Jump to content


zereza

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 26 เมษายน 2553
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2556 23:36
-----

#759418 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 12:31

 

 

 

ขออนุญาตเพิ่มอีกเรพตรงนี้นะครับ เพราะเป็นคนละหัวข้อกัน ในเรื่องเศรษฐกิจที่ ดร มั่นใจว่าเสียงส่วนใหญ่ก็ถูกต้องเสมออีกเช่นกัน

 

ผมยกตัวอย่างไม่ต้องไกลครับ ตลาดหุ้นไทยนี่แหละ ดร น่าจะพอทราบว่าในตลาดหุ้นไทยหรือทั่วโลกก็ตาม เมื่อใดที่ผู้ลงทุนกลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ของตลาดหุ้นแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่าอีกไม่นาน นักลงทุนคนนั้นจะต้องเจ็บตัว ขาดทุน ติดดอย ในเวลาไม่นานอย่างแน่นอน

 

ทำไมน่ะเหรอครับ เพราะในตลาดทุน ความเห็นของคนส่วนใหญ่ไร้ความหมาย ความเห็นของคนเงินใหญ่ต่างหากที่ชี้นำตลาดได้แม้ว่าจะเป็นคนส่วนน้อยของตลาดก็ตาม และคนส่วนน้อยพวกนี้มักจะชอบใจเสมอที่เสียงส่วนใหญ่มีความเห็นตรงข้ามกับพวกเขา และ พวกนี้เองก็ชี้นำคนส่วนใหญ่ในตลาดให้มีความเห็นตรงข้ามกับพวกเขาตลอดเวลาด้วย

 

ณ วินาทีแรกที่หุ้นตกกราวรูดร้อยจุด ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิดครับ

 

ขอบคุณครับ แต่อย่าเข้าใจผิดครับ
1. คนเล่นหุ้นไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในสังคมนะครับ เขาได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนก็จะเป็นอย่างนั้นแหละครับ และมักเป็น Imperfect Market ก็เลยแย่หน่อยนะครับ
2. ยกตัวอย่างที่ง่ายกว่านั้นก็ได้ครับ เช่น ในบริษัทหนึ่ง เขาถือมติของผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ใช่คนส่วนใหญ่เป็นต้นครับ กรณีนี้บริษัทจะไปทางไหน อยู่ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ใช่คนส่วนใหญ่

 

ดร ครับ สมมุติฐานของ ดร จะใช้ได้กับตลาดที่เป็น perfect market ใช่ไหมครับ ขอตัวอย่าง perfect market จริงๆบนโลกนี้มาหนึ่งตลาดครับ

 

 

ขอบคุณครับ

ผมขอความกรุณาไปอ่านบทความผมอีกรอบครับ ผมยกตัวอย่างไว้แล้วครับ ผมไม่ได้กวนนะครับ มันเป็นความจริงครับผม

 

ผมกำลังให้ความรู้ ดร นะครับ ไม่ได้กวนเหมือนกันครับ ดร บอกเองนะครับว่าการที่บุคคลได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนมันส่งผลต่อความเห็นของเสียงส่วนใหญ่ แล้ว ดร มั่นใจได้อย่างไรกับความเห็นส่วนใหญ่ในทุกกรณีว่าคนที่เรียกว่าตัวเองเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้รับความรู้ครบถ้วนเสมอในทุกครั้งของการตัดสินใจ

 

ถ้าสมมุติฐานเป็นจริงแต่ไม่สามารถใช้ได้จริงบนโลกใบนี้ ไม่ทราบว่า ดร จะยึดมันไว้ทำไมครับ




#759403 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 12:23

 

 

 

 

นี่ผมไม่โดนไล่กลับไปอ่านอะไรใช่ไหมครับเนี่ย แปลว่าสอบผ่านแล้วข้อนึงสินะครับ :lol:

 

จริงๆที่ผมยกตัวอย่างไปนี่มันชัดมากแล้วนะครับ แต่ถ้า ดร อยากได้สั้นๆได้ใจความ ไม่มีปัญหาครับ จัดให้ :)

 

"ในวันที่คนทั้งโลกคิดว่าสิ่งของบนโลกนี้เคลื่อนไหวไปตามยถากรรม ไม่สามารถทำนายอะไรได้ ณ วินาทีแรกที่กฏการเคลื่อนที่ของนิวตันถูกประกาศ ถามว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"ต่อมานักฟิสิกส์ทั้งโลกคิดว่ากฏของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ทุกอย่างได้ทั้งจักรวาล แต่การคำนวณที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของวงโคจรดาวพุธ นักฟิสิกส์เหล่านั้นลงความเห็นว่าคำนวณผิดด้วยซ้ำ ต่อมาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ใช้อธิบายการเคลื่อนส่ายของดาวพุธที่ผิดปกติได้ ณ วินาทีแรกที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกประกาศนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เหล่านั้นมีความเห็น ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"แค่ทฤษฎีสัมพัทธภาพถูกประกาศยังไม่หมดครับ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อทฤษฎีนี้ หาว่าไอน์สไตน์เพี้ยน บ้า สติเฟื่อง มีการล้อเลียนต่างๆออกสื่อมากมาย จนอีกเกือบร้อยปีต่อมาจึงมีการตรวจยืนยันสนามความโน้มถ่วงที่เป็นผลจากการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพว่าเป็นจริง ในช่วงเกือบร้อยปีนั้นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

เอาแค่นี้พอครับ ยาวกว่านี้เดี๋ยว ดร ว่าไม่สั้นพอ ทุกอย่างมีบันทึก วันเดือนปี เป็นลายลักษณ์อักษรในสารานุกรมวิทยาศาสตร์นะครับ เผื่อ ดร สนใจจะไปศึกษาต่อ ยิ่งถ้า ดร ว่างไปศึกษาต่อเรื่องวิวัฒนาการของการรักษาโรคติดเชื้อนะครับ จะยิ่งเห็นเลยว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดแทบจะเสมอในวงการแพทย์ การแพทย์พัฒนามาถึงทุกวันนี้ได้เกิดจากความเห็นต่างของคนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เป็นส่วนน้อยที่ค้นพบข้อเท็จจริงต่างหาก ในวงการวิทยาศาสตร์เสียงส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องเสมอไปครับ เมื่อมีข้อเท็จจริงใหม่ๆ ความเห็นเก่าแม้เป็นส่วนมากก็ผิดได้ครับ

 

แต่ถ้า ดร ไม่อยากอ่านที่ผมพิมพ์ไปยาวๆผมขอสรุปบรรทัดเดียวครับว่า

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง" ซตพ ครับ :rolleyes:

 

 

 

ขอบคุณครับ และสรุปได้ดีครับผม

แต่ผมยังต้องขอรบกวนให้คุณกลับไปอ่านบทความของผมให้ดีครับ

ลองอ่านดูเรื่องศิลปวิทยาการนะครับ

 

ดร กำลังจะบอกว่า ข้อสรุปของผมใช้ได้แต่เฉพาะเรื่องศิลปะ วิทยาการและวิทยาศาสตร์สินะครับ เท่ากับว่า เสียงของคนส่วนใหญ่คือความถูกต้องไม่ใช่สัจธรรมทุกกรณีใช่ไหมครับ

 

งั้นมาลองดูกรณีด้านสังคมที่ ดร มั่นใจดูบ้างครับว่าใช้ได้ทุกกรณีที่เกี่ยวกับด้านสังคมนะครับ สำหรับผมยังยืนยันข้อสรุปของผมเช่นเดิมครับ

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง"

 

ผมขอยกตัวอย่างการตัดสินคดีของศาลแล้วกันครับว่ามีผลต่อความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ขนาดไหน ยกตัวอย่างคดีฆาตกรรมที่ศาลเคยตัดสินว่าผู้ต้องหามีความผิดไปแล้ว จำคุกไปแล้ว สื่อประโคมข่าวไปเรียบร้อยแล้ว คดีฆาตกรรมทั่วไปไม่ชัดพอ ผมขอยกตัวอย่างคดีสะเทือนขวัญที่เป็นข่าวดีกว่าครับ หลังจากสื่อเสนอข่าวออกไปว่าจับตัวฆาตกรได้ มีการชี้นำอย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่ แถมศาลตัดสินเสร็จสรรพว่าผู้ต้องหามีความผิด แถมจำคุกไปแล้วด้วย

 

ต่อมาภายหลังมีการตรวจสอบหลักฐานใหม่แล้วพบว่าผู้ต้องหาไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้และพ้นความผิด ถามว่าวินาทีแรกที่ศาลกลับคำตัดสินว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://fb.kapook.com...ight-63418.html

 

หรือ ดร จะ ลองไปถามความเห็นจากคนทั่วไปว่าคนที่ถูกจำคุกมาแล้ว 15 ปีในข้อหาฆ่าคนตายมีความผิดจริงหรือไม่ก็ได้นะครับ ไม่เชื่อ ดร ลองทำครับว่าคนส่วนใหญ่จะมีความเห็นว่าอะไร ผู้ต้องหาผิดจริงหรือไม่ หลัง ดร ถามความคิดเห็นแล้ว มาดูข่าวนี้ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://www.matichon....pid=01&catid=01

 

จริงๆมีตัวอย่างการตัดสินคดีอีกมากมายทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้ความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือต่อต้านคำตัดสินก็ตาม สุดท้ายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ความเห็นของคนส่วนใหญ่จะหมดความหมายอย่างสิ้นเชิงครับ

 

ที่จริงแล้วผมไม่ค่อยเข้าใจ ดร นักนะครับว่าไปตั้งข้อยกเว้นด้านศิลปะวิทยาการทำไม ทั้งๆที่นั่นคือแหล่งที่ดีที่สุดในการยืนยันสมมุติฐานของ ดร นะครับ นักวิทยาศาสตร์มีระดับความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกัน ดังนั้นในการกำหนดความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ปัจจัยเรื่องความรู้ ระดับการศึกษาจึงมีผลน้อยมาก

 

หรือ ดร คิดว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่ดีคือความเห็นของคนทั่วไปที่ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม ติดตามข่าวสารเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตามอย่างนั้นหรือครับ :huh:

 

 

 

 

 

นี่ผมไม่โดนไล่กลับไปอ่านอะไรใช่ไหมครับเนี่ย แปลว่าสอบผ่านแล้วข้อนึงสินะครับ :lol:

 

จริงๆที่ผมยกตัวอย่างไปนี่มันชัดมากแล้วนะครับ แต่ถ้า ดร อยากได้สั้นๆได้ใจความ ไม่มีปัญหาครับ จัดให้ :)

 

"ในวันที่คนทั้งโลกคิดว่าสิ่งของบนโลกนี้เคลื่อนไหวไปตามยถากรรม ไม่สามารถทำนายอะไรได้ ณ วินาทีแรกที่กฏการเคลื่อนที่ของนิวตันถูกประกาศ ถามว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"ต่อมานักฟิสิกส์ทั้งโลกคิดว่ากฏของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ทุกอย่างได้ทั้งจักรวาล แต่การคำนวณที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของวงโคจรดาวพุธ นักฟิสิกส์เหล่านั้นลงความเห็นว่าคำนวณผิดด้วยซ้ำ ต่อมาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ใช้อธิบายการเคลื่อนส่ายของดาวพุธที่ผิดปกติได้ ณ วินาทีแรกที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกประกาศนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เหล่านั้นมีความเห็น ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"แค่ทฤษฎีสัมพัทธภาพถูกประกาศยังไม่หมดครับ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อทฤษฎีนี้ หาว่าไอน์สไตน์เพี้ยน บ้า สติเฟื่อง มีการล้อเลียนต่างๆออกสื่อมากมาย จนอีกเกือบร้อยปีต่อมาจึงมีการตรวจยืนยันสนามความโน้มถ่วงที่เป็นผลจากการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพว่าเป็นจริง ในช่วงเกือบร้อยปีนั้นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

เอาแค่นี้พอครับ ยาวกว่านี้เดี๋ยว ดร ว่าไม่สั้นพอ ทุกอย่างมีบันทึก วันเดือนปี เป็นลายลักษณ์อักษรในสารานุกรมวิทยาศาสตร์นะครับ เผื่อ ดร สนใจจะไปศึกษาต่อ ยิ่งถ้า ดร ว่างไปศึกษาต่อเรื่องวิวัฒนาการของการรักษาโรคติดเชื้อนะครับ จะยิ่งเห็นเลยว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดแทบจะเสมอในวงการแพทย์ การแพทย์พัฒนามาถึงทุกวันนี้ได้เกิดจากความเห็นต่างของคนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เป็นส่วนน้อยที่ค้นพบข้อเท็จจริงต่างหาก ในวงการวิทยาศาสตร์เสียงส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องเสมอไปครับ เมื่อมีข้อเท็จจริงใหม่ๆ ความเห็นเก่าแม้เป็นส่วนมากก็ผิดได้ครับ

 

แต่ถ้า ดร ไม่อยากอ่านที่ผมพิมพ์ไปยาวๆผมขอสรุปบรรทัดเดียวครับว่า

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง" ซตพ ครับ :rolleyes:

 

 

 

ขอบคุณครับ และสรุปได้ดีครับผม

แต่ผมยังต้องขอรบกวนให้คุณกลับไปอ่านบทความของผมให้ดีครับ

ลองอ่านดูเรื่องศิลปวิทยาการนะครับ

 

ดร กำลังจะบอกว่า ข้อสรุปของผมใช้ได้แต่เฉพาะเรื่องศิลปะ วิทยาการและวิทยาศาสตร์สินะครับ เท่ากับว่า เสียงของคนส่วนใหญ่คือความถูกต้องไม่ใช่สัจธรรมทุกกรณีใช่ไหมครับ

 

งั้นมาลองดูกรณีด้านสังคมที่ ดร มั่นใจดูบ้างครับว่าใช้ได้ทุกกรณีที่เกี่ยวกับด้านสังคมนะครับ สำหรับผมยังยืนยันข้อสรุปของผมเช่นเดิมครับ

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง"

 

ผมขอยกตัวอย่างการตัดสินคดีของศาลแล้วกันครับว่ามีผลต่อความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ขนาดไหน ยกตัวอย่างคดีฆาตกรรมที่ศาลเคยตัดสินว่าผู้ต้องหามีความผิดไปแล้ว จำคุกไปแล้ว สื่อประโคมข่าวไปเรียบร้อยแล้ว คดีฆาตกรรมทั่วไปไม่ชัดพอ ผมขอยกตัวอย่างคดีสะเทือนขวัญที่เป็นข่าวดีกว่าครับ หลังจากสื่อเสนอข่าวออกไปว่าจับตัวฆาตกรได้ มีการชี้นำอย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่ แถมศาลตัดสินเสร็จสรรพว่าผู้ต้องหามีความผิด แถมจำคุกไปแล้วด้วย

 

ต่อมาภายหลังมีการตรวจสอบหลักฐานใหม่แล้วพบว่าผู้ต้องหาไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้และพ้นความผิด ถามว่าวินาทีแรกที่ศาลกลับคำตัดสินว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://fb.kapook.com...ight-63418.html

 

หรือ ดร จะ ลองไปถามความเห็นจากคนทั่วไปว่าคนที่ถูกจำคุกมาแล้ว 15 ปีในข้อหาฆ่าคนตายมีความผิดจริงหรือไม่ก็ได้นะครับ ไม่เชื่อ ดร ลองทำครับว่าคนส่วนใหญ่จะมีความเห็นว่าอะไร ผู้ต้องหาผิดจริงหรือไม่ หลัง ดร ถามความคิดเห็นแล้ว มาดูข่าวนี้ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://www.matichon....pid=01&catid=01

 

จริงๆมีตัวอย่างการตัดสินคดีอีกมากมายทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้ความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือต่อต้านคำตัดสินก็ตาม สุดท้ายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ความเห็นของคนส่วนใหญ่จะหมดความหมายอย่างสิ้นเชิงครับ

 

ที่จริงแล้วผมไม่ค่อยเข้าใจ ดร นักนะครับว่าไปตั้งข้อยกเว้นด้านศิลปะวิทยาการทำไม ทั้งๆที่นั่นคือแหล่งที่ดีที่สุดในการยืนยันสมมุติฐานของ ดร นะครับ นักวิทยาศาสตร์มีระดับความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกัน ดังนั้นในการกำหนดความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ปัจจัยเรื่องความรู้ ระดับการศึกษาจึงมีผลน้อยมาก

 

หรือ ดร คิดว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่ดีคือความเห็นของคนทั่วไปที่ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม ติดตามข่าวสารเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตามอย่างนั้นหรือครับ :huh:

 

 

ผมเขียนไว้ชัดเจนเลยครับ เรื่องศิลปวิทยาการ ถามเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ครับ ชาวบ้านที่ไหนจะรู้วิธีการสร้างจรวดไปดวงจันทร์ล่ะครับ ทีนี้เรื่องศาลตัดสินผิด ไม่ได้เกี่ยวกับคนส่วนใหญ่เลยครับผม

 

ดร ครับ ผมไม่ได้บอกให้ไปถามคนทั่วไปเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพครับ ที่ให้ดูคือความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่มีความรู้ ความเข้าใจแล้วครับ ว่ามันใช้ไม่ได้แม้กับในเรื่องที่ตัวเองมีความรู้อยู่

 

ดร ยกตัวอย่างของตัวเองมาดีกว่านะครับ ว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ใช้ได้กับกรณีไหนบ้าง ผมว่าข้อยกเว้นของ ดร มันคลุมไปจะครบทุกเรื่องแล้วครับ


  • Gop likes this


#759313 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 10:34

 

นี่ผมไม่โดนไล่กลับไปอ่านอะไรใช่ไหมครับเนี่ย แปลว่าสอบผ่านแล้วข้อนึงสินะครับ :lol:

 

จริงๆที่ผมยกตัวอย่างไปนี่มันชัดมากแล้วนะครับ แต่ถ้า ดร อยากได้สั้นๆได้ใจความ ไม่มีปัญหาครับ จัดให้ :)

 

"ในวันที่คนทั้งโลกคิดว่าสิ่งของบนโลกนี้เคลื่อนไหวไปตามยถากรรม ไม่สามารถทำนายอะไรได้ ณ วินาทีแรกที่กฏการเคลื่อนที่ของนิวตันถูกประกาศ ถามว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"ต่อมานักฟิสิกส์ทั้งโลกคิดว่ากฏของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ทุกอย่างได้ทั้งจักรวาล แต่การคำนวณที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของวงโคจรดาวพุธ นักฟิสิกส์เหล่านั้นลงความเห็นว่าคำนวณผิดด้วยซ้ำ ต่อมาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ใช้อธิบายการเคลื่อนส่ายของดาวพุธที่ผิดปกติได้ ณ วินาทีแรกที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกประกาศนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เหล่านั้นมีความเห็น ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"แค่ทฤษฎีสัมพัทธภาพถูกประกาศยังไม่หมดครับ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อทฤษฎีนี้ หาว่าไอน์สไตน์เพี้ยน บ้า สติเฟื่อง มีการล้อเลียนต่างๆออกสื่อมากมาย จนอีกเกือบร้อยปีต่อมาจึงมีการตรวจยืนยันสนามความโน้มถ่วงที่เป็นผลจากการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพว่าเป็นจริง ในช่วงเกือบร้อยปีนั้นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

เอาแค่นี้พอครับ ยาวกว่านี้เดี๋ยว ดร ว่าไม่สั้นพอ ทุกอย่างมีบันทึก วันเดือนปี เป็นลายลักษณ์อักษรในสารานุกรมวิทยาศาสตร์นะครับ เผื่อ ดร สนใจจะไปศึกษาต่อ ยิ่งถ้า ดร ว่างไปศึกษาต่อเรื่องวิวัฒนาการของการรักษาโรคติดเชื้อนะครับ จะยิ่งเห็นเลยว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดแทบจะเสมอในวงการแพทย์ การแพทย์พัฒนามาถึงทุกวันนี้ได้เกิดจากความเห็นต่างของคนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เป็นส่วนน้อยที่ค้นพบข้อเท็จจริงต่างหาก ในวงการวิทยาศาสตร์เสียงส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องเสมอไปครับ เมื่อมีข้อเท็จจริงใหม่ๆ ความเห็นเก่าแม้เป็นส่วนมากก็ผิดได้ครับ

 

แต่ถ้า ดร ไม่อยากอ่านที่ผมพิมพ์ไปยาวๆผมขอสรุปบรรทัดเดียวครับว่า

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง" ซตพ ครับ :rolleyes:

 

 

 

ขอบคุณครับ และสรุปได้ดีครับผม

แต่ผมยังต้องขอรบกวนให้คุณกลับไปอ่านบทความของผมให้ดีครับ

ลองอ่านดูเรื่องศิลปวิทยาการนะครับ

 

ดร กำลังจะบอกว่า ข้อสรุปของผมใช้ได้แต่เฉพาะเรื่องศิลปะ วิทยาการและวิทยาศาสตร์สินะครับ เท่ากับว่า เสียงของคนส่วนใหญ่คือความถูกต้องไม่ใช่สัจธรรมทุกกรณีใช่ไหมครับ

 

งั้นมาลองดูกรณีด้านสังคมที่ ดร มั่นใจดูบ้างครับว่าใช้ได้ทุกกรณีที่เกี่ยวกับด้านสังคมนะครับ สำหรับผมยังยืนยันข้อสรุปของผมเช่นเดิมครับ

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง"

 

ผมขอยกตัวอย่างการตัดสินคดีของศาลแล้วกันครับว่ามีผลต่อความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ขนาดไหน ยกตัวอย่างคดีฆาตกรรมที่ศาลเคยตัดสินว่าผู้ต้องหามีความผิดไปแล้ว จำคุกไปแล้ว สื่อประโคมข่าวไปเรียบร้อยแล้ว คดีฆาตกรรมทั่วไปไม่ชัดพอ ผมขอยกตัวอย่างคดีสะเทือนขวัญที่เป็นข่าวดีกว่าครับ หลังจากสื่อเสนอข่าวออกไปว่าจับตัวฆาตกรได้ มีการชี้นำอย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่ แถมศาลตัดสินเสร็จสรรพว่าผู้ต้องหามีความผิด แถมจำคุกไปแล้วด้วย

 

ต่อมาภายหลังมีการตรวจสอบหลักฐานใหม่แล้วพบว่าผู้ต้องหาไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้และพ้นความผิด ถามว่าวินาทีแรกที่ศาลกลับคำตัดสินว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิด ความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://fb.kapook.com...ight-63418.html

 

หรือ ดร จะ ลองไปถามความเห็นจากคนทั่วไปว่าคนที่ถูกจำคุกมาแล้ว 15 ปีในข้อหาฆ่าคนตายมีความผิดจริงหรือไม่ก็ได้นะครับ ไม่เชื่อ ดร ลองทำครับว่าคนส่วนใหญ่จะมีความเห็นว่าอะไร ผู้ต้องหาผิดจริงหรือไม่ หลัง ดร ถามความคิดเห็นแล้ว มาดูข่าวนี้ครับ

 

ลิงค์ข่าว http://www.matichon....pid=01&catid=01

 

จริงๆมีตัวอย่างการตัดสินคดีอีกมากมายทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้ความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือต่อต้านคำตัดสินก็ตาม สุดท้ายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ความเห็นของคนส่วนใหญ่จะหมดความหมายอย่างสิ้นเชิงครับ

 

ที่จริงแล้วผมไม่ค่อยเข้าใจ ดร นักนะครับว่าไปตั้งข้อยกเว้นด้านศิลปะวิทยาการทำไม ทั้งๆที่นั่นคือแหล่งที่ดีที่สุดในการยืนยันสมมุติฐานของ ดร นะครับ นักวิทยาศาสตร์มีระดับความรู้พื้นฐานใกล้เคียงกัน ดังนั้นในการกำหนดความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ปัจจัยเรื่องความรู้ ระดับการศึกษาจึงมีผลน้อยมาก

 

หรือ ดร คิดว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่ดีคือความเห็นของคนทั่วไปที่ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม ติดตามข่าวสารเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตาม มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆหรือไม่ก็ตามอย่างนั้นหรือครับ :huh:




#759015 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22:42

 

 

 

 

 

ดร ครับ วลีของ ดร ที่ว่า เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนี่ ดร ให้สถานะมันเป็นอะไรครับ ระหว่างกฎ กับ ทฤษฎี หรือเป็นเพียงแค่สมมุติฐานของ ดร เองครับ
ระดับ ดร คงรู้นะครับว่าต่างกันยังไง ผมขอถามสั้นๆแค่นี้ครับ

มันเป็นประโยคบอกเล่าครับไม่ใช่วลีผมรู้ ผมถึงเขียนไว้อย่างกระจ่างที่หน้าแรก ไปอ่านดูนะครับ ระหว่างกฎ ข้อยกเว้น Outliers น่ะครับ
ดร ครับ ผมอ่านแล้วผมถึงตั้งคำถามกับ ดร ไงครับ ประโยคบอกเล่าของ ดร มันมีสถานะเป็นแค่"ไม่เกินทฤษฎี"เพราะมันมี exception , fault and error ที่สำคัญข้อมูลทางสถิติยืนยันก็ไม่มี ผมให้ถึงขั้นเป็นทฤษฎีนี่ก็สูงเกินไปแล้วครับ
ผมไม่เข้าใจว่า ดร จะมาเถียงหน้าดำคร่ำเครียดกับคนอื่นทำไมในเมื่อมันไม่ใช่"กฏ"ที่ไม่มีข้อยกเว้นในทุกกรณี เพราะ ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร "บอกเล่า"มานั้นมันมีบางเรื่องที่ใช้คำบอกเล่านี้ไม่ได้อยู่ หรือถ้า ดร คิดว่ามันเป็นกฏของ ดร พรโชคชัย ดร ต้องหาข้อมูลสนับสนุนมามากกว่านี้ครับ โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ผล สถิตินะครับ ไม่เอาโพล
1.คำว่าเสียงส่วนใหญ่ใช้โดดๆไม่ได้นะครับ เพราะมันเป็นสัมพัทธ์ เวลาใช้ต้องใช้คำว่า"เสียงส่วนใหญ่ของ..." อะไรก็ว่าไป ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องจำกัดความก็คือ population number คือจำนวนประชากรที่จะเอามาใช้อ้างอิงว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ว่ามันอิงกับอะไร ซึ่งระดับ ดร ก็คงต้องรู้อยู่แล้วว่าการเลือกกลุ่มประชากรมาใช้มีผลกับเสียงส่วนใหญ่แน่นอน
2.การจะกำหนดว่าใครอยู่ในกลุ่มที่จะเอาไว้ใช้อ้างอิง มันต้องมี Inclusion & Exclusion criteria คือการกำหนดว่าจากกลุ่มประชากรทั้งหมดในจักรวาล เราจะนับใครบ้างเป็นสมาชิกของกลุ่มอ้างอิง เพราะนี่ก็ส่งผลโดยตรงกับเสียงข้างมากที่ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างซัก 100 ปีก่อน ถามว่าใครสร้างโลก ถ้า ดร ตัดนักวิทยาศาสตร์ออกไป เสียงส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าพระเจ้าสร้าง แต่ถ้าตัดพวกศาสนจักรออกไปหมด เสียงส่วนใหญ่ก็จะออกมาว่าโลกเกิดจากฝุ่นในจักรวาล ดังนั้นการระบุเสียงส่วนใหญ่นอกจากต้องระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ยังต้องระบุว่าเราตัดใครออกไปบ้าง หรือในกลุ่มอ้างอิงมีใครบ้างด้วยเสมอ
3.เมื่อได้สองข้อข้างต้้นจึงจะมาเข้าวิธีการในการหาเสียงข้างมาก Method ซึ่งต้องตรงไปตรงมา และต้องให้ได้คำตอบที่แท้จริงไม่ใช่คำตอบที่สามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ แม้แต่การถามคำถามแล้วให้คนเลือกตอบแบบโพลสำรวจก็อาจใช้ไม่ได้ เพราะบางทีคำตอบที่ถูกต้องอาจไม่ได้อยู่ในตัวเลือกของผู้ถามก็ได้ การเลือกวิธีการก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบางเผ่าในแอฟฟริกา มีวิธียืนยันว่าคนในเผ่าโตเป็นผู้ใหญ่หรือยังด้วยการให้โดดพุ่งลงจากหอคอยที่สูงประมาณตึกสามชั้น ถ้าใครโดดสำเร็จก็จะได้รับการยอมรับเป็นผู้ใหญ่ ลองให้คนอายุเท่ากัน 10 คนโดด 6 ใน 10 ผ่าน อีก 4 คน ขาหัก คอหักตาย ดร แปลความว่า 4 คนนั้นไม่เป็นผู้ใหญ่ไหมครับ
"ดังนั้นคำว่าเสียงส่วนใหญ่เมื่อระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ระบุสมาชิกแล้ว ยังต้องระบุวิธีการให้ชัดเจน สุจริต และ ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องจริงๆด้วย" จึงจะสามารถใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ได้
ทีนี้มาดูโพลที่สำรวจจะให้ ดร อยู่ในบอร์ดไหม จะว่าไปมันไม่มีกฏข้อไหนของบอร์ดบอกไว้ซักนิดว่าโพลออกมาว่าให้ออกก็ต้องออก ดร ไม่ต้องตีโพยตีพายไปครับ แต่นี่สมาชิกกำลังแสดงตัวอย่างจริงให้เห็นว่าผลของการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ระบุความสัมพัทธ์ 3 ข้อที่ผมกล่าวไว้จะมีผลอย่างไร และที่สมาชิกพยายามบี้ ดร ก็คือในการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ดร ได้เคยมีการระบุกลุ่มอ้างอิง สมาชิกกลุ่ม และวิธีการไว้"ก่อนหน้า"การถามเสียงส่วนใหญ่ทุกครั้งหรือไม่?
ผมใช้คำว่า"ก่อนหน้า"การสำรวจเพราะเรื่องนี้ต้องถูกระบุให้ชัดเจนก่อนเสมอครับ "มิเช่นนั้นจะเป็นการอ้างเสียงส่วนใหญ่โดยทุจริต" มีการเลือกตัดกลุ่มประชากรที่ไม่ชอบใจออกจนเสียงส่วนน้อยที่ไม่ถูกต้องกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้
สมาชิกเค้าถึงถาม ดร ไงครับ ว่า ดร เคยกระทำการทุจริตในการอ้างเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ครับ?




ตอบ

ดร ครับ ผมอ่านแล้วผมถึงตั้งคำถามกับ ดร ไงครับ ประโยคบอกเล่าของ ดร มันมีสถานะเป็นแค่"ไม่เกินทฤษฎี"เพราะมันมี exception , fault and error ที่สำคัญข้อมูลทางสถิติยืนยันก็ไม่มี ผมให้ถึงขั้นเป็นทฤษฎีนี่ก็สูงเกินไปแล้วครับ

---- อันนี้อารัมภบท คงไม่ต้องตอบนะครับ


ผมไม่เข้าใจว่า ดร จะมาเถียงหน้าดำคร่ำเครียดกับคนอื่นทำไมในเมื่อมันไม่ใช่"กฏ"ที่ไม่มีข้อยกเว้นในทุกกรณี เพราะ ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร "บอกเล่า"มานั้นมันมีบางเรื่องที่ใช้คำบอกเล่านี้ไม่ได้อยู่ หรือถ้า ดร คิดว่ามันเป็นกฏของ ดร พรโชคชัย ดร ต้องหาข้อมูลสนับสนุนมามากกว่านี้ครับ โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ผล สถิตินะครับ ไม่เอาโพล
---- ไม่ได้หน้าดำคร่ำเครียดเลยครับ ผมมาให้การศึกษาครับ
---- กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้นทั้งนั้นแหละครับ แต่ผมเห็นว่า เราไม่ถือกฎจะยกเว้นท่าเดียว เลยย้ำให้รู้ว่าอย่าลืมกฎที่ว่า "เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง" ครับผม
1.คำว่าเสียงส่วนใหญ่ใช้โดดๆไม่ได้นะครับ เพราะมันเป็นสัมพัทธ์ เวลาใช้ต้องใช้คำว่า"เสียงส่วนใหญ่ของ..." อะไรก็ว่าไป ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องจำกัดความก็คือ population number คือจำนวนประชากรที่จะเอามาใช้อ้างอิงว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ว่ามันอิงกับอะไร ซึ่งระดับ ดร ก็คงต้องรู้อยู่แล้วว่าการเลือกกลุ่มประชากรมาใช้มีผลกับเสียงส่วนใหญ่แน่นอน

---- เช่น เสียงของคนไทยทั้งประเทศ คนส่วนใหญ่ในมลรัฐ (โปรดไปอ่านที่ผมเขียนกรณีแคลิฟอร์เนีย)


2.การจะกำหนดว่าใครอยู่ในกลุ่มที่จะเอาไว้ใช้อ้างอิง มันต้องมี Inclusion & Exclusion criteria คือการกำหนดว่าจากกลุ่มประชากรทั้งหมดในจักรวาล เราจะนับใครบ้างเป็นสมาชิกของกลุ่มอ้างอิง เพราะนี่ก็ส่งผลโดยตรงกับเสียงข้างมากที่ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างซัก 100 ปีก่อน ถามว่าใครสร้างโลก ถ้า ดร ตัดนักวิทยาศาสตร์ออกไป เสียงส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าพระเจ้าสร้าง แต่ถ้าตัดพวกศาสนจักรออกไปหมด เสียงส่วนใหญ่ก็จะออกมาว่าโลกเกิดจากฝุ่นในจักรวาล ดังนั้นการระบุเสียงส่วนใหญ่นอกจากต้องระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ยังต้องระบุว่าเราตัดใครออกไปบ้าง หรือในกลุ่มอ้างอิงมีใครบ้างด้วยเสมอ---- อย่าสมมติ เอาเรื่องจริงไปเลยครับ ว่าเสียงส่วนใหญ่ไหนผิดบ้างครับ ผมเฝ้าถามมานาน ไม่มีใครตอบได้ครับ



3.เมื่อได้สองข้อข้างต้้นจึงจะมาเข้าวิธีการในการหาเสียงข้างมาก Method ซึ่งต้องตรงไปตรงมา และต้องให้ได้คำตอบที่แท้จริงไม่ใช่คำตอบที่สามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ แม้แต่การถามคำถามแล้วให้คนเลือกตอบแบบโพลสำรวจก็อาจใช้ไม่ได้ เพราะบางทีคำตอบที่ถูกต้องอาจไม่ได้อยู่ในตัวเลือกของผู้ถามก็ได้ การเลือกวิธีการก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบางเผ่าในแอฟฟริกา มีวิธียืนยันว่าคนในเผ่าโตเป็นผู้ใหญ่หรือยังด้วยการให้โดดพุ่งลงจากหอคอยที่สูงประมาณตึกสามชั้น ถ้าใครโดดสำเร็จก็จะได้รับการยอมรับเป็นผู้ใหญ่ ลองให้คนอายุเท่ากัน 10 คนโดด 6 ใน 10 ผ่าน อีก 4 คน ขาหัก คอหักตาย ดร แปลความว่า 4 คนนั้นไม่เป็นผู้ใหญ่ไหมครับ
---- นั่นเป็นวิธีปฎิบัติของคนส่วนน้อยในการวัดความเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นที่ยอมรับในเชิงสากล ขอให้กลับไปอ่านเรื่องโจร ที่ผมเขียนไว้ครับ


"ดังนั้นคำว่าเสียงส่วนใหญ่เมื่อระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ระบุสมาชิกแล้ว ยังต้องระบุวิธีการให้ชัดเจน สุจริต และ ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องจริงๆด้วย" จึงจะสามารถใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ได้
----- เอาง่าย ๆ แค่ว่า มีกรณีไหนที่เสียงส่วนใหญ่ผิด ก็แล้วกันนะครับ จะได้ไม่ต้องมาตีความแบบศรีธนชัยไปเรื่อยน่ะครับ

ทีนี้มาดูโพลที่สำรวจจะให้ ดร อยู่ในบอร์ดไหม จะว่าไปมันไม่มีกฏข้อไหนของบอร์ดบอกไว้ซักนิดว่าโพลออกมาว่าให้ออกก็ต้องออก ดร ไม่ต้องตีโพยตีพายไปครับ แต่นี่สมาชิกกำลังแสดงตัวอย่างจริงให้เห็นว่าผลของการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ระบุความสัมพัทธ์ 3 ข้อที่ผมกล่าวไว้จะมีผลอย่างไร และที่สมาชิกพยายามบี้ ดร ก็คือในการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ดร ได้เคยมีการระบุกลุ่มอ้างอิง สมาชิกกลุ่ม และวิธีการไว้"ก่อนหน้า"การถามเสียงส่วนใหญ่ทุกครั้งหรือไม่?---- มันไม่มีข้อไหนเลยที่ MOD ต้องปฏิบัติตาม poll ยกเว้นผมจะทำผิดกติกา แค่ไม่เป็นที่ชอบหน้าของคนส่วนน้อยที่มีมากกว่าผมคนเดียว จะถือว่าเป็นคนส่วนใหญ่ไม่ได้ พวกเขาเป็นได้แค่กฎหมู่ครับผม


ผมใช้คำว่า"ก่อนหน้า"การสำรวจเพราะเรื่องนี้ต้องถูกระบุให้ชัดเจนก่อนเสมอครับ "มิเช่นนั้นจะเป็นการอ้างเสียงส่วนใหญ่โดยทุจริต" มีการเลือกตัดกลุ่มประชากรที่ไม่ชอบใจออกจนเสียงส่วนน้อยที่ไม่ถูกต้องกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้
---- ไม่รู้คุณพูดอะไรนะครับ เอาเป็นว่าเอาเนื้อ ๆ ก็แล้วกันนะครับ

สมาชิกเค้าถึงถาม ดร ไงครับ ว่า ดร เคยกระทำการทุจริตในการอ้างเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ครับ?
---- บ่เคยครับ
พอจะเข้าใจสมาชิกท่านอื่นแล้ว 55 แต่ก็ขอบคุณที่อุตส่าห์มาให้ความรู้ครับ ไม่รู้ว่า ดร ทราบหรือไม่ว่าหากถูกระบุว่าเป็นกฏจะต้องใช้ได้จริงในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่เอาเถอะครับ นิยามของนักวิทยาศาสตร์กับสายที่ ดร เรียนมาคงไม่เหมือนกัน ผมให้เป็นความรู้ไว้แล้วกันครับ เผื่อวันหน้าท่านอยากจะไปถกอะไรกับนักวิทยาศาสตร์

เมื่อใดที่มีการทดลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ผลขัดกับกฏ กฏนั้นจะเสียสภาพกลายเป็นเพียงทฤษฎีที่มีข้อจำกัดในการใช้ทันที เช่นกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันที่สามารถคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกอย่างบนโลกได้ แต่ไม่สามารถทำนายการส่ายของดาวพุธที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ได้

ที่ ดร บอกว่าเราไม่ควรใส่ใจข้อยกเว้นมากกว่ากฏนั้นผิดแล้วครับ เพราะข้อยกเว้นของกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันนั้นนักวิทยาศาสตร์พากันค้นหาคำตอบกันอย่างมากจน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เปลี่ยนโลกทั้งใบขึ้นมาได้ มันมาจากไหนครับ ถ้าไม่ใช่จากข้อยกเว้นของนิวตัน

หลังจากพัฒนาจนเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปแล้ว สามารถทำนายได้ทุกอย่างในจักรวาลแต่ก็เกิดข้อยกเว้นคือไม่สามารถใช้ทำนายการเคลื่อนที่ของสิ่งที่เล็กกว่าอะตอมได้ ข้อยกเว้นดังกล่าวก็ถูกศึกษาอย่างหนักจนเกิดเป็นทฤษฎีเปลี่ยนโลกอีกอย่างคือควอนตัม

การที่ ดร ให้แต่ความสำคัญกับกฏจนไม่ใส่ใจที่จะศึกษาข้อยกเว้นก็เป็นการหยุดการเรียนรู้ของตัวเองไปแล้วล่ะครับ

ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร กล่าวมันมีข้อยกเว้น เช่นเรื่องการล่าแม่มดกับการบูชายัญก็เป็นตัวอย่างการใช้เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกต้องนะครับ

ขอบคุณครับ
รบกวนเอาสั้นๆ ได้ใจความนะครับ
เสียงส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตรงไหนครับ

 

นี่ผมไม่โดนไล่กลับไปอ่านอะไรใช่ไหมครับเนี่ย แปลว่าสอบผ่านแล้วข้อนึงสินะครับ :lol:

 

จริงๆที่ผมยกตัวอย่างไปนี่มันชัดมากแล้วนะครับ แต่ถ้า ดร อยากได้สั้นๆได้ใจความ ไม่มีปัญหาครับ จัดให้ :)

 

"ในวันที่คนทั้งโลกคิดว่าสิ่งของบนโลกนี้เคลื่อนไหวไปตามยถากรรม ไม่สามารถทำนายอะไรได้ ณ วินาทีแรกที่กฏการเคลื่อนที่ของนิวตันถูกประกาศ ถามว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"ต่อมานักฟิสิกส์ทั้งโลกคิดว่ากฏของนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ทุกอย่างได้ทั้งจักรวาล แต่การคำนวณที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของวงโคจรดาวพุธ นักฟิสิกส์เหล่านั้นลงความเห็นว่าคำนวณผิดด้วยซ้ำ ต่อมาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ใช้อธิบายการเคลื่อนส่ายของดาวพุธที่ผิดปกติได้ ณ วินาทีแรกที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษถูกประกาศนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เหล่านั้นมีความเห็น ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

"แค่ทฤษฎีสัมพัทธภาพถูกประกาศยังไม่หมดครับ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อทฤษฎีนี้ หาว่าไอน์สไตน์เพี้ยน บ้า สติเฟื่อง มีการล้อเลียนต่างๆออกสื่อมากมาย จนอีกเกือบร้อยปีต่อมาจึงมีการตรวจยืนยันสนามความโน้มถ่วงที่เป็นผลจากการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพว่าเป็นจริง ในช่วงเกือบร้อยปีนั้นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ถูก หรือ ผิด ครับ"

 

เอาแค่นี้พอครับ ยาวกว่านี้เดี๋ยว ดร ว่าไม่สั้นพอ ทุกอย่างมีบันทึก วันเดือนปี เป็นลายลักษณ์อักษรในสารานุกรมวิทยาศาสตร์นะครับ เผื่อ ดร สนใจจะไปศึกษาต่อ ยิ่งถ้า ดร ว่างไปศึกษาต่อเรื่องวิวัฒนาการของการรักษาโรคติดเชื้อนะครับ จะยิ่งเห็นเลยว่าความเห็นของคนส่วนใหญ่ผิดแทบจะเสมอในวงการแพทย์ การแพทย์พัฒนามาถึงทุกวันนี้ได้เกิดจากความเห็นต่างของคนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เป็นส่วนน้อยที่ค้นพบข้อเท็จจริงต่างหาก ในวงการวิทยาศาสตร์เสียงส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องเสมอไปครับ เมื่อมีข้อเท็จจริงใหม่ๆ ความเห็นเก่าแม้เป็นส่วนมากก็ผิดได้ครับ

 

แต่ถ้า ดร ไม่อยากอ่านที่ผมพิมพ์ไปยาวๆผมขอสรุปบรรทัดเดียวครับว่า

 

"เสียงส่วนใหญ่ผิดในทุกกรณีที่เสียงส่วนใหญ่นั้นขัดกับข้อเท็จจริง" ซตพ ครับ :rolleyes:




#758476 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 14:10

ดร ครับ วลีของ ดร ที่ว่า เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนี่ ดร ให้สถานะมันเป็นอะไรครับ ระหว่างกฎ กับ ทฤษฎี หรือเป็นเพียงแค่สมมุติฐานของ ดร เองครับ
ระดับ ดร คงรู้นะครับว่าต่างกันยังไง ผมขอถามสั้นๆแค่นี้ครับ

มันเป็นประโยคบอกเล่าครับไม่ใช่วลีผมรู้ ผมถึงเขียนไว้อย่างกระจ่างที่หน้าแรก ไปอ่านดูนะครับ ระหว่างกฎ ข้อยกเว้น Outliers น่ะครับ
ดร ครับ ผมอ่านแล้วผมถึงตั้งคำถามกับ ดร ไงครับ ประโยคบอกเล่าของ ดร มันมีสถานะเป็นแค่"ไม่เกินทฤษฎี"เพราะมันมี exception , fault and error ที่สำคัญข้อมูลทางสถิติยืนยันก็ไม่มี ผมให้ถึงขั้นเป็นทฤษฎีนี่ก็สูงเกินไปแล้วครับ
ผมไม่เข้าใจว่า ดร จะมาเถียงหน้าดำคร่ำเครียดกับคนอื่นทำไมในเมื่อมันไม่ใช่"กฏ"ที่ไม่มีข้อยกเว้นในทุกกรณี เพราะ ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร "บอกเล่า"มานั้นมันมีบางเรื่องที่ใช้คำบอกเล่านี้ไม่ได้อยู่ หรือถ้า ดร คิดว่ามันเป็นกฏของ ดร พรโชคชัย ดร ต้องหาข้อมูลสนับสนุนมามากกว่านี้ครับ โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ผล สถิตินะครับ ไม่เอาโพล
1.คำว่าเสียงส่วนใหญ่ใช้โดดๆไม่ได้นะครับ เพราะมันเป็นสัมพัทธ์ เวลาใช้ต้องใช้คำว่า"เสียงส่วนใหญ่ของ..." อะไรก็ว่าไป ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องจำกัดความก็คือ population number คือจำนวนประชากรที่จะเอามาใช้อ้างอิงว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ว่ามันอิงกับอะไร ซึ่งระดับ ดร ก็คงต้องรู้อยู่แล้วว่าการเลือกกลุ่มประชากรมาใช้มีผลกับเสียงส่วนใหญ่แน่นอน
2.การจะกำหนดว่าใครอยู่ในกลุ่มที่จะเอาไว้ใช้อ้างอิง มันต้องมี Inclusion & Exclusion criteria คือการกำหนดว่าจากกลุ่มประชากรทั้งหมดในจักรวาล เราจะนับใครบ้างเป็นสมาชิกของกลุ่มอ้างอิง เพราะนี่ก็ส่งผลโดยตรงกับเสียงข้างมากที่ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างซัก 100 ปีก่อน ถามว่าใครสร้างโลก ถ้า ดร ตัดนักวิทยาศาสตร์ออกไป เสียงส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าพระเจ้าสร้าง แต่ถ้าตัดพวกศาสนจักรออกไปหมด เสียงส่วนใหญ่ก็จะออกมาว่าโลกเกิดจากฝุ่นในจักรวาล ดังนั้นการระบุเสียงส่วนใหญ่นอกจากต้องระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ยังต้องระบุว่าเราตัดใครออกไปบ้าง หรือในกลุ่มอ้างอิงมีใครบ้างด้วยเสมอ
3.เมื่อได้สองข้อข้างต้้นจึงจะมาเข้าวิธีการในการหาเสียงข้างมาก Method ซึ่งต้องตรงไปตรงมา และต้องให้ได้คำตอบที่แท้จริงไม่ใช่คำตอบที่สามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ แม้แต่การถามคำถามแล้วให้คนเลือกตอบแบบโพลสำรวจก็อาจใช้ไม่ได้ เพราะบางทีคำตอบที่ถูกต้องอาจไม่ได้อยู่ในตัวเลือกของผู้ถามก็ได้ การเลือกวิธีการก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบางเผ่าในแอฟฟริกา มีวิธียืนยันว่าคนในเผ่าโตเป็นผู้ใหญ่หรือยังด้วยการให้โดดพุ่งลงจากหอคอยที่สูงประมาณตึกสามชั้น ถ้าใครโดดสำเร็จก็จะได้รับการยอมรับเป็นผู้ใหญ่ ลองให้คนอายุเท่ากัน 10 คนโดด 6 ใน 10 ผ่าน อีก 4 คน ขาหัก คอหักตาย ดร แปลความว่า 4 คนนั้นไม่เป็นผู้ใหญ่ไหมครับ
"ดังนั้นคำว่าเสียงส่วนใหญ่เมื่อระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ระบุสมาชิกแล้ว ยังต้องระบุวิธีการให้ชัดเจน สุจริต และ ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องจริงๆด้วย" จึงจะสามารถใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ได้
ทีนี้มาดูโพลที่สำรวจจะให้ ดร อยู่ในบอร์ดไหม จะว่าไปมันไม่มีกฏข้อไหนของบอร์ดบอกไว้ซักนิดว่าโพลออกมาว่าให้ออกก็ต้องออก ดร ไม่ต้องตีโพยตีพายไปครับ แต่นี่สมาชิกกำลังแสดงตัวอย่างจริงให้เห็นว่าผลของการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ระบุความสัมพัทธ์ 3 ข้อที่ผมกล่าวไว้จะมีผลอย่างไร และที่สมาชิกพยายามบี้ ดร ก็คือในการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ดร ได้เคยมีการระบุกลุ่มอ้างอิง สมาชิกกลุ่ม และวิธีการไว้"ก่อนหน้า"การถามเสียงส่วนใหญ่ทุกครั้งหรือไม่?
ผมใช้คำว่า"ก่อนหน้า"การสำรวจเพราะเรื่องนี้ต้องถูกระบุให้ชัดเจนก่อนเสมอครับ "มิเช่นนั้นจะเป็นการอ้างเสียงส่วนใหญ่โดยทุจริต" มีการเลือกตัดกลุ่มประชากรที่ไม่ชอบใจออกจนเสียงส่วนน้อยที่ไม่ถูกต้องกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้
สมาชิกเค้าถึงถาม ดร ไงครับ ว่า ดร เคยกระทำการทุจริตในการอ้างเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ครับ?
 
 
 
 
ตอบ
 
ดร ครับ ผมอ่านแล้วผมถึงตั้งคำถามกับ ดร ไงครับ ประโยคบอกเล่าของ ดร มันมีสถานะเป็นแค่"ไม่เกินทฤษฎี"เพราะมันมี exception , fault and error ที่สำคัญข้อมูลทางสถิติยืนยันก็ไม่มี ผมให้ถึงขั้นเป็นทฤษฎีนี่ก็สูงเกินไปแล้วครับ
 
---- อันนี้อารัมภบท คงไม่ต้องตอบนะครับ
 

ผมไม่เข้าใจว่า ดร จะมาเถียงหน้าดำคร่ำเครียดกับคนอื่นทำไมในเมื่อมันไม่ใช่"กฏ"ที่ไม่มีข้อยกเว้นในทุกกรณี เพราะ ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร "บอกเล่า"มานั้นมันมีบางเรื่องที่ใช้คำบอกเล่านี้ไม่ได้อยู่ หรือถ้า ดร คิดว่ามันเป็นกฏของ ดร พรโชคชัย ดร ต้องหาข้อมูลสนับสนุนมามากกว่านี้ครับ โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ผล สถิตินะครับ ไม่เอาโพล
---- ไม่ได้หน้าดำคร่ำเครียดเลยครับ ผมมาให้การศึกษาครับ
---- กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้นทั้งนั้นแหละครับ แต่ผมเห็นว่า เราไม่ถือกฎจะยกเว้นท่าเดียว เลยย้ำให้รู้ว่าอย่าลืมกฎที่ว่า "เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง" ครับผม
1.คำว่าเสียงส่วนใหญ่ใช้โดดๆไม่ได้นะครับ เพราะมันเป็นสัมพัทธ์ เวลาใช้ต้องใช้คำว่า"เสียงส่วนใหญ่ของ..." อะไรก็ว่าไป ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องจำกัดความก็คือ population number คือจำนวนประชากรที่จะเอามาใช้อ้างอิงว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ว่ามันอิงกับอะไร ซึ่งระดับ ดร ก็คงต้องรู้อยู่แล้วว่าการเลือกกลุ่มประชากรมาใช้มีผลกับเสียงส่วนใหญ่แน่นอน
 
---- เช่น เสียงของคนไทยทั้งประเทศ คนส่วนใหญ่ในมลรัฐ (โปรดไปอ่านที่ผมเขียนกรณีแคลิฟอร์เนีย)
 

2.การจะกำหนดว่าใครอยู่ในกลุ่มที่จะเอาไว้ใช้อ้างอิง มันต้องมี Inclusion & Exclusion criteria คือการกำหนดว่าจากกลุ่มประชากรทั้งหมดในจักรวาล เราจะนับใครบ้างเป็นสมาชิกของกลุ่มอ้างอิง เพราะนี่ก็ส่งผลโดยตรงกับเสียงข้างมากที่ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างซัก 100 ปีก่อน ถามว่าใครสร้างโลก ถ้า ดร ตัดนักวิทยาศาสตร์ออกไป เสียงส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าพระเจ้าสร้าง แต่ถ้าตัดพวกศาสนจักรออกไปหมด เสียงส่วนใหญ่ก็จะออกมาว่าโลกเกิดจากฝุ่นในจักรวาล ดังนั้นการระบุเสียงส่วนใหญ่นอกจากต้องระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ยังต้องระบุว่าเราตัดใครออกไปบ้าง หรือในกลุ่มอ้างอิงมีใครบ้างด้วยเสมอ---- อย่าสมมติ เอาเรื่องจริงไปเลยครับ ว่าเสียงส่วนใหญ่ไหนผิดบ้างครับ ผมเฝ้าถามมานาน ไม่มีใครตอบได้ครับ
 
 

3.เมื่อได้สองข้อข้างต้้นจึงจะมาเข้าวิธีการในการหาเสียงข้างมาก Method ซึ่งต้องตรงไปตรงมา และต้องให้ได้คำตอบที่แท้จริงไม่ใช่คำตอบที่สามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ แม้แต่การถามคำถามแล้วให้คนเลือกตอบแบบโพลสำรวจก็อาจใช้ไม่ได้ เพราะบางทีคำตอบที่ถูกต้องอาจไม่ได้อยู่ในตัวเลือกของผู้ถามก็ได้ การเลือกวิธีการก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบางเผ่าในแอฟฟริกา มีวิธียืนยันว่าคนในเผ่าโตเป็นผู้ใหญ่หรือยังด้วยการให้โดดพุ่งลงจากหอคอยที่สูงประมาณตึกสามชั้น ถ้าใครโดดสำเร็จก็จะได้รับการยอมรับเป็นผู้ใหญ่ ลองให้คนอายุเท่ากัน 10 คนโดด 6 ใน 10 ผ่าน อีก 4 คน ขาหัก คอหักตาย ดร แปลความว่า 4 คนนั้นไม่เป็นผู้ใหญ่ไหมครับ
---- นั่นเป็นวิธีปฎิบัติของคนส่วนน้อยในการวัดความเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นที่ยอมรับในเชิงสากล ขอให้กลับไปอ่านเรื่องโจร ที่ผมเขียนไว้ครับ
 

"ดังนั้นคำว่าเสียงส่วนใหญ่เมื่อระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ระบุสมาชิกแล้ว ยังต้องระบุวิธีการให้ชัดเจน สุจริต และ ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องจริงๆด้วย" จึงจะสามารถใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ได้
----- เอาง่าย ๆ แค่ว่า มีกรณีไหนที่เสียงส่วนใหญ่ผิด ก็แล้วกันนะครับ จะได้ไม่ต้องมาตีความแบบศรีธนชัยไปเรื่อยน่ะครับ

ทีนี้มาดูโพลที่สำรวจจะให้ ดร อยู่ในบอร์ดไหม จะว่าไปมันไม่มีกฏข้อไหนของบอร์ดบอกไว้ซักนิดว่าโพลออกมาว่าให้ออกก็ต้องออก ดร ไม่ต้องตีโพยตีพายไปครับ แต่นี่สมาชิกกำลังแสดงตัวอย่างจริงให้เห็นว่าผลของการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ระบุความสัมพัทธ์ 3 ข้อที่ผมกล่าวไว้จะมีผลอย่างไร และที่สมาชิกพยายามบี้ ดร ก็คือในการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ดร ได้เคยมีการระบุกลุ่มอ้างอิง สมาชิกกลุ่ม และวิธีการไว้"ก่อนหน้า"การถามเสียงส่วนใหญ่ทุกครั้งหรือไม่?---- มันไม่มีข้อไหนเลยที่ MOD ต้องปฏิบัติตาม poll ยกเว้นผมจะทำผิดกติกา แค่ไม่เป็นที่ชอบหน้าของคนส่วนน้อยที่มีมากกว่าผมคนเดียว จะถือว่าเป็นคนส่วนใหญ่ไม่ได้ พวกเขาเป็นได้แค่กฎหมู่ครับผม
 

ผมใช้คำว่า"ก่อนหน้า"การสำรวจเพราะเรื่องนี้ต้องถูกระบุให้ชัดเจนก่อนเสมอครับ "มิเช่นนั้นจะเป็นการอ้างเสียงส่วนใหญ่โดยทุจริต" มีการเลือกตัดกลุ่มประชากรที่ไม่ชอบใจออกจนเสียงส่วนน้อยที่ไม่ถูกต้องกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้
---- ไม่รู้คุณพูดอะไรนะครับ เอาเป็นว่าเอาเนื้อ ๆ ก็แล้วกันนะครับ

สมาชิกเค้าถึงถาม ดร ไงครับ ว่า ดร เคยกระทำการทุจริตในการอ้างเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ครับ?
---- บ่เคยครับ

พอจะเข้าใจสมาชิกท่านอื่นแล้ว 55 แต่ก็ขอบคุณที่อุตส่าห์มาให้ความรู้ครับ ไม่รู้ว่า ดร ทราบหรือไม่ว่าหากถูกระบุว่าเป็นกฏจะต้องใช้ได้จริงในทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่เอาเถอะครับ นิยามของนักวิทยาศาสตร์กับสายที่ ดร เรียนมาคงไม่เหมือนกัน ผมให้เป็นความรู้ไว้แล้วกันครับ เผื่อวันหน้าท่านอยากจะไปถกอะไรกับนักวิทยาศาสตร์

เมื่อใดที่มีการทดลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ผลขัดกับกฏ กฏนั้นจะเสียสภาพกลายเป็นเพียงทฤษฎีที่มีข้อจำกัดในการใช้ทันที เช่นกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันที่สามารถคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกอย่างบนโลกได้ แต่ไม่สามารถทำนายการส่ายของดาวพุธที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ได้

ที่ ดร บอกว่าเราไม่ควรใส่ใจข้อยกเว้นมากกว่ากฏนั้นผิดแล้วครับ เพราะข้อยกเว้นของกฏการเคลื่อนที่ของนิวตันนั้นนักวิทยาศาสตร์พากันค้นหาคำตอบกันอย่างมากจน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เปลี่ยนโลกทั้งใบขึ้นมาได้ มันมาจากไหนครับ ถ้าไม่ใช่จากข้อยกเว้นของนิวตัน

หลังจากพัฒนาจนเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปแล้ว สามารถทำนายได้ทุกอย่างในจักรวาลแต่ก็เกิดข้อยกเว้นคือไม่สามารถใช้ทำนายการเคลื่อนที่ของสิ่งที่เล็กกว่าอะตอมได้ ข้อยกเว้นดังกล่าวก็ถูกศึกษาอย่างหนักจนเกิดเป็นทฤษฎีเปลี่ยนโลกอีกอย่างคือควอนตัม

การที่ ดร ให้แต่ความสำคัญกับกฏจนไม่ใส่ใจที่จะศึกษาข้อยกเว้นก็เป็นการหยุดการเรียนรู้ของตัวเองไปแล้วล่ะครับ

ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร กล่าวมันมีข้อยกเว้น เช่นเรื่องการล่าแม่มดกับการบูชายัญก็เป็นตัวอย่างการใช้เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกต้องนะครับ


#758373 กฏหมู่ vs เสียงส่วนใหญ่ . . . ดร.โสภณ พรโชคชัย ให้ความกระจ่าง

โดย zereza on 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 12:15

ดร ครับ วลีของ ดร ที่ว่า เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนี่ ดร ให้สถานะมันเป็นอะไรครับ ระหว่างกฎ กับ ทฤษฎี หรือเป็นเพียงแค่สมมุติฐานของ ดร เองครับ
ระดับ ดร คงรู้นะครับว่าต่างกันยังไง ผมขอถามสั้นๆแค่นี้ครับ


มันเป็นประโยคบอกเล่าครับไม่ใช่วลี

ผมรู้ ผมถึงเขียนไว้อย่างกระจ่างที่หน้าแรก ไปอ่านดูนะครับ ระหว่างกฎ ข้อยกเว้น Outliers น่ะครับ
ดร ครับ ผมอ่านแล้วผมถึงตั้งคำถามกับ ดร ไงครับ ประโยคบอกเล่าของ ดร มันมีสถานะเป็นแค่"ไม่เกินทฤษฎี"เพราะมันมี exception , fault and error ที่สำคัญข้อมูลทางสถิติยืนยันก็ไม่มี ผมให้ถึงขั้นเป็นทฤษฎีนี่ก็สูงเกินไปแล้วครับ

ผมไม่เข้าใจว่า ดร จะมาเถียงหน้าดำคร่ำเครียดกับคนอื่นทำไมในเมื่อมันไม่ใช่"กฏ"ที่ไม่มีข้อยกเว้นในทุกกรณี เพราะ ดร ก็รู้อยู่แล้วว่าที่ ดร "บอกเล่า"มานั้นมันมีบางเรื่องที่ใช้คำบอกเล่านี้ไม่ได้อยู่ หรือถ้า ดร คิดว่ามันเป็นกฏของ ดร พรโชคชัย ดร ต้องหาข้อมูลสนับสนุนมามากกว่านี้ครับ โดยเฉพาะข้อมูลทางสถิติ ผล สถิตินะครับ ไม่เอาโพล

1.คำว่าเสียงส่วนใหญ่ใช้โดดๆไม่ได้นะครับ เพราะมันเป็นสัมพัทธ์ เวลาใช้ต้องใช้คำว่า"เสียงส่วนใหญ่ของ..." อะไรก็ว่าไป ดังนั้นเรื่องแรกที่ต้องจำกัดความก็คือ population number คือจำนวนประชากรที่จะเอามาใช้อ้างอิงว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ว่ามันอิงกับอะไร ซึ่งระดับ ดร ก็คงต้องรู้อยู่แล้วว่าการเลือกกลุ่มประชากรมาใช้มีผลกับเสียงส่วนใหญ่แน่นอน

2.การจะกำหนดว่าใครอยู่ในกลุ่มที่จะเอาไว้ใช้อ้างอิง มันต้องมี Inclusion & Exclusion criteria คือการกำหนดว่าจากกลุ่มประชากรทั้งหมดในจักรวาล เราจะนับใครบ้างเป็นสมาชิกของกลุ่มอ้างอิง เพราะนี่ก็ส่งผลโดยตรงกับเสียงข้างมากที่ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างซัก 100 ปีก่อน ถามว่าใครสร้างโลก ถ้า ดร ตัดนักวิทยาศาสตร์ออกไป เสียงส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าพระเจ้าสร้าง แต่ถ้าตัดพวกศาสนจักรออกไปหมด เสียงส่วนใหญ่ก็จะออกมาว่าโลกเกิดจากฝุ่นในจักรวาล ดังนั้นการระบุเสียงส่วนใหญ่นอกจากต้องระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ยังต้องระบุว่าเราตัดใครออกไปบ้าง หรือในกลุ่มอ้างอิงมีใครบ้างด้วยเสมอ

3.เมื่อได้สองข้อข้างต้้นจึงจะมาเข้าวิธีการในการหาเสียงข้างมาก Method ซึ่งต้องตรงไปตรงมา และต้องให้ได้คำตอบที่แท้จริงไม่ใช่คำตอบที่สามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ แม้แต่การถามคำถามแล้วให้คนเลือกตอบแบบโพลสำรวจก็อาจใช้ไม่ได้ เพราะบางทีคำตอบที่ถูกต้องอาจไม่ได้อยู่ในตัวเลือกของผู้ถามก็ได้ การเลือกวิธีการก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบางเผ่าในแอฟฟริกา มีวิธียืนยันว่าคนในเผ่าโตเป็นผู้ใหญ่หรือยังด้วยการให้โดดพุ่งลงจากหอคอยที่สูงประมาณตึกสามชั้น ถ้าใครโดดสำเร็จก็จะได้รับการยอมรับเป็นผู้ใหญ่ ลองให้คนอายุเท่ากัน 10 คนโดด 6 ใน 10 ผ่าน อีก 4 คน ขาหัก คอหักตาย ดร แปลความว่า 4 คนนั้นไม่เป็นผู้ใหญ่ไหมครับ

"ดังนั้นคำว่าเสียงส่วนใหญ่เมื่อระบุกลุ่มอ้างอิงแล้ว ระบุสมาชิกแล้ว ยังต้องระบุวิธีการให้ชัดเจน สุจริต และ ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องจริงๆด้วย" จึงจะสามารถใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ได้

ทีนี้มาดูโพลที่สำรวจจะให้ ดร อยู่ในบอร์ดไหม จะว่าไปมันไม่มีกฏข้อไหนของบอร์ดบอกไว้ซักนิดว่าโพลออกมาว่าให้ออกก็ต้องออก ดร ไม่ต้องตีโพยตีพายไปครับ แต่นี่สมาชิกกำลังแสดงตัวอย่างจริงให้เห็นว่าผลของการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ระบุความสัมพัทธ์ 3 ข้อที่ผมกล่าวไว้จะมีผลอย่างไร และที่สมาชิกพยายามบี้ ดร ก็คือในการใช้คำว่าเสียงส่วนใหญ่ของ ดร ได้เคยมีการระบุกลุ่มอ้างอิง สมาชิกกลุ่ม และวิธีการไว้"ก่อนหน้า"การถามเสียงส่วนใหญ่ทุกครั้งหรือไม่?

ผมใช้คำว่า"ก่อนหน้า"การสำรวจเพราะเรื่องนี้ต้องถูกระบุให้ชัดเจนก่อนเสมอครับ "มิเช่นนั้นจะเป็นการอ้างเสียงส่วนใหญ่โดยทุจริต" มีการเลือกตัดกลุ่มประชากรที่ไม่ชอบใจออกจนเสียงส่วนน้อยที่ไม่ถูกต้องกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้

สมาชิกเค้าถึงถาม ดร ไงครับ ว่า ดร เคยกระทำการทุจริตในการอ้างเสียงส่วนใหญ่หรือไม่ครับ?


#472839 พยาบาลไทย ต้องการกำลังใจค่ะ

โดย zereza on 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:59

ในฐานะที่ทำงานด้านสาธารณสุขมาก่อนต้องบอกว่าผมเห็นใจและเข้าใจการทำงานของวิชาชีพพยาบาลนะครับ

แต่ถ้ามองในทางการเมือง พวกนักการเมืองเขาไม่ได้มองว่าความเดือดร้อนและจำเป็นของพวกคุณคือปัญหาที่เค้าต้องแก้ครับ เพราะเรื่องแบบนี้เค้าทำก็ไม่ได้คะแนนเสียงอะไรขึ้นมาสักเท่าไหร่ ต่อให้ผลกระทบมันลามไปถึงประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณสุข พวกเค้าก็ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาอยู่ดีครับ พวกนี้มันไม่ได้สนใจประชาชนอยู่แล้ว

สิ่งที่พวกคุณทำได้นอกจากอดทนแล้วคือการพัฒนาตนเองแล้วอาศัยกลไกของตลาดแรงงานครับ อีกไม่กี่ปีเออีซีเปิด พวกพยาบาลที่มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศจะมีงานมีเงินมากขึ้น ทางเลือกเยอะขึ้นครับ เผลอๆรวมๆแล้วดีกว่าเป็นข้าราชการซะอีก หรือไม่ก็ไปทำงานในยุโรปที่ขาดแคลนพยาบาลหนักๆครับ

วันนี้เขาไม่เห็นหัวเราก็ช่างหัวเขาเถิดครับ วันนึงที่พยาบาลขาดแคลนหนักๆเข้า ประชาชนได้รับผลกระทบมากขึ้น เกิดการเรียกร้องมากๆขึ้น ถึงวันนั้นกลไกภาครัฐถึงจะหันมาสนใจพวกคุณเองแบบที่เกิดขึ้นกับวิชาชีพครูครับ


#469972 หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นชัดว่ามีชายชุดดำ(กองกำลังติดอาวุธ)อยู่หน้า...

โดย zereza on 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:46

ปืนไทยประดิษฐ์โดนเข้าหน้าผากนี่ตายรึเปล่าครับ อ้อ เป็นฝรั่งนี่เก่งนะครับรู้จักด้วยว่าปืนไทยประดิษฐ์หน้าตาเป็นไง แถมบอกถูกซะด้วย ใช้สมองน้อยๆคิดดูน่าจะรู้นะว่าไอ้คำสัมภาษณ์นี่มันออกมาจากปากฝรั่งจริงๆไหม แล้วถ้าออกมาจริงคนแปลมันแปลถูกต้องทั้งหมดไหม แล้วไอ้ฝรั่งคนนี้มันได้มาเป็นพยานไหม ถ้าไม่ได้มาเป็นพยานก็เก็บบทสัมภาษณ์นี้กลับทุ่งไปเถอะครับ ไปตอนที่ยังหาทางกลับถูกนี่แหละ


#468251 รายงานการจำลองวิถีกระสุน 6ศพ วัดปทุม พิสูจน์ความบริสุทธิ์ทหาร แต่DSI ไม่ใช้...

โดย zereza on 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:13

ผมสนับสนุนให้เอาสำนวนส่งฟ้องสภาพนี้นะ ไม่ยกฟ้องก็แพ้แถมโดนฟ้องกลับติดคุกอีก สำนวนมีแต่ช่องขนาดนี้

และยังยืนยันคำเดิมใครที่มันไปร่วมขบวนการเผาบ้านเผาเมืองรอบที่ผ่านมา ตายแบบหาคนผิดไม่เจอค่อนข้างแน่ ตั้งแต่แจกเงินก็รู้แล้วว่าคดีมีแต่โดนดองเอาไว้ตีกิน ปชป ต่อไป

และพวกที่ไม่อยากให้ความจริงกระจ่างก็คือพวกเสื้อแดงเองนั่นแหละ ตีสองหน้าเรียกร้องไปเรื่อย แต่กลับถ่วงเรื่องคดีซะเอง น่าสมเพช


#460926 พี่น้องเสรีไทยว่าไงดีครับ-“ดารา-หมอ-วิศวะ” จ่อโดนภาษีภาษี 20% “คลัง” เปิดหลัก...

โดย zereza on 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:18

ไม่มีประโยชน์ครับ ทุกอาชีพที่ว่ามามีวิธีประหยัดภาษีทั้งนั้นแหละ สิ่งที่ควรทำคือขยายฐานจำนวนผู้เสียภาษี ไม่ใช่มาเพิ่มคนที่เสียอยู่แล้ว ถ้าทำแบบนี้ปีนี้คงมีคนอยากประหยัดภาษีกันเยอะ เผลอๆจะเก็บได้น้อยกว่าเดิมซะอีก ***จริงๆ


#460554 เตรียมใจรับมาตรฐานการรักษาพยาบาลเดียวกันทั่วประเทศได้แล้วครับ

โดย zereza on 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 09:45

ในเรื่องของยาผมเองมีความรู้พื้นฐานอยู่บ้างนะครับคือยาที่อยู่ในบัญชียาหลักส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ผลิตภายในประเทศซึ่งยาพวกนี้ต้นทุนต่ำกว่ายานำเข้าเพราะสารตั้งต้นและส่วนผสมเป็นสารที่สามารถใช้ทดแทนกันได้บางส่วน แต่เมื่อนำไปใช้แล้วจะมีความต่างกับยาที่นำเข้าคือเรื่องของผลข้างเคียง,ประสิทธิภาพการดูดซึมของยาและที่สำคัญคือความเป็นพิษต่อตับและไตของคนไข้ครับ

แต่ก่อนบัญชียาหลักจะมียานำเข้าอยู่บ้างแต่ตอนนี้ถูกตัดออกไปแทบทั้งหมดแล้ว และถ้ารัฐมีแนวโน้มลดค่าใช้จ่ายลง สารตั้งต้นที่นำมาผลิตยาก็ยิ่งจะถูกลดคุณภาพลงไปอีก กลายเป็นของเทียมคุณภาพต่ำไปเลย ใครจะบอกว่ายาใช้ได้เหมือนกันผมเถียงขาดใจครับ ลองดูได้โรคเดียวกัน ยาคนละตัว ผมเอาหัวเป็นประกัน ตายช้าเร็วไม่เท่ากันแน่นอนครับ


#458659 เตรียมใจรับมาตรฐานการรักษาพยาบาลเดียวกันทั่วประเทศได้แล้วครับ

โดย zereza on 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:25

วอนเพื่อนใจดีที่มีความรู้ ช่วยอธิบายผมด้วยได้ไหมครับ
ว่า 30 บาทของเพื่อแม้ว ต่างจากรักษาฟรีของปชป.ยังไง
และทำไมตอนนี้เพื่อแม้วต้องนำงบประมาณไปอุ้ม 30 บาทรักษาทุกโรค
ในเมื่อรักษาฟรีไม่ต้องจ่ายอะไรเลย แต่ 30 บาทยังได้เงินไปสามสิบ
งงครับ


ถ้าเอาจริงๆในรายละเอียดแทบไม่ต่างครับ รัฐบาลอาจจะเพิ่มหรือลดงบประมาณต่อหัวต่อปีได้ แต่ที่แน่ๆรัฐต้องกันเงินมาใช้กับนโยบายนี้เกือบๆสองแสนล้านบาททุกปี ซึ่งถือเป็นภาระต่องบประมาณอย่างยิ่ง

ในความเห็นบางคนอาจจะบอกว่าคุ้มเพราะได้ทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษา แต่ในอีกมุมนึงคือการสร้างภาระแก่บุคคลากรสาธารณสุขหนักขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็ไม่แน่ใจนักว่าความสูญเสียจากการรักษาที่มาตรฐานลดลงกับตัวเลขที่อ้างว่าคุ้มนั้นจริงๆแล้วมันเป็นยังไงแน่ ผมบอกได้เลยว่าประชาชนเสียชีวิตจากการรักษาพยาบาลที่ต่ำกว่ามาตรฐานไม่น้อย เพียงแต่พวกคุณไม่รู้เท่านั้นจนกว่าจะเกิดกับคนใกล้ตัวนั่นแหละ

อย่างว่าประชานิยมก็เหมือนยาเสพติด ปชป เองแม้ไม่เห็นด้วยแต่จะหักด้ามพร้าด้วยเข่ามันก็ไม่ได้ จึงจำใจต้องสานต่อเพื่อป่องกันการลงแดง ในเมื่อเลิกไม่ได้ก็ทำได้เพียงรอความตายเท่านั้น การดึงเงินจากอีก 2 กองทุนมาใช้มันชี้ให้เห็นชัดเจนว่ารัฐใกล้จะรับภาระไม่ไหวแล้ว ตอนนี้กองทุนทั้งสองก็เป็นแค่เครื่องช่วยหายใจยื้อชีวิตไว้ และสุดท้ายก็จะพังลงทุกกองทุนอย่างแน่นอน

ด้วยตัวโครงการเองผมเห็นว่าหลักการมันดี แต่ถูกเอามาใช้ด้านประชานิยมมากสุดกู่ ถ้าจะให้โครงการนี้ยั่งยืนต้องเรียกเก็บเงินจากประชาชนอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่ 30 บาทหรือฟรีแบบนี้ ในความคิดผมเรียกเก็บ 500 ยังถูกไปเลย ถ้าคุณภาพมันดี เป็นพันประชาชนก็ยอมจ่าย ใครไม่มีก็ให้ดึงรายได้จากพวกที่จ่ายมาช่วยไปอย่างสมดุล แต่ตอนนี้บอกได้เลยครับว่า สปสช กำลังจะตาย และจะลากอีกสองกองทุนลงเหวไปด้วยถ้าไม่แก้ไขอะไรซักอย่าง


#458395 [รักคนเสื้อแดง] ในความรักหนังสือที่ทักษิณควรอ่าน ทดสอบตั้งกระทู้ สมช.สรท.และค...

โดย zereza on 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:00

หลักคิดสำหรับผมไม่ยากครับ ไม่ใช่เสื้อแดงทุกคนจะรุมทำร้ายทหาร และก็ไม่ใช่ทุกคนอีกเช่นกันที่ช่วยทหาร ต้องแยกแยะเป็นคนๆไป

บางคนเห็นว่าทหารก็เป็นคนเหมือนกัน เห็นถูกทำร้ายก็ต้องช่วย ในขณะที่สัตว์นรกบางตัวก็ต้องการซ้ำให้ตาย นึกภาพไม่ออกก็ลองนึกถึงคนสองกลุ่มยกพวกตีกัน มันก็จะมีทั้งคนห้าม คนยุ คนต่อย คนหนี คนกระทืบ คนโดนกระทืบ ทั้งสองฝ่าย

ผมไม่เห็นประโยชน์อะไรที่จะมาถกเถียงกระทู้นี้กันเลย เพราะจากประโยคข้างต้นก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก


#458394 เตรียมใจรับมาตรฐานการรักษาพยาบาลเดียวกันทั่วประเทศได้แล้วครับ

โดย zereza on 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 03:49

ในฐานะคนที่เคยทำงานด้านสาธารณสุขการแพทย์ ตอนนี้มีข่าวเกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของรัฐซึ่งได้แก่ สปสช ประกันสังคมและข้าราชการ ซึ่งทั้งสามรูปแบบนี้เคยมีรายละเอียดการจ่ายยารักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป แต่ตอนนี้มีการพยายามรวมทั้งสามระบบเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นมาตรฐานใหม่(ตามคำกล่าวอ้าง) ซึ่งก็มีวี่แววจะได้ผล เพราะมาตรฐานใหม่ที่ว่าคือมาตรฐานขั้นต่ำสุดนั่นเอง

งานนี้มีกลิ่นการเมืองไม่น้อย เพราะดูๆแล้วสาเหตุจริงๆก็คงไม่พ้นเค้กก้อนใหญ่คือเม็ดเงินที่อยู่ในระบบประกันสังคมและกบข จึงมีการพยายามตัดแบ่งออกมาช่วยอุ้มนโยบาย 30 บาทที่เป็นนโยบายหาเสียงและยิ่งทำให้เห็นชัดเจนขึ้นว่ารัฐบาลแทบไม่เหลืองบประมาณบริหารประเทศมากเพียงพอแล้วจึงต้องมาตัดสวัสดิการอันพึงมีพึงได้รับของประชาชน

ให้ความสนใจกันนิดนึงนะครับ เพราะงานนี้ใครไม่เจอกับคนใกล้ตัวไม่มีทางรู้เลยว่ามาตรฐานการรักษาพยาบาลสุดห่วยมันสามารถทำให้คนที่คุณรักจากไปก่อนเวลาอันควรได้ ข้างล่างนี้เป็นความคิดเห็นจากบุคคลากรด้านการแพทย์ที่มีต่อคำสั่งกระทรวงการคลังฉบับนี้ ยาวหน่อยแต่ผมจะพยายามไฮไลท์จุดสำคัญๆไว้ครับ

คำสั่งกระทรวงการคลัง-เมื่อ “สาธารณสุข” กลายเป็น “สาธารณทุกข์
นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (กรรมการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม)

เมื่อต้นเดือนตุลาคม กระทรวงการคลังได้ออกคำสั่ง ๓ ฉบับเพื่อ ควบคุมค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ดังนี้
() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๑ เรื่องการให้ระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๕ เรื่อง การลงทะเบียนในระบบเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยนอกกับสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
() กค ๐๔๒๒.๒/ว๑๑๖ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต
คำสั่งนี้แม้ไม่ได้ควบคุมค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากโครงการประชานิยมด้าน สาธารณสุขคือ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(๓๐ บาท)”โดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้มีความเกี่ยวพันกัน เพราะรัฐต้องการลดมาตรฐานการรักษาลงมาให้เป็นระดับเดียวกัน แต่เป็นระดับต่ำที่สุด ซึ่งมีผลทำให้รัฐเสียเงินน้อยลง โดยอ้างว่าในเมื่อการรักษาประชาชนตามหลักประกันสุขภาพสามารถใช้ยาใน “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ซึ่งเป็นยาส่วนใหญ่มีราคาต่ำที่สุดและ/หรือผลิตในประเทศ ดังนั้นยาที่ใช้สำหรับข้าราชการก็ต้องสามารถใช้ในระดับเดียวกันได้ เงินที่สามารถตัดลงมาได้ก็จะผันไปถมให้กับ โครงการที่ถมไม่มีวันเต็ม อย่างระบบหลักประกันสุขภาพได้ อีกเหตุผลหนึ่งที่เมื่อนำไปอ้างต่อสาธารณะให้ดูชอบธรรมคือ ที่ผ่านมาข้าราชการเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลสูง ที่สุดในจำนวน ๓ กองทุนหลัก (ข้าราชการ ประกันสังคม และ ๓๐ บาท) สอดรับการกับเคลื่อนไหวของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ออกข่าวมาตลอดว่า “หลายมาตรฐาน ทั้ง ๆ ที่เป็นคนไทยเหมือนกัน” จึงพยายามผลักดันให้มีคำสั่งเช่นนี้ออกมา โดยเจตนาลืมที่จะกล่าวว่า การที่สิทธิในการรักษาไม่เหมือนกัน ก็เพราะทั้ง ๓ กลุ่มนี้มีการร่วมจ่ายไม่เหมือนกัน โดยกลุ่มประกันสังคมร่วมจ่ายโดยตรงด้วยการยอมถูกหักเงิน กลุ่มข้าราชการร่วมจ่ายทางอ้อมด้วยค่าแรง(เงินเดือน)ที่น้อยกว่าภาคเอกชน ส่วนกลุ่มหลังนั้นแม้รัฐจะพยายามให้ร่วมจ่าย ๓๐ บาท ก็ยังมีการพยายามออกมาเคลื่อนไหวไม่ยอมจ่าย โดยอ้างว่าได้ร่วมจ่ายด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว ทั้ง ๆที่แท้จริงแล้วทั้ง ๓ กลุ่มนี้ต่างก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือน ๆ กันหมด ที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากอีกคือ ข้าราชการและกลุ่มประกันสังคมเป็น ๒ กลุ่มที่เลี่ยงภาษีได้ยากเพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผลที่ตามมาของคำสั่งนี้
() ประเทศไทยเข้าใกล้สู่ระบบการรักษามาตรฐานเดียวกัน(แต่เป็นมาตรฐานในระดับต่ำ ที่สุด) ไม่ว่าปัจเจกบุคคลนั้นจะมีสิทธิพื้นฐานต่างกันแค่ไหน (อาจยกเว้นถ้าท่านเป็นบุคคลระดับ VIP ที่กฎระเบียบเอื้อมไปแตะไม่ได้) ซึ่งจะคล้ายกับประเทศระบบสังคมนิยมนั่นเอง นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ จะมียาหลายตัวถูกจัดในหมวดยากำพร้า (orphan drug) มากขึ้น เหตุเพราะบริษัทยาข้ามชาติเล็งเห็นว่า หากนำเข้าประเทศไทยก็ไม่คุ้มค่า เพราะมีการจำกัดการใช้ยาที่ควรจะเป็น first line drug (ยาที่คุ้มราคาที่สุดเมื่อเทียบกับประสิทธิผลในการรักษาโรค) โดยผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงการคลัง มิใช่โดยสภาวิชาชีพซึ่งรู้จริงและมีหน้าที่โดยตรง อนึ่งคำสั่งนี้จะทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งใช้ยา แม้ผู้ป่วยจะอ้างว่ายินดีจ่ายเงินเพิ่ม เพราะหากเกิดปัญหารักษาแล้วไม่จ่ายเงิน แพทย์จะกลายเป็นอาชญากรตัวยงที่DSIอาจรับเป็นคดีพิเศษ และถูกฟ้องเรียกเงินคืนภายหลังได้ ฐานทำให้รัฐเสียหาย ทั้ง ๆ ที่แพทย์เชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่ายานั้นมีคุณภาพคุ้มค่า เพื่อให้ผู้ป่วยหายโดยเร็ว(แม้ว่าจะไม่ใช่ยาที่ถูกที่สุดที่ระบุไว้ในบัญชี ยาหลักแห่งชาติ) หรือ หากแพทย์ไม่สั่งให้ แพทย์ก็อาจโดยฟ้องฐานก่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข เพราะผู้ป่วยอาจอ้างต่อศาลได้ว่า ตายหรือพิการเพราะแพทย์จ่ายยาช้าเกินไป หรือไม่จ่ายยาที่ดีกว่า ซึ่งผิดไปจาก พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ที่กำหนดให้แพทย์ทุกคนรักษาผู้ป่วยในระดับดีเพื่อให้หายจากโรคโดยเร็ว โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา และแน่นอน
() ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย เช่น ความดันสูง อัมพฤกษ์อัมพาต ไตวาย ไขมันสูง เบาหวาน จะแห่ไปลงทะเบียนกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ เช่น ศิริราช รามา ราชวิถี หรือโรงเรียนแพทย์ เหตุเพราะเกรงว่าหากเกิดปัญหากะทันหันแล้วต้องเปลี่ยนสถานพยาบาล จะต้องเสียเงินเองทั้ง ๆ ที่รับราชการมาตลอดชีวิต ทำให้รพ.เหล่านี้เกิดสภาพ “เตี้ยอุ้มค่อม” หนักขึ้นไปอีก ซึ่งสวนทางกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่พยายามผลักดันให้ไปรักษาใกล้บ้าน แพทย์พยาบาลจะโดนฟ้องร้องหนักขึ้นไปอีก เพราะก่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข (รักษาไม่ทัน รอคิวนาน พูดจาไม่ดีเพราะเหนื่อยมาก ผิดพลาดเพราะอดนอน) ซึ่งไปเข้าทางกลุ่มที่เรียกร้องให้ออก พรบ.ฟ้องหมอแถมเงินด่วนได้ (แต่ตั้งชื่อหลอก ๆ ว่า คุ้มครองผู้เสียหาย)
() การสั่งห้ามจ่าย กลูโคซามีน โดยกระทรวงการคลังมองว่าเป็นอาหารเสริม(เหมือนพวกกรดอะมิโน ซุปไก่ รังนก) แต่ราชวิทยาลัยทางการแพทย์และ อ.ย. บอกว่าเป็น ยา เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง ทุกวันนี้มียาหลายตัวที่ออกสีเทา ๆ กล่าวคือมีข้อมูลทางวิชาการทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุน แพทย์ที่ยังปฏิบัติงานในวิชาชีพจะทราบดีว่า การอ้างเอาเหตุผลมาสนับสนุนหรือคัดค้านการรักษานั้นเป็นเรื่องของปัจเจก คล้ายกับคนที่ทะเลาะกันก็สามารถยกอ้างเหตุมาสนับสนุนการกระทำของตนให้ถูกได้ ทั้งนั้น มีรายงานวิชาการว่ากลูโคซามีนรักษาหรือชะลออาการเสื่อมของข้อได้ในระยะแรก โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับยากลุ่มNSAIDsที่มีราคาแพงและกัดกระเพาะมากกว่า ขณะเดียวกันก็มีรายงานอ้างว่ายานี้ไม่ช่วยอะไร ยาสีเทาเหล่านี้แพทย์จะสั่งจ่ายให้เฉพาะราย เช่นผู้ป่วยอาจต้องจ่ายเงินเองหากแพทย์คิดว่าไม่มีประโยชน์ แต่หากลองใช้ยาแล้วพบว่าได้ผลดีกับผู้ป่วย แพทย์ก็จะสั่งให้โดยผู้ป่วยไม่ต้องร้องขอ ส่วนค่ายาก็เป็นไปตามสิทธิของแต่ละคน การที่กระทรวงการคลังออกทำคำสั่งเหล่านี้ โดยไปฟังตามที่ปรึกษาที่ตั้งขึ้นเอง แทนที่จะให้เป็นไปตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตัวจริง แพทย์ที่ปฏิบัติงานคงต้องขอให้กระทรวงการคลังแต่งตั้งตัวแทนร่วมกับคณะที่ ปรึกษาของกระทรวง มาออกตรวจร่วมกัน เพื่อคอยรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการงดจ่ายยาตัวนี้ และตัวอื่นที่อยู่ใต้ยอดภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งคงมีคำสั่งตามมาอีกหลายฉบับ

คำสั่งนี้นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นจุดหนึ่งของการรวมกองทุนสุขภาพทั้ง ๓ กองทุน โดยลืมหรือแกล้งลืมว่า ทั้ง ๓ กลุ่มนี้มีที่มาของสิทธิการรักษาที่ต่างกันตามการร่วมจ่าย ดังนั้นการกระทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างกับการกระทำเลือกปฏิบัติตามหลักรัฐศาสตร์ ที่ว่า “การปฏิบัติต่อคนที่มีที่มาของสิทธิพื้นฐานที่ต่างกัน ด้วยความเท่าเทียมกัน การปฏิบัติเช่นนี้คือการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน” หากไม่เข้าใจก็ลองนึกภาพ ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านประธานาธิบดี เดินทางไปไหนมาไหนโดยปราศจากขบวนรถนำ ปราศจากการปิดถนน ตลกร้ายที่บุคลากรทางการแพทย์ทราบดีคือ หลายครั้งที่คนออกกฎหมายเหล่านี้เจ็บป่วย ต่างก็เรียกร้องความไม่เท่าเทียมกัน เช่น ห้องพิเศษ ยาพิเศษ คิวพิเศษ เครื่องมือพิเศษ การดูแลเป็นพิเศษ ไม่เชื่อลองไปเดินดูตามตึกสามัญของรพ.รัฐว่าเคยเห็นผู้บริหาร ๓ กองทุนเหล่านี้ไปนอนร่วมกันท่านตามตึกสามัญที่มีเตียงนับสี่ห้าสิบเตียงรวม กันหรือไม่ (ยังไม่นับรวมระเบียง ทางเดิน หน้าบันได หน้าลิฟท์ ที่พร้อมจะเป็นสถานที่เสริมเตียงผ้าใบ)
ไม่กี่วันนี้ เราได้เห็นภาพพยาบาลจำนวนมากออกมาประท้วงให้ออกกฎระเบียบเหลียวแลผู้ปฏิบัติ งาน(ผู้ให้บริการตามภาษากฎหมาย)บ้าง แทนที่จะออกแต่คำสั่งเอาใจแต่ผู้ป่วย(ผู้รับบริการ) อีกไม่นาน อาจได้เห็น กลุ่มข้าราชการจำนวนมากออกมาประท้วงรัฐที่ทอดทิ้ง “หมาล่าเนื้อ”ยามชราเช่นพวกเขา อย่างนี้ไม่เรียกว่า สาธารณทุกข์ (ทุกข์ทั้งผู้ให้และผู้รับการรักษา)ได้อย่างไร เอวังก็มีด้วยประการ..ฉะนี้



ลิงค์ครับ
http://www.facebook....144717658883538

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเราๆท่านๆต้องวางแผนประกันสุขภาพของตัวเองนะครับ อย่าหวังพึ่งประกันสังคมและกบขเด็ดขาด(30 บาทไม่ต้องพูดถึง) จริงๆแล้วควรต้องรวมตัวกันเรียกร้องให้ประกันสังคมเป็นภาคสมัครใจของลูกจ้างด้วยซ้ำไป เพราะจากคำสั่งกระทรวงการคลังฉบับนี้พวกคุณซึ่งเป็นลูกจ้างทั้งหลายกำลังถูกลดสิทธิ์ลงทั้งๆที่มีส่วนจ่ายเงินสมทบ

และจากนโยบายข้อนี้เองทำให้ผมยิ่งเชื่อมั่นในรัฐบาลนี้มากขึ้นไปอีกครับว่าถ้าอยู่ครบ 8 ปี ไม่มีคนจนเหลืออยู่ในประเทศแน่(ตาย ่า หมด)


#456406 หุๆๆ...ไพร่แดงจะยังจำที่มาของวลี "ดีแต่พูด-ดีแต่กู้" กันได้อ๊ะป่าว?...

โดย zereza on 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 02:07

นี่คนบางคนไม่รู้จักวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กับวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปจริงๆเหรอ(วะ)เนี่ย ถึงได้มาประกาศโชว์ความเบาปัญญาออกอากาศขนาดนี้

ตอนช่วงที่ ปชป มาบริหารประเทศ สถานการณ์โลกมันอยู่ตรงไหนยังไม่รู้ยังริจะมาเถียงเรื่องการเมือง พวกนี้มันพึ่งเริ่มอ่านข่าววันสองวันนี้หรือไง(วะ)

ช่วงที่เข้ามาเงินคงคลังมันมีอยู่เท่าไหร่ อยู่ช่วงไหนของปีงบประมาณ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เท่าไหร่ ตามกลับไปอ่านดูมันคงไม่ใช่เรื่องยาก เว้นแต่ไม่คิดจะอ่านอยู่แล้ว ด่าไปวันๆ

แล้วที่บอกไม่เตรียมเออีซีอยากจะขำ ไอ้พวกไหนไม่รู้มันไปล้มการประชุมอาเซียนยังมีหน้ามาบอกเห็นความสำคัญกับระดับนานาชาติ ป่านนี้รู้รึยังก็ไม่รู้ว่าเออีซีกับอาเซียนมันเกี่ยวอะไรกัน <_<