Jump to content


jayjj

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2557
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2557 21:39
-----

#1082233 ถึงตรงนี้ อยากบอกว่า เห็นด้วยถ้าจะมีการปฏิวัติ

โดย Olala on 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:37

ปฏิวัติมันมีจุดอ่อนให้เล่นอยู่แล้วค่ะ   เพราะทหารออกมาใช้กำลัง

แล้วใครสั่ง? มันก็โยงไปถึงเจ้านาย  ตรงนี้คือจุดอ่อนให้ระบบที่มันหลงเหลืออยู่เล่นงาน

 

พวกนี้มันไม่เล่นคนรู้ทันมัน   มันเล่นเด็กรุ่นใหม่ เยาวชน  ชาวบ้านที่ไม่ทราบเหตุการณ์การปฏิวัติแท้จริง  แล้วมันก็สร้างระบอบขึ้นมาใหม่   

สุดท้ายเราก็ต้องออกมาต้าน  พอต้านสักพักทหารออกมาอีก  มันก็วนอยู่อย่างนี้ไม่จบสิ้น

 

ให้จบโดยพวกเรา  ประชาชน กับระบบมันนี่แหละค่ะ 

ปล. ระบบทักษิณ เราหมายถึงคนที่หลงผิดชื่นชมทักษิณ  หรือพวกที่ยังหากินกับทักษิณอยู่ค่ะ




#1076782 รัฐมารค้างจ่ายเงินนานต้องให้ดอกเบี้ยชาวนาด้วยหรือไม่

โดย PHOENiiX on 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:50

โห..มองข้ามช็อตไปถึงดอกเบี้ย เงินต้นยังล่องหนอยู่เลย :lol:




#1071188 สอบถามด่วนๆครับ เรื่องพรุ่งนี้ใส่เสื้อสีส้ม

โดย พอล คุง on 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:33

จริง ๆ แล้ว ใข่สีอะไรก้อได้นะครับ

 

ผมว่า วิธีแก้ คือ ช่วยกันสวดมนต์กันคุณไสย์น่าจะเข้าท่ากว่า

 

เช้าพรุ่งนี้ก้อนิมนต์พระ มาสวนมนต์ เราก้อสวดมนต์เสด ก้ออธิฐานให้ประเทศพ้นภัย ขอให้ระบอบทักษิณหมดไปจากประเทศไทย

 

ผมว่าน่าจะเข้าท่ามากกว่า ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า พุทธคุณอีกแล้วครับ

 

และผมเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิืในประเทศต้องช่วยเราแน่นอนครับ

 

ปล แต่ถ้าอยากให้อุ่นใจก้อใส่เสื้อสีส้มก้อได้ครับ ไม่ว่ากัน

 

ผมจำได้ว่า สีส้มเป็นสีที่ดูดกลืนความชั่วครับ แล้วสะท้อนกลับไปยังคนที่คิดไม่ดีครับ ตามที่ผมพอรู้มา




#1070769 วันนี้ได้คุยกะเพื่อนสมัยมัธยม เรื่องถ้าเราแพ้อะคับ

โดย สัตยวาที on 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:47

ไม่อยากเป็นแบบนั้น  เราก็มีแต่ต้องสู้แค่หมดเท่านั้นแหละ  

 

สาเหตุที่วันนี้แพ้ยาก  เพราะคนตื่นรู้กันเยอะมาก  ซึ่งคนตื่นรู้นั้น  มองเห็นอนาคต

หากตระกูลชินอันชั่วช้านี้ยังครองเมือง การโกงกิน  ฉ้อฉล  คอรัปชั่น  ไม่มีวันลดลง  

มีแต่จะเพิ่มขึ้น  เพราะคนตระกูลชั่วนี้ไม่มีวันหยุดความละโมบลงได้  

ความละโมบ  ที่คนเลวเหล่านี้  กระทำได้อย่างหน้าตาเฉย  และกระทำหนักขึ้นทุกวัน   

 

 

คนตื่นรู้เหล่านี้  ย่อมไม่ยอมให้ลูกหลานตกจมลงในอนาคตอันมืดมน

ทุกคนที่ต่อสู้  สู้เพราะอยากให้เมืองไทยมีวันหน้า  วันหน้า่ที่มีอนาคต  

เพราะวันนี้มันมากเกินไปแล้ว  ถ้าเราไม่สู้วันนี้  โอกาสจะไม่มาถึงเราอีก

 

มวลมหาประชาชนมีแค่หมด  และต้องสู้เท่านั้น  

เพราะบ้านเมืองเลวทรามต่ำช้าแบบเก่า  ไม่มีใครยอมทนกับมันหรอก




#1061964 ศาล รธน. ไม่รับคำร้องเลือกตั้ง 2 กพ. เป็นโมฆะ

โดย คลำปม on 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:40

ร้องเร็วไปครับ  ต้องให้เปิดประชุมสภาไม่ได้ใน 30 วันเสียก่อน

 

บางทีคนร้องนี่ก็ออกหมัดมั่วไปนะ  แต่ก็ดีครับแดงได้เฮบ้าง

 

แล้วพอโดนจังๆอย่ามาว่าศาลก็แล้วกัน ท่านก็ว่าไปตามพยานหลักฐาน




#1061164 ดร.ปิยสวัสดิ์ ขึ้นเวทีปทุมวัน ทำให้พี่น้องที่ต้องการปฏิรูปพลังงานไม่พอใจ

โดย กรกช on 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 13:32

วันนี้ไม่ว่าเรื่องไหนๆในแนวทางปฏิรูปประเทศ มันก็ยังเกิดขึ้นไม่ได้ทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องปฏิรูปพลังงาน 

 

 

พูดเรื่องอื่นๆได้ ทำไมถึงพูดเรื่องปฏิรูปพลังงานด้วยไม่ได้ ? พูดแล้วมันเสียหายตรงไหน ?

ทั้งที่ยิ่งพูดมันก็จะยิ่งทำให้โอกาสชนะมีมากขึ้น คนจะเห็นด้วยอีกมาก เพราะได้รับผลกระทบทุกคน ทุกสีเสื้อ

 

แต่ถ้าแค่พูดยังไม่พูด แล้วจะไปคาดหวังอะไรได้ จะไปปฏิรูปจริงได้ยังไง ? จริงไหม ? นี่ว่ากันตามเหตุผล

 

 

ทักษิณน่ะ เราเคยไล่มาแล้ว ไม่มีแผ่นดินอยู่แล้ว แต่ทำไมราคาพลังงานยังแพง ? ตรงนี้ก็ฝากไว้ให้คิด

 

 

ดังนั้น วันนี้อำนาจอยู่ในมือเรา เราต้องการอะไร เราก็ต้องเรียกร้อง

อะไรดี เราก็สนับสนุน อะไรไม่ดี ก็ต้องทักท้วง ถ้าเอาแต่เข้าข้าง ปกป้อง มีแต่จะพัง

 

 

ความเห็นนี้ ไม่ได้ต้องการให้เกิดความแตกแยก แต่ถ้าเราเฉย ไม่เรียกร้องในสิ่งที่เราต้องการ ไม่ชี้นำ

ไม่ทักท้วงในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูก คอยแต่เดินตามแกนนำ 

สิ่งที่เราต้องการก็คงเป็นได้แค่ฝัน




#1060686 ดร.ปิยสวัสดิ์ ขึ้นเวทีปทุมวัน ทำให้พี่น้องที่ต้องการปฏิรูปพลังงานไม่พอใจ

โดย Yasuhiro on 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 06:13

โดยปกติประเทศต่างๆจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เข้าถึงแหล่งพลังงานเพื่อที่ประเทศตนเองจะได้มีต้นทุนด้านพลังงานต่ำ ทำให้เอกชนมีต้นทุนในการผลิต การดำเนินการต่ำ และสามารถแข่งในตลาดโลกได้ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐเขาก็ทำกันแบบนี้ แต่ของไทย เมื่อปตท. ครองส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 40 ทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเข้าข่ายการผูกขาด ซึ่งมันทำให้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในไทยไม่ใช่ราคาที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการครองชีพ การขนส่ง และการผลิต.
 

แน่นอนครับว่าผมเป็นอีกเสียงที่สนับสนุนให้มีการปฎิรูปเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ไม่ใช่ตอนนี้

 

การรบที่ยืดเยื้อ เราจะเอาชนะได้ก็ต่อเมื่อมีความอดทน ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค และไม่แตกแยกกันเอง

คิดต่างเป็นเรื่องปกติ แต่คิดต่างแล้วแตกแยก ผมอยากถามกลับไอ้คนพวกนี้ให้กลับไปคิดดีๆ ว่าที่จริงแล้ว เรากำลังตกหลุมที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามหาช่องยุแยงให้แตกแยกเพื่ออ่อนกำลังลงไปไหม

 

ถ้าคิดไม่ได้ แนะให้ร้องเพลงแปลง ที่ผมเห็นผ่านตาในเฟซบุ๊คไปพลางละกันเผื่อคิดได้

 

"เสี้ยมเข้าไป อย่าได้ถอย

พวกแม้วคอยเอาใจช่วยอยู่...."

 

ผมรอการปฎิรูปด้านความมั่นคงทางพลังงานหลังเสร็จศึกได้ แต่ผมรอไม่ได้ที่จะให้ประเทศนี้พังต่อไปเพราะระบอบแม้วยังพยายามยื้ออยู่ในอำนาจปกครอง และกระทำสิ่งเลวๆทุกเมื่อเชื่อวัน




#1060582 ดร.ปิยสวัสดิ์ ขึ้นเวทีปทุมวัน ทำให้พี่น้องที่ต้องการปฏิรูปพลังงานไม่พอใจ

โดย Stargate-1 on 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:11

การชุมนุมของมวลมหาประชาชน จึงไม่รีรอที่จะทวงถามและกดดันให้มีการปฏิรูประบบพลังงานในทุกด้าน โดยกรอบการปฏิรูปพลังงานเบื้องต้น ที่ “สภาปฏิรูปพลังงาน” เสนอมีทั้งหมด 9 ข้อ คือ
       
       1.หยุดให้สัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 21
       
        2.ให้มีการปฏิรูปราคาก๊าซฯและน้ำมันทุกชนิดให้สะท้อนต้นทุนจริง แทนการอ้างอิงราคาก๊าซ น้ำมัน ตามราคาตลาดโลก
       
       3.ให้ยกเลิกมติครม.ที่ปรับขึ้นราคาก๊าซฯ โดยหยุดขึ้นราคาก๊าซฯ และลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ลงทุนที่ 5-10 บาท/ลิตร
       
       4.จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีสัดส่วนของภาคประชาชนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการปฏิรูปพลังงานของประเทศในทุกด้านให้เป็นธรรม และแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้สัดส่วนสัมปทานมากกว่า 80% ให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมตรวจสอบปริมาณการขุดเจาะ การบริหารจัดการ แบะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 85,67,66(4) และ 78
       
       5.หยุดเอาเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้ปตท.และโรงกลั่นเนื่องจากเป็นต้นทุนเทียมและเป็นการค้ากำไรเกินควร
       
       6.ยกเลิกพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และแก้ไข พ.ศ. 2550 ฉบับ 5, 6 ที่อนุญาตให้ข้าราชการกระทรวงพลังงานไปเป็นบอร์ดหรือผู้บริหาร ปตท. และบริษัทลูก
       
       7.ยกเลิกการผูกขาดซื้อ ขาย ก๊าซ น้ำมัน โดยบริษัท ปตท.
       
       8.ยกเลิกการผูกขาดขายไฟฟ้าโดย กฟผ.
       
       9.สร้างกองทุนสวัสดิการประชาชนจากปิโตรเลียม เพื่อให้การศึกษาเยาวชนถึงปริญญาตรีฟรีสวัสดิการแก่คนยากจน แก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ
       
       ภายใต้กรอบการปฏิรูปพลังงานข้างต้น คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กองทัพประชาชนฯ และตัวแทนจากสภาปฏิรูปพลังงาน ได้ออกแถลงการณ์และยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา ให้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีสัดส่วนของภาคประชาชนกึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด เพื่อจัดทำนโยบายและแผนการปฏิรูปพลังงานของประเทศไทยในทุกด้านให้เป็นธรรม
       
       นอกจากนั้น ยังขอให้ลดราคาน้ำมันเบนซินลง 10 บาทต่อลิตร และแก๊สโซฮอล์ 5 บาทต่อลิตร ขอให้รัฐบาลหยุดการขึ้นราคาและน้ำมัน ขอให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.ที่ให้อ้างอิงราคาก๊าซและน้ำมันตามราคาตลาดโลกโดยเปลี่ยนมาใช้ราคาที่สะท้อนต้นทุนจริง และมีกรรมการสามฝ่ายเป็นผู้พิจารณาราคาเหมือนค่าโดยสารรถยนต์ และขอให้หยุดเลือกปฏิบัติโดยให้ภาคปิโตเคมีจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นอีก 12 บาทต่อกก. และให้แก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฯลฯ
       
       ขณะเดียวกัน ยังมีข้อเสนอแนวทางการปฏิรูประบบพลังงานของประเทศไทยที่แชร์กันในเครือข่ายรณรงค์ปฏิรูปพลังงานผ่านหัวหอกคนสำคัญ อาทิ หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระ, อิฐบูรณ์ อ้นวงศา จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อีกด้วย โดยมีข้อเสนอ คือ
       
       1. ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นการจัดเก็บเงินจากประชาชนและใช้จ่ายเงินที่ไม่ผ่านการตรวจสอบของระบบรัฐสภา มีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ และไม่มีความจำเป็นแล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีความเป็นธรรมต่อประชาชนมากขึ้น
       
       2. ยกเลิก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และออกกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่เปลี่ยนระบบการให้สิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต
       
       2.1 ในกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ให้มีการจัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติขึ้น เป็นองค์กรของรัฐจะนำมาขายหรือกระจายหุ้นเปลี่ยนแปลงเป็นเอกชนไม่ได้ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแทนกระทรวงพลังงาน (ไม่ใช่ ปตท. เพราะถูกแปรรูปเป็นเอกชนไปแล้ว)
       
       2.2 ให้รัฐโดยบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมทั้งหมดของประเทศทั้งใต้ดินและที่ขุดขึ้นมาได้ รวมทั้งเป็นเจ้าของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติในส่วนที่เคยเป็นของรัฐแล้วถูก ปตท. ถือครองแทน
       
       2.3 เอกชนที่ได้สิทธิเข้าดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอยู่ในฐานะผู้รับจ้างมิใช่ผู้รับสัมปทาน จะได้รับค่าตอบแทนจากรัฐเป็นปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นธรรมภายใต้การควบคุมของรัฐ
       
       3. ให้พัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงทางอ้อม โดยคุมสัดส่วนการถือครองหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของ ปตท. และบริษัทในเครือ ไม่ให้เกิน 30%
       
       4. แก้ไข พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ.2535 ให้มีสัดส่วนของนักวิชาการที่มาจากการสรรหาของประชาชน และตัวแทนประชาชนเกินกึ่งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศมากขึ้น
       
       5. ให้ออกกฎหมายพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ที่มีหลักการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ สามารถขายเข้าระบบไฟฟ้าได้ก่อนพลังงานกลุ่มฟอสซิล โดยไม่มีการจำกัดปริมาณ เป็นสัญญาระยะยาว เพื่อปรับทิศทางการใช้พลังงานหลักของประเทศเป็นพลังงานหมุนเวียนในท้ายที่สุด
       
       อย่างไรก็ตาม ประเด็นร้อนเร่งด่วนในเวลานี้คือ การให้สัมปทานน้ำมันที่กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการ ซึ่งนางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์ปรามให้กระทรวงพลังงาน “หยุดลักไก่ให้สัมปทานน้ำมันช่วงวิกฤติของบ้านเมือง” โดยแฉว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานอาศัยช่วงชุลมุนทางการเมืองของประชาชนเตรียมเสนอบอร์ดปิโตรเลียมให้เปิดสัมปทานรอบที่ 21 ในช่วงขึ้นปีใหม่ 2557 โดยไม่ยอมปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยส่วนแบ่งผลผลิตเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับส่วนแบ่งที่เป็นธรรมก่อนจะเปิดสัมปทานรอบใหม่
       
       ระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่ประเทศใช้อยู่ตามกฎหมายปิโตรเลียม พ.ศ 2514 มีการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ในปี 2532 เพียงครั้งเดียวโดยเปลี่ยนแปลงค่าภาคหลวงจาก 12.5% เป็นการเก็บแบบขั้นบันได 5-15% ซึ่งในขณะนั้นราคาน้ำมันดิบมีราคาประมาณ 18 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบมีราคา 100-120 เหรียญต่อบาร์เรล แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังยืนยันว่าระบบที่ใช้อยู่เป็นส่วนแบ่งที่เหมาะสมแล้ว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ทั้งพม่า กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ล้วนเปลี่ยนมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต (Production หรือ Profit Sharing) แทนระบบสัมปทาน (Concession) ทั้ง 2 ระบบต่างกันที่เรื่อง “กรรมสิทธิ์” ปิโตรเลียมว่าเป็นของรัฐหรือเอกชน
       
       1) ระบบสัมปทาน กรรมสิทธิ์เป็นของเอกชน เมื่อเอกชนรายใดได้รับสัมปทานปิโตรเลียมจากรัฐบาล กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ขุดได้ จะตกเป็นของเอกชนทั้งหมด และเอกชนจ่ายผลตอบแทนให้รัฐบาลเป็นส่วนน้อย เมื่อเอกชนเป็นเจ้าของผลผลิตปิโตรเลียม ตามกฎหมายปิโตรเลียม 2514 จึงสามารถส่งออกปิโตรเลียมที่ตนเองขุดได้ในประเทศไทยเท่าไหร่ก็ได้ และเวลาขายให้คนไทยก็ขายในราคาเท่ากับนำเข้าจากต่างประเทศ
       
       2) ระบบแบ่งปันผลผลิต กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ เอกชนเป็นเจ้าของเฉพาะส่วนแบ่งที่ได้รับ เอกชนหักค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะแล้ว ส่วนที่เหลือคือกำไรที่ต้องนำมาแบ่งกัน และรัฐบาลทุกประเทศจะได้ส่วนแบ่งมากกว่าเอกชน อินโดนีเซีย จะได้ส่วนแบ่งที่รวมภาษีแล้ว 85% ในส่วนผลผลิตที่หักค่าใช้จ่ายการขุดเจาะแล้ว และเอกชนได้ส่วนแบ่ง 15% และในส่วนแบ่งปิโตรเลียม 15% นั้น เอกชนต้องขายคืนให้รัฐจำนวน 25% ในราคาลด 25% จากราคาตลาดโลก พม่าได้ค่าภาคหลวง10% และหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเอาส่วนแบ่งกำไรอีก 50-80% และภาษีอีก 30% ส่วนกัมพูชา ได้ค่าภาคหลวง 12.5% และได้ส่วนแบ่งกำไรอีก 40-60% และภาษีอีก 30% ส่วนประเทศไทยได้ค่าภาคหลวง 5-15% และภาษีเงินได้ 50% ไม่มีส่วนแบ่งผลผลิตหรือกำไร ได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอีกเล็กน้อย
       
       ระบบของประเทศอินโดนีเซียเป็นต้นแบบการจัดการส่วนแบ่งรายได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทยนำไปใช้ ยกเว้นประเทศไทยยังคงยืนหยัดจะใช้ระบบเดิมที่ใช้มาเป็นเวลา 42 ปี ซึ่งเป็นระบบของยุคล่าอาณานิคม ที่เจ้าอาณานิคมได้ทรัพยากรทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ และจ่ายเงินตอบแทนเพียงเล็กน้อยให้ประเทศเจ้าของทรัพยากร
       
       ระบบแบ่งปันผลผลิต กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมเป็นของประเทศและประชาชน ถ้ารัฐบาลขายประชาชนในราคาถูก ประชาชนได้ประโยชน์ ระบบเศรษฐกิจมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่ถ้ารัฐบาลขายราคาสูง รัฐบาลจะได้รายได้เพื่อเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ โดยไม่ต้องกู้ หรือกู้น้อยลง ไม่เป็นภาระกับประชาชนแต่ระบบสัมปทานของไทย เอกชนได้กำไรสูง ประชาชนต้องใช้ราคาก๊าซและน้ำมันแพง โดยรัฐได้ส่วนแบ่งรายได้ที่ไม่เป็นธรรม แต่กระทรวงพลังงานยืนหยัดไม่ยอมเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อให้ประเทศ และประชาชนได้ประโยชน์จากส่วนแบ่งปิโตรเลียมที่เป็นทรัพยากรของประเทศก่อนที่จะเปิดสัมปทานรอบใหม่ รอบที่ 21 และยังจะอาศัยช่วงประชาชนชุลมุนเปิดสัมปทานภายในปลายปี 2556 ต่อช่วงต้นปี 2557
       
       ส.ว.รสนา ได้เรียกร้องให้กระทรวงพลังงานหยุดการดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีการปฏิรูประบบการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่คัดค้านการเปิดสัมปทานรอบ 21 ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเลื่อนการเปิดสัมปทานรอบ 21 ออกไปจากที่กำหนดไว้เดิมในเดือนมิถุนายน 2554 และให้หยุดฉ้อฉลใช้วิกฤตของบ้านเมืองเป็นโอกาสในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของเอกชนมากกว่าประเทศชาติและประชาชน บัดนี้ประชาชนจำนวนมหาศาลได้ตื่นตัวขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ปิโตรเลียมของพวกเขา และเฝ้าจับตากลุ่มธุรกิจการเมือง กับข้าราชการที่ฉ้อฉลไม่ให้ฉวยโอกาสปล้นชิงทรัพยากรของประชาชนอีกต่อไป
       
       พอเจอไม้นี้เข้า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ออกมาชี้แจงโต้ตอบแถลงการณ์ของ ส.ว.รสนา โดยยืนยันเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แม้จะอยู่ในช่วงรัฐบาลรักษาการณ์ เพราะถือเป็นไปตามแผนงานปกติ คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ายื่นขอสัมปทานช่วงมิถุนายน 2557 และการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะใช้ระบบสัมปทานต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตก็ตาม โดยอ้างว่าจะเป็นระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิตกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมไม่ได้มีความแตกต่างกัน และอธิบายเป็นคุ้งเป็นแควว่า ระบบผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้สัมปทานนั้นดีเลิศอยู่แล้ว <--- หมอระวีพา กปปส. บุกเข้าพบ ให้เจ้าหน้าที่ เซ็นรับว่า จะหยุดดำเนินการใดๆเพื่อการให้สัมปทาน ไปเรียบร้อยแล้ว
       
       ช่างเป็นท่าทียืนหยัดหนักแน่นในการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานเสียยิ่งกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โดยไม่นำพาว่าประเทศอื่นทั่วโลกแม้แต่เพื่อนบ้านที่ไทยอวดตัวว่าเหนือกว่าอย่างกัมพูชา พม่า ก็ยังชาญฉลาดและมีสติปัญญามากกว่าไทยในการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรของชาติที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ




#1060477 ดร.ปิยสวัสดิ์ ขึ้นเวทีปทุมวัน ทำให้พี่น้องที่ต้องการปฏิรูปพลังงานไม่พอใจ

โดย Stargate-1 on 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:32

คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)

ตามคําสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 4/2545 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กําหนดให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานประกอบด้วย
(1) ประธานกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(2) กรรมการ ได้แก่ ปลัดกระทรวงพลั งงาน ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยมีผู้อำ นวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็น กรรมการและเลขานุการ

 

ขอบเขตอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
คําสั่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 4/2545 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2545 กําหนดอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานไว้ดังนี้

(1) เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนา และมาตรการด้านพลังงาน
(2) เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านพลังงานของหน่วยงาน รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดลําดับความสําคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย
(3) กําหนดราคาและอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกรอบและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
(4) เสนอแนะนโยบายและมาตรการทางด้านราคาพลังงาน และกํากับการเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
(5) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และ มาตรการอื่นๆ ที่จะออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(6) ขอให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่ น รัฐวิสาหกิจ หรื อบุคคลใดๆ เสนอรายละเอี ยดทางวิชาการ การเงิน สถิติ และเรื่องต่างๆ ที่จําเป็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศได้
(7) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติหรือประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมาย
(8) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ตามความจําเป็น

 

http://www.eppo.go.t...o/kbg/list.html

 

ประกาศกบง..JPG

 

คุณอิฐบูรณ์บอกว่า กบง.เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ทำให้เกิดการผูกขาดราคาน้ำมัน




#1060161 (ระบาย)ขอถามจริงๆครับ เกี่ยวกับความคิดของคนสมัยนี้

โดย ของแท้ตราแมวขี่ควายแดง on 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 19:22

ถ้าจะคอยดูผม คงต้อรู้จักกันมากกว่านี้ละมั้งครับ ประสาเว็บบอร์ดทั่วไป จะรู้แก่นแท้คนได้อย่างไร

 

 

แค่ให้รู้ว่าเรามีพ่อหลวงองค์เดียวกัน  ที่เราจะรัก เคารพและจะปกป้อง ก็พอแล้วครับ ไม่จำเป็นที่เราต้องรู้จักกัน 




#1060261 (ระบาย)ขอถามจริงๆครับ เกี่ยวกับความคิดของคนสมัยนี้

โดย sunflower on 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 20:12

 

ถ้าจะคอยดูผม คงต้อรู้จักกันมากกว่านี้ละมั้งครับ ประสาเว็บบอร์ดทั่วไป จะรู้แก่นแท้คนได้อย่างไร

 

 

แค่ให้รู้ว่าเรามีพ่อหลวงองค์เดียวกัน  ที่เราจะรัก เคารพและจะปกป้อง ก็พอแล้วครับ ไม่จำเป็นที่เราต้องรู้จักกัน 

 

ครับผม ยินดีครับ




#1058906 จะคุยเรื่อง พลังงาน ให้ไปคุยไกล ๆ จากเวที กปปส. ได้มั๊ย

โดย Stargate-1 on 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:55

ผู้ใหญ่สาธิต ประกาศบนเวทีแล้ว ว่าจะจัดโต๊ะกลม ในหัวข้อ

 

"คนไทยใช้พลังงานแพง ขณะที่ปตท.กำไร แสนล้าน"

 

วันพุธนี้ 10 โมงเช้าที่หอศิลป์กรุงเทพฯ

 

ได้ออกหมายเชิญวิศวกรและผู้รู้ไปแล้ว 30 คน เชิญเข้าร่วมสัมนาและมีส่วนร่วมในวงเสวนานี้ได้

หลังจากที่กลุ่มสาขาสุขภาพได้ทำไปแล้ว คราวนี้ก็เป็นของกลุ่มวิศวกร

 

 

เสียใจด้วย หมายกำหนดการ ออกไปแล้ว เมื่อไม่นานนี้เอง   :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol: 
 




#1058838 กปปส สุเทพ และ ปชปพูดเรื่องปฏิรุปพลังงาน จัดการ ปตทและก๊าชนํามันในประเทศได้แล้ว

โดย Stargate-1 on 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:05

แค่ เอาชื่อ Chase nominee, กองทุนวายุภักษ์ กับ NVDR แล้วอ้างว่าเป็นของทักษิณ ....ขำๆ มากกว่ามั๊ง...เอาใบโอนหุ้นหรือใบโอนเงินมาแสดงหน่อยครับ...หยุดมั่วข้อมูลได้แล้ว...ทักษิณโอนเงินเข้า Chase กับ กองทุนวายุภักษ์ เมื่อไร จำนวนเท่าไร ละครับ มีหลักฐานหรือเปล่า...

 

วันก่อนก็มีคนมาอ้างว่าทักษิณขายหุ้น ปตท ไปตอนราคา 160 บาท พอถามหาหลักฐาน ใบเสร็จขายหุ้น ไม่มีเลย แสดงว่านั่งเทียนเขียนเอาทั้งนั้น...

 

ไอ้หนู กลับดูใหม่ดีกว่า ใครบอกอะไร เอ็งรู้อะไร บ้าง แก๊ศโซฮอล์ ยังไม่รู้จักเลย :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:

 

เขาซื้อขายไปหมดแล้ว เอาตอนแรกเลย มีข้อมูลดังนี้

ใครจะรักชาติหรือขายชาติอย่างแท้จริง ไม่ต้องขอเวลาพิสูจน์กันใหม่ การกระจายหุ้น ปตท.เห็นกันชัดๆ! หน็อยแน่ พอเปิดจอง ญาติพี่น้อง พวกพ้องนักธุรกิจการเมืองกวาดหุ้นกองใหญ่ไปก่อนใคร จากราคา 35 บาท ตอนนี้ขายสูงกว่า 160 บาท หลังจากเคยกระฉูดไปถึง 190 บาท
แม่เจ้าโว้ย! ไม่รวยชาตินี้ แล้วจะแฮปปี้ชาติไหนอีก?

ตัวอย่างของการแปรรูปที่ชวนน้ำลายหก

นี่ไงครับรายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท.
ตัวอย่าง 4 ใน 6 รายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท มากสุดซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น
1. นายทวีฉัตร จุฬารกูร หลานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เลขาธิการพรรคไทยรักไทย) 2,200,000 ล้านหุ้น
2. นายประยุทธ มหากิจศิริ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 2,000,000 ล้านหุ้น
3. นายดิษฐพล ดำรงรัตน์ ญาติ นพ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 1,700,000 ล้านหุ้น
4. นายสุธี มีนชัยนันท์ ญาตินายวิชาญ มีนชัยนันท์สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 300,000แสนหุ้น
จริงๆแล้ว 6 อันดับแรกนั้นได้หุ้นทั้งหมด 16 ล้านหุ้น มูลค่าขณะนั้นมีมูลค่าเพียง 385 ล้านบาท แต่2ปีถัดมามีมูลค่าถึง 1,377 ล้านบาทแล้ว ดูแค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่าทำไม ทรท ถึงอยากนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้นนัก แล้วนี่ก็คือเหตุผลที่นายยกไม่กล้าเผชิญหน้ากับกลุ่มประท้วง แบบนี้ไม่เรียกว่าขายชาติแล้วจะขายอะไรครับ
แหล่งข้อมูล: นสพ. ไทยรัฐ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 หน้า 19 หัวข้อทักษิณกร้าว แหล่งข่าวนี้ไม่กล้าเปิดเผยถึง 2 ผู้ถือหุ้นที่เหลือคือใคร?? แต่จำนวนที่หุ้นที่หักล้างจากจำนวนหุ้นของสี่บุคคลข้างบนนี้ก็คือ 2 ราย ที่เหลือนั้นถือหุ้นถึง 9.8ล้านหุ้น

 

น้ำมันสำเร็จรูป ก็ให้นำเข้ามาซิ ไม่ได้อ่านอะไรเลย กลับไปดูเรื่องน้ำมัน G-Base ก่อนดีกว่า คืออะไร ทำไม TOP ไม่อยากผลิต แล้วค่อยมาพูดเรื่องน้ำมันพอใช้ไหม ลองไปคำนวณดูว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ในประเทศใช้เท่าไหร่ แล้วไบโอดีเซล ในประเทศใช้เท่าไหร่ ส่วนเบนซินประเทศไทย ประกาศแต่น้ำมันเบนซิน 95 (ไม่ประกาศราคา เบนซิน 91 แล้ว)  ก็ให้นำเข้ามาโดยเสรี ไม่เก็บภาษีนำเข้า ยกเลิกกองทุนน้ำมัน  ราคาก็จะลดลง ส่วนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลืก็จะลดลงตามราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมัน G-Base ที่ลดลง เนื่องจากไม่ต้องอ้างอิงราคาตลาดโลกแล้ว เพราะไม่มีการลักลอบนำออกน้ำมัน G-Base

 

ปตท.มันแสบขนาดไหน ก็ดูจากข้างบน เช่น การขายแอลพีจีให้บ.ลูก แล้วไปเอาเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมัน ทำให้เงินกองทุนน้ำมันติดลบ ที่เขาประท้วงปตท. เพราะมันผูกขาด แล้วขายน้ำมันแพง ดูที่คลิปในหน้าแรก http://www.youtube.c...h?v=KxoiXrELvyk

 

การกระจายหุ้น มันผิดขั้นตอน ต้องทำใหม่ ตั้งแต่ต้น เหมือนเริ่มสตาร์ทออกวิ่งใหม่ เพราะคนออกวิ่งก่อน  ไม่อ่านอะไรเลย

 

 

 

OK ...นักการเมืองพรรคเพื่อไทย 4 คน ได้รับการจัดสรรหุ้นรวมกัน 6.2 ล้านหุ้น แต่ว่าแหล่งข่าวอ้างว่า (จริงหรือนั่งเทียนเขียนไม่รู้) มีอีก 2 คนซึ่งไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ ได้หุ้น 9.8 ล้านหุ้น...สมมติว่าข้อมูลนี้ถูกต้อง...
 
กระทู้ 69 ที่อ้างว่าทักษิณมีหุ้น 999 ล้านหุ้น ก็เป็นข่าวกุขึ้นมา...ท่าน จขกท 78 บอกว่าขายไปแล้วตอน 160 บาท อาจจะเป็นข่าวกุตามเว็บก็ได้...หรืออาจจะขายตอน 30 บาท 50 บาท หรือ 300 บาท ไม่มีใครทราบหรอกครับ....คนจะกุเรื่องก็กุได้ทั้งนั้น...
 
ผมไม่ต้องการจะปกป้อง ทักษิณหรือปตท นะครับ แต่อยากสะท้อนภาพว่า กลุ่มที่เรียกร้องยึด ปตท นี่ ข้อมูลบิดเบือน ไม่มีน้ำหนัก เยอะมากจนคนส่วนใหญ่เลยไม่ให้ความสนใจนะครับ...การเผยแพร่ข่าวกุ ข่าวเท็จ มักบั่นทอนความเชื่อถือของ ผู้แพร่ข่าวนะครับ ...ยิ่งบิดเบือนข้อมูลมากเท่าไร คนก็ยิ่งรู้มากเท่านั้น...

ยังมีอีก 2 รายที่ไม่เปิดเผยชื่อ แค่เท่าที่เห็นก็แย่แล้ว ในNVDR ในบ.นอมินี ในวายุภักษ์ ในตอนนั้น มันถืออยู่ในนั้นเท่าไหร่ ให้อำนาจใครไปตรวจสอบ กิตติรัตน์ หรือไง แล้วมาถึงตอนนี้จะให้ใครตรวจสอบ   ปปง. หรือ คตส.กลับมาตรวจสอบให้ อำนาจในการตรวจสอบต้องระดับคตส. เพราะ มีอำนาจทะลุทะลวงไปได้ทุกแห่ง ขอข้อมูลได้หมด แต่ปัจจุบันก็มีแต่ ดีเอสไอ ที่มีอำนาจเท่าคตส. ให้ธาริตมาทำดีไหม
 
ขายไปตอน 160  หรือ ตอนนี้ราคาสูงกว่า 160 ถ้าขาย ก็ได้กำไรอื้อแล้ว เคยขึ้นไป 190 

ตอนนี้ หุ้นใน บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด กองทุนวายุภักษ์ CHASE NOMINEES LIMITED เป็นของใครบ้าง
 
การซื้อขาย เขามีเทคนิค ในการปั่นหุ้น ที่รู้ๆ หุ้น TOP ของ ไอ้โอ๊ค มันปั่นขึ้นไป เกือบ 100 บาท แล้วตอนนี้น้ำมัน ก็มีราคาไม่ต่างกันมากนัก หุ้นเกิน 90 บาทไหม 
 
การเอาหุ้นกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจแบบเดิมก่อนแปรรูป เขาเรียกว่าอะไรล่ะ เรียกว่ายึดปตท.คืนไหม ถ้าศาลตัดสินให้การกระจายหุ้นเป็นโมฆะ ก็ต้องกลับไปเป็นสภาพเดิม ก่อนกระจายหุ้น จะเป็นสถานภาพไหนกันล่ะ  หากกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็เรียกว่ายึดคืน ใช่ไหม หากกลับมาเป็น บ.มหาชน ก็เริ่มกระจายหุ้นกันใหม่ 
 
ที่อธิบายมาเรียกว่าบิดเบือนไหม

แล้วสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (สร.ปตท.)

 http://www.pttunion.com/ หายไปไหน ไม่เคยออกมาต่อสู้กับกปปส.เลย

 




#1055248 ถามเสื้อแดง อีกแล้ว

โดย zutto on 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10:50

ใครจะค้าน พวกมันก็ไม่สนหรอก มันเป็นทางหาแดรกของพวกมันนี่นา




#1054984 "ดร.อภิสิทธิ์" จบถึงออกฟอต ทำไม "โง่ คณิตศาสตร์"

โดย -โต- on 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 01:01

ขอตอบข้อ 1 นะ

 

ไม่มีเลือกตั้งครั้งไหนมีผู้ใช้สิทธิ์ 100% ถูกครับ แต่จะตัดคนที่ไม่เคยมา 25.1% ไม่เอามาคิดไม่ได้ ต้องบอกว่าคนพวกนี้คือคนที่ปฏิเสธการเลือกตั้งมาแต่ไหนแต่ไร

อย่าลืมว่า การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ให้เป็นหน้าที่นะครับ ฉะนั้นคนที่ไม่ไปก็คือคนไม่สนใจ ไม่แคร์ มันแปลว่า การเลือกตั้งไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตพวกเค้า นั่นก็คือ

คนพวกนี้ไม่เอาการเลือกตั้ง การที่ กปปส รณรงค์ให้คนไม่เอาเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจาก 25% ไปเป็น 54% จริงอยู่แม้ว่าจะได้เพิ่มมา ประมาณ30% ก็จริง แต่ความเป็นจริง

ที่ว่าคนไม่เอาเลือกตั้งมากกว่า 50% ก็ยังเป็นความจริงอยู่ดี ตามหลัก1 สิทธิ์ 1 เสียง จริงไหม? ถ้าไม่นับคนพวกนี้ก็แปลว่า คน 75% มีมากกว่า 1 สิทธิ์ 1 เสียงซิ

 

ข้อ 2

การเลือกตั้งมีการขัดขวาง ถ้าดูข้อเท็จจริง หน่วยไหนถูกขัดขวาง ก็ถูกปิดหน่วยไม่เอาคะแนนมาคิด

ข้อเท็จจริงต่อมาคือ การขัดขวางการเลือกตั้งจะทำได้ ก็ต้องมีคนร่วมด้วยเยอะ มันแปลว่า หน่วยนั้นมีพวก กปปส เยอะ ถ้าเปิดหน่วยได้ แนวโน้ม คนไม่ไปใช้สิทธิ์

จะมากขึ้นอีก % ก็จะมากขึ้นอีก

 

ว่าด้วยเรื่องข่มขู่ เอาเข้าจริง มีการข่มขู่ว่าถ้าไม่ไปจะเสียสิทธิ์มากกว่า ข่มขู่ว่าไปแล้วจะอันตรายเสียอีก

เรื่องข่มขู่อย่าเอามาอ้างเลย

 

ข้อ 3 ไม่ตอบนะ ไร้สาระ เอาเป็นว่า บางคนไปเลือกตั้งเพราะอยากไปเขียนด่าให้มันสะใจ พวกไม่เลือกใครก็ไปเพราะไม่อยากเสียสิทธิ์

ฉะนั้นเลือกตั้งคราวนี้ต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายและวิธีการของตนเอง แต่ผลที่ออกมาอย่าเอามาบิดพริ้วครับ