจ เส้นแบ่งเขตแดนตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่า เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ศาลจึงเห็นว่า ชัดเจนมากตามภูมิศาสตร์ ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้มีหน้าผาที่ชัน และตะวันตกเฉียงเหนือก็เป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาท ดังนั้น การทำความเข้าใจใกล้เคียงพระวิหาร ศาลจึงเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งเขตแดนตามภาคผนวก 1 และไม่ได้ระบุระยะที่ชัดเจน

              ศาลเห็นว่า เขตแดนกัมพูชาทางเหนือไม่เกินเส้นแบ่งภาคผนวก 1  ไม่ได้ระบุว่า เส้นทางชัดเจน แต่ชัดว่า ด่านตำรวจที่อยู่ใกล้เคียงกับแผนที่ภาคผนวก 1 ศาลพิจารณาพื้นที่จำกัดด้านตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า ถือเป็นพื้นที่กัมพูชา ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความเรื่องบริเวณใกล้เคียงที่ครอบคลุมชะง่อนผาและครอบคลุมกัมพูชาไม่ถือว่าภูมะเขืออยู่ในพระวิหาร ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของจว.นี้ แต่ก็ถือว่า ภูมะเขือเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาและขณะเดียวกันเล็กกว่าจะครอบคุลมทั้งพระวิหารและภูมะเขือ และภูมะเขือไม่ได้เป็นบริเวณสำคัญที่ศาลจะพิจารณา ไม่มีหลักฐานที่จะเสนอว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารหรือกำลังไทยในบริเวณนั้น และไม่มีการพูดว่า ภูมะเขือมีส่วนสำคัญที่ไทยต้องถอนกำลัง

              การตีความที่จะกำหนดจุดต่าง ๆ   ศาลได้พิจารณาว่า ศาลไม่ได้กำหนดสันปันน้ำ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลจะพิจารณา เนื่องจากศาลได้กำหนดว่า อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

              หลังการพิจาณาสรุปว่า คำพิพากษาปี  1962 ศาลไม่ได้พิจารณาที่กว้าง ดังนั้นไม่ได้มีความตั้งใจพิจารณาว่าพื้นที่ใกล้เคียงหรือภูมะเขืออยู่ในไทย การพิจารณา ปี 1962 ตามที่มีการร้องขอในกระบวนการพิจารณาได้มีการพิจารณาในส่วนของเขาพระวิหารด้านใต้   ตะวันออกใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีชะง่อนหน้าผา สองฝ่ายตกลงว่า พื้นที่อันนั้นอยุู่ในกัมพูชา และตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่าที่เป็นสิ่งแยกเขาพระวิหารออกจาภูมะเขือ ก่อนลาดลงสู่พื้นที่ราบกัมพูชา  ศาลพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่ข้อพิพาท และปี 1962  ไม่ได้บอกว่า อยู่ในไทยหรือกัมพูชาชะง่อนหน้าผาพระวิหารและภูมะเขือ มีพื้นที่ที่เริ่มสูงขึ้น เป็นเส้นของแผนที่

               อย่างไรก็ตาม สองฝ่ายไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้ คำพิากษา 1962  ศาลพิจารณาเรื่องวัดที่เกี่ยวข้องในข้อบทปฏิบัติการข้อสามและจะทำให้เข้าใจข้อบทปฏิบัติการ  ข้อพิจารณาในขณะนั้น เป็นเรื่องของอธิปไตย ศาลจึงได้ตัดสินใจในข้อปฏิบัติการที่  1  ว่า พระวิหารอยู่ในกัมพูชา ไทยมีหน้าที่ถอนกำลังทาหร และอื่นๆ ออกไปจากพื้นที่ของกัมพูชาในแถบพระวิหารและเรื่องข้อปฏิบัติที่สามที่ครอบคลุมพื้นที่ขยายเกินขอบเขตพระวิหาร 

               สำหรับอธิปไตยเหนือพื้นที่ก็จเป็นบริเวณที่อยู่ใต้อธิปไตยของกัมพูชาอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ และพื้นที่ดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของข้อพิพาทปี 1962  เรื่องอธิปไตยที่ศาลพิจารณาคือ คาบเกี่ยวทั้งที่พูดถึงในวรรคแรกและสาม ศาลสรุปว่า พื้นที่ที่พูดถึงในวรรค 1 และ 3  ปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชาและถือว่า เป็นการอ้างถืงวรรคสองและสามและพูดถึงบริเวณพระวิหาร ที่มีการร้องขอให้พิจารณา

               "ไทยได้รับว่า ไทยมีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะเคารพ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่ไทยบอกว่า เป็นพื้นที่อธิปไตยกัมพูชา สองฝ่ายต้องทำตามพันธกรณี ทั้งสองมีหน้าที่แก้ไขปัญหา ข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น  ภายใต้การทำงานสองฝ่ายไทยกัมพูชาต้องคุยกันเอง ยูเนสโกต้องดูแลในฐานะดูแลมรดกโลก   ก็สรุปว่า วรรคหนึ่งข้อบทปฏิบัติการทั้งหลาย กัมพูชามีอธิปไตยเหนือชะง่อนผาที่ต้องมีไว้ตาม 1962 ไทยต้องถอนทหารทั้งหมดออกไป ตามย่อหน้า 108 เป็นส่วนบทปฏิบัติการ ซึ่งศาลมีมติเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจรับฟังการตีความตามวันที่ 15 มิ.ย.1962  คือ กัมพูชามีอำนาจตามอธิปไตยในพระวิหาร ไทยต้องมีพันธกรณีถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ผู้เฝ้า"

 

http://www.komchadlu...111/172532.html
 

 

ศาลบอกว่า Annex1 อยู่ในสนธิสัญญาเชียวหรือ  ฟ้องฝรั่งเศสไปเลยว่าละเมิดอธิปไตย




#904240 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย ริวมะคุง on 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 08:16

1 ศาลบอกว่า ดูตามคำตัดสินเดิมตัวปราสาทเป้นของเขมร

2 ศาลบอกว่าให้ทหารไทยถอยออกจากบริเวณปราสาท

3 ศาลบอกว่าให้ ยูเนสโก้+ไทย+เขมร คุยกันว่าจะให้บริเวณปราสาท กว้างแค่ใหน

3.1 แต่ไม่เกินเส้น 1/200000

4 ศาลบอกว่าพื้นที่ทับซ้อนศาลไม่สามารถไปตัดสินให้ได้ว่า ต้องเท่านั้นเท่านี้ ศาลไม่มีอำนาจปักปันเขตเเดน

5 ศาลบอกว่ากลับบ้านไป ชิ่วๆไปเคลียกันเองบอกแนวทางให้แล้ว

6 ขั้นตอนนี้สำคัญสุด ผู้นำ2ประเทศตกลงเจรจาพื้นที่ ถ้ามีประเทศไดประเทศหนึ่งไม่ยอมรับ ไม่เซนต์เอกสารใดๆในการระบุพื้นที่บริเวณปราสาท ข้อบังคับนี้ก็จะไม่ผล

 

สรุปบ๋อแบ๋ครับถ้าเขมรเอา 1/200000 มาอ้างในพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมดตลอดแนวชายแดน เอาปืนใหญ่ยิงสวนตบปากแม่มเลย




#903659 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย bird on 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 20:18

 

ได้ความคืบหน้ามาอีกนิด...

 

ได้เรียนถามท่านผู้อาวุโสด้านกฎหมาย...ว่า

 

" วันนี้เห็นสื่อหลาย ๆ ช่อง กล่าวว่า เราเสียดินแดนแล้วหรือ อย่างน้อย ก็ประมาณ

1 - 1.5 ตร.กม.หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ก็พาดหัวตัวโต..ๆ เราแพ้คดี เสียดินแดน.."

 

ท่านได้อธิบายว่า..

 

" เราจะเสียดินแดน หรือไม่ ศาลไม่ได้บอก ไม่ได้กำหนด เพียงแต่บอกว่า

ให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันเอง...คำพิพากษาไม่ได้กล่าว ไม่ได้ระบุว่าต้องใช้

วิธีการใดในการกำหนด พื้นที่รอบตัวปราสาท...ย้ำ..คำพิพากษาไม่ได้

ระบุวิธีการในการกำหนดเส้นเขตแดน

 

เราจะเสียดินแดนหรือไม่...ขึ้นอยู่กับว่า ต่อจากนี้ไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายเรา

รัฐบาลของเรา จะแสดงจุดยืนในการกำหนดเส้นเขตแดนรอบตัวปราสาท

อย่างใด จะสามารถรักษาแผ่นดินของประเทศไทยไว้ได้ ณ จุดเดิมหรือไม่

 

ผู้ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องศึกษาคำพิพากษา 2505 ให้เข้าใจทุกตัวอักษร

ต้องหาที่ตั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบตามคำฟ้อง และจุดกำหนดเดิม

ให้ใกล้เคียงกับสภาพภูมิศาสตร์ในปัจจุบันให้มากที่สุด

 

รัฐบาลของเรา...จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ จะรักษาประโยชน์

ส่วนตัว วงศาคณาญาติ ทั้งที่เป็นเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย และที่เป็น

สัญชาติอื่น

 

ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า...ทหารของเราจะไม่ยอมให้เสียดินแดนแม้ตารางนิ้ว

กรมแผนที่ทหารของเรามีแต่คนเก่ง ๆ มีข้อมูลมากมาย การเสียดินแดน

คงเป็นไปได้ยาก...

 

ยกเว้นเสียจากว่า...

 

การเจรจาที่เกิดขึ้นจะมีบุคคลอันไม่พึงประสงค์เข้าไปเกี่ยวข้อง...

 

ซาตานในคราบของนักการเมือง "

 

ท่านกล่าวไว้เช่นนี้...

 

ตอนนี้ผมกังวล ตรงนี้มากครับ ...

 

ในคำพิพากษา ศาลได้หยิบเอาแผนที่ 1:200,000 มาอ้างอิง

กำหนดvicinity ของปราสาท ..แม้ว่าศาลจะบอกว่าไม่ยุ่งกับ

การกำหนดเขตแดน2ทั้ง2ฝ่าย แต่หากเราผลีผลามรับรอง

คำตัดสินครั้งนี้ไป ไม่เท่ากับเรารับเอาแผนที่1:200,000มาใช้

หรือครับ 

ไม่ใช่แต่ ในเฉพาะพื้นที่vicinity ปราสาทเท่านั้น หลังจากจบ

เรื่องคราวนี้ไป หากวันหนึ่งข้างหน้ากัมพูชาอ้างว่าเราได้รับรอง

การใช้แผนที่1:200,000ในการกำหนดพื้นที่แล้ว

(อ้างอิงการที่เรารับรองคำตัดสินในครั้งนี้)

เราต้องกำหนด พื้นที่อื่นในแผนที่นี้(รวม4.6ตร.กม.ด้วย)ตาม

แผนที่ 1:200,000ด้วยหรือไม่ ???...

 

 

พรุ่งนี้จะเรียนถามให้น่ะค่ะ...

 

bird..เอง ยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาเลยค่ะ รอฉบับแปลเป็นไทย ที่มีการรับรองค่ะ

เพื่อความแน่นอน...




#903580 รายการพิเศษ "ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร" (11 พ.ย. 56)

โดย bird on 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 19:38

ได้ความคืบหน้ามาอีกนิด...

 

ได้เรียนถามท่านผู้อาวุโสด้านกฎหมาย...ว่า

 

" วันนี้เห็นสื่อหลาย ๆ ช่อง กล่าวว่า เราเสียดินแดนแล้วหรือ อย่างน้อย ก็ประมาณ

1 - 1.5 ตร.กม.หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ ก็พาดหัวตัวโต..ๆ เราแพ้คดี เสียดินแดน.."

 

ท่านได้อธิบายว่า..

 

" เราจะเสียดินแดน หรือไม่ ศาลไม่ได้บอก ไม่ได้กำหนด เพียงแต่บอกว่า

ให้ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกันเอง...คำพิพากษาไม่ได้กล่าว ไม่ได้ระบุว่าต้องใช้

วิธีการใดในการกำหนด พื้นที่รอบตัวปราสาท...ย้ำ..คำพิพากษาไม่ได้

ระบุวิธีการในการกำหนดเส้นเขตแดน

 

เราจะเสียดินแดนหรือไม่...ขึ้นอยู่กับว่า ต่อจากนี้ไป เจ้าหน้าที่ฝ่ายเรา

รัฐบาลของเรา จะแสดงจุดยืนในการกำหนดเส้นเขตแดนรอบตัวปราสาท

อย่างใด จะสามารถรักษาแผ่นดินของประเทศไทยไว้ได้ ณ จุดเดิมหรือไม่

 

ผู้ที่รับผิดชอบ จำเป็นต้องศึกษาคำพิพากษา 2505 ให้เข้าใจทุกตัวอักษร

ต้องหาที่ตั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบตามคำฟ้อง และจุดกำหนดเดิม

ให้ใกล้เคียงกับสภาพภูมิศาสตร์ในปัจจุบันให้มากที่สุด

 

รัฐบาลของเรา...จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ จะรักษาประโยชน์

ส่วนตัว วงศาคณาญาติ ทั้งที่เป็นเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย และที่เป็น

สัญชาติอื่น

 

ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า...ทหารของเราจะไม่ยอมให้เสียดินแดนแม้ตารางนิ้ว

กรมแผนที่ทหารของเรามีแต่คนเก่ง ๆ มีข้อมูลมากมาย การเสียดินแดน

คงเป็นไปได้ยาก...

 

ยกเว้นเสียจากว่า...

 

การเจรจาที่เกิดขึ้นจะมีบุคคลอันไม่พึงประสงค์เข้าไปเกี่ยวข้อง...

 

ซาตานในคราบของนักการเมือง "

 

ท่านกล่าวไว้เช่นนี้...

 




#903159 ระวัง รับคำตัดสินของศาล อาจเป็นการเสียค่าโง่ให้เขมรได้

โดย roilee on 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:57

แผนที่ 1/200000 ไทยไม่ควรยอมรับนั้นชัดเจนครับ เพราะแผนที่นั้นกินแดนกว้างมาก แต่จากคำตัดสินเขาพูดแค่พื้นที่ตรงจุดปราสาทเท่านั้น

แถมย้ำด้วยว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดน และขอบเขตปราสาทก็ให้ไปตกลงกันเอาเอง ตรงนี้ผมว่ารับได้ แต่คนที่่จะไปตกลงกับเขมรนี่แหละ จะซื่อจะคดแค่ไหนเราไม่รู้ 

ตอนนี้ที่ต้องติดตามจริงๆก็คือเรื่องนี้จะมุบมิบทำกัน หรือจะต้องเอาเข้า่สภาตาม 190 และภาระอีกเรื่องก็อย่าลืมคือ ไล่พวกเขมรที่อยู่นอกเขตตัวปราสาทลงไปให้หมด

เราคนไทยมีหน้าที่เฝ้าระวังรัฐบาลของเราเองนี่แหละครับ ขนาดตอน ปชป.แข็งกับเขมรมาตลอดจนรบกัน ก็ยังโดนด่าว่าขายชาติ

รัฐบาลปัจจุบันอี๋อ๋อกับเขมรซะขนาดนั้น จะไม่ยกให้เขาฟรีๆหรือ 




#903056 ระวัง รับคำตัดสินของศาล อาจเป็นการเสียค่าโง่ให้เขมรได้

โดย DarkSwan on 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:12

มีเหตุผลทั้งคุณพอลฯ และคุณนักเีรียนฯ นั่นแหละครับ

 

อันที่จริงเท่าที่ติดตามมา ศาลก็บอกอย่างชัดเจนว่า 1 ต่อ 2 แสนนี่ ศาลจะใช้เพื่อตัดสินเรื่องตัวปราสาทเท่านั้น และไม่มีผลผูกพันกับเรื่องอื่นๆ หรือไปถึงเรื่องเขตแดน

แต่อย่างไรก้ดี ก็ควรจะมีการหารือให้ชัดเจนเสียก่อน ไม่จำเป็นต้องรีบออกตัวว่า จะปฏิบัติตามคร่า ทันทีคร่า

ควรหารือให้แน่ชัด และกำหนดท่าทีก่อนว่า จะเอายังไง

ครับผม




#859479 มาดูควายมันเงิบ...อยากด่าไม่ดูตาม้าตาเรือ โดนตบหัวทิ่ม

โดย sigree on 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 07:15

เขาคิดว่าเขารู้

 

แต่ไม่คิดว่ารู้ผิดๆ