Jump to content


pornchokchai

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2557 16:47
*----

#737613 ขอแนะนำตัว ดร.โสภณ พรโชคชัย (ผมเองครับ)

โดย pornchokchai on 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 10:42

แค่นี้พอไหมครับ

 

 

Research Papers  

Housing Market End 2007, Agency for Real Estate Affairs, January 2008, 700 pp.
Housing Market Mid 2007, Agency for Real Estate Affairs, July 2007, 650 pp.
Housing Market End 2006, Agency for Real Estate Affairs, January 2007, 550 pp.
Housing Market Mid 2006, Agency for Real Estate Affairs, July 20066 520 pp.
Housing Market End 2005, Agency for Real Estate Affairs, January 2006, 500 pp.
Housing Market Mid 2005, Agency for Real Estate Affairs, July 2005, 450 pp.
Real Estate Market End 2004, Agency for Real Estate Affairs, January, 2005, 400 pp.
Housing Market Mid 2004, Agency for Real Estate Affairs, July 2004, 300 pp.
UN-Habitat Global Report on Human Settlements 2003: Slums and Poverty in the City, City Report: Bangkok,
     Development Planning Unit, University College London, July 2002, 25 pp.
Thailand Property Outlook 1999, Agency for Real Estate Affairs, January 1999, 240 pp. (English & Thai)
Real Estate Market Outlook 1998, Agency for Real Estate Affairs, November 1997, 500 pp.
Investment in Provincial Housing, Bangkok: Agency for Real Estate Affairs, March 1995, 200 pp (Thai)
Housing Market Direction, 1995, Bangkok: Agency for Real Estate Affairs, December 1994, 250 pp(Thai)
Low-cost Condominiums: Direction of Investment, Bangkok: Government Housing Bank, July 14, 1995, 76 pp. (Thai)
The Real Home Buyers, Bangkok: Agency for Real Estate Affairs, April, 1993, 100 pp. (Thai) also presented at the
     Seminar on The Real Home Buyers, The Hilton, April 1, 1993
Market Direction: Housing Development in Bangkok, Bangkok: Agency for Real Estate Affairs, October, 1992, 290 pp.
     (Thai) also presented at the Seminar on Housing Direction 1993, The Regent, October 21, 1993
54 Prime Development Locations of Bangkok, 1992-1997, Bangkok: Agency for Real Estate Affairs, 100 pp.
     (Thai & English) also presented at the Seminar on 54 Prime Locations, the Regent, April 17, 24, 1993
Valuation and Financial Feasibility of Klong Lad Prao Site, Paper submitted to the Steering Committee, Study of
     Options for Financing Infrastructure Expansion, March 1991
Metropolitan Fringe Development: Case Study in Bangkok, Thailand (with Suwatana Thadaniti), Case Studies on
     Metropolitan Fringe Development with Focus on Informal Land Subdivisions, New York. UN.ESCAP, 1990, p.42-47
Final Report: Land Use in Bangkok with Focus on Fringe Land Development (with Assoc. Prof. Suwatana Thadaniti),
     Country research paper submitted to ESCAP, 1988, 120 pp.
Final Report: Feasibility Study for the Expansion of the Lad Krabang Industrial Estate Expansion Project (with others),
     Research paper submitted to the Industrial Estate Authority of Thailand, 1988, 100 pp. (Thai)
Chumchon Poe-torng: the Result of a Decade of Success Over Slum Eviction with the People's Own Effort, Bangkok:
     School of Urban Community Research and Actions, 1987, 8 pp.
Slum Growth: Migration Is Not the Culprit, Bangkok: School of Urban Community Research and Actions, 1987, 12 pp.,
     and also in Bangkok Post, December 6, 1987
Working Paper No.4: Bangkok Slum Lands: The Policy Implications of Recent Findings (with S. Angel), Bangkok:
     Bangkok Land Management Study, Mar. 1987, 12 pp.
Working Paper No.5: The Informal Land Subdivision Market in Bangkok: A Preliminary Investigation (with S. Angel),
     Bangkok: Bangkok Land Management Study, Mar. 1987, 23 pp.
Survey of Handicapped Children in Klong Toey Slum (with Mark Bennis), Bangkok: School of Urban Community
     Research and Actions, 1986 (English version - 368 pp., Thai version - 358 pp.)
Community Participation in Human Settlements Work in the ESCAP Region, Paper submitted to the UNCHS-ESCAP
     Joint Unit on Human Settlements, December, 1985, 36 pp.
A Study of House-renters in Four Bangkok Slum-housing settlements, (An M.Sc. Thesis HS.84-20, AIT, 321 pp.)
Feasibility Study: Two Possible Alternatives to Soi Intamara 10 Community (jt.au.), Unpublished report, Division of
     Human Settlements Development, AIT, 1983
An Evaluation Report: The Development of Slum Dwellers in Cheur Ploeng Slum (jt.au.), Unpublished report submitted
     to Redd Barna, May 1983, 152 pp. (Thai)
Social Work and Politics, Unpublished study, Faculty of Social Administration, Thammasat University, 1980, 111 pp.(Thai)

  top.gif Conference Papers  

Baan Mankong: Slum Solution or Fiasco? (earning the Best Abstract Award as well). Presented at the 2010 Joint World
     Conference on Social Work and Social Development, Hong Kong. June 10-14, 2010.
ASEAN Real Estate. Presented at the Penang Real Estate Expo, Institute of Estate Agent, Malaysia, Penang Branch,
     March 19, 2010.
Disasters and the Shocks of Property Prices. Presented at the 15th Congress of the ASEAN Valuers Association,
     May 7-9, 2008.
Towards Mutual Recognition through CPD. Presented at the 15th Congress of the ASEAN Valuers Association,
     May 7-9, 2008 (with Prof.Niputh Jitprasonk)
Housing in Ho Chi Minh City & Lessons Of World’ Real Estate Cycles. Presented at the Vietnam Real Estate Seminar
     conducted by the Thai Appraisal Foundation, Ho Chi Minh City, November 26, 2007.
Village-based Joint Investment. Presented at the Asian Forum on Corporate Social Responsibility, September 27, 2007,
     16:00 - 17:30, Ho Chi Minh City
Valuation of Bo Fai Airport.  Presented at the International Conference on Valuing Infrastructure and Utility Properties
     conducted by the Thai Appraisal Foundation, Bangkok, July 23, 2007.
The Appraisal Foundation and its Roles in Worldwide Standards. Presented to the International Advisory Board,
     The Appraisal Foundation. October 2006, Washington D.C.
Roadmap for the Development of Valuation Professional in Developing Countries, presented at the World Valuation
     Congress, May 9-11, 2006, Kuala Lumpur, Malaysia.
Thai Real Estate Markets: Some Good Examples and Lessons to The World, present at the Asia-Pacific Real Estate
     Congress, September 28-30, 2005, Osaka, Japan.
International Development of Valuation Profession: A Challenge, presented at the 70th Annual International Conference
     of the International Association of Assessing Officers (IAAO), September 20, 2005, Anchorage, Alaska, USA
Comparative Study of Housing Development in Jakarta and Bangkok, presented at a workshop organized by Institut
     Teknologi Properti Indonesia, September 13, 2005, Jakarta, Indonesia.
International Workshop: Valuation In Vietnam, Status-Quo, Problems And Solutions, presented at an international
     workshop organized by the Ministry of Finance, Vietnam, June 10, 2005, Hanoi, Vietnam.
Transparancy and Accountability In The Public Asset Valuation & Management in Thailand, presented at a conference
     organized by MAPPI, GAPPI and INKINDO, June 8, 2005, Jakarta, Indonesia
Bangkok’s Private-Sector Housing Developers Struggling in the Aftermath of the 1997 Financial Crisis: Diagnosis and
     Analysis (with Rajith Perera and Karl E. Weber), presented at the 22nd Pan Pacific Congress of Real Estate
     Appraisers, Valuers and Counselors, October 18-21, 2004, Taiwan, ROC.
Exploring Non-Traditional and Alternative Areas of Work for Valuers in Thailand, Survey, Research, IT, GIS-CAMA,
     Education, and Publications (with Pratak Simapichaicheth), presented at the 13th Congress of the ASEAN Valuers
     Association, September 13-15, 2004 in Kuala Lumpur, Malaysia
Evaluating the Latest Real Estate Developments in Thailand, presented at the Terrapinn Conference, June 29-30, 2004,
     Singapore, 18pp.
CAMA and GIS Practices in Thailand, presented at the Pacific Rim Real Estate Society (PRRES) Conference,
     January 24-28, 2004, Bangkok, 15 pp.
Bangkok Housing Market after the 1997 Economic Crisis: the Testimony off the Developers (with Ranjith Perera),
     presented at, the Asia Pacific Housing Research Conference, July 1-4, 2003, Kuala Lumpur, 21pp.
Lessons Learnt from Housing Speculation in Bangkok, presented at the 9th Congress of the Pacific Rim Real Estate
     Society (PRRES), January 19-22, 2003, Brisbane, 14 pp. .
Regulating Real Estate Professionals in Asia and Pacific, presented at the Annual Conference of the ARELLO, Kansas City,
     4 pp. .
Modeling Land Value Estimate in A Land Readjustment Scheme in Thailand, presented at the 12th Congress of the
     Asean Valuers Association (AVA), Hichiminh City, September 24-26, 2002, 12 pp.
Thailand Property Crisis and The Application of Assessments and Taxation, presented at the 5th of Property Tax
     Challenges In Asia, in Hong Kong (International Property Tax Institute), August 26-28, 2002, 18 pp.
Property Information Centre: An Intelligent Unit to Tackle With Real Estate Crisis in Thailand, presented at the Congress
     of the Asian Real Estate Society (AsRES), Seoul, July 4-6, 2002, 18 pp.
Speculation and Real Estate Market Booms and Busts in Bangkok, presented at the International Seminar, Speculation in
     Commercial Land and Real Estate Markets: Experience From Around the World, Lincoln Institute of Land Policy,
     Boston, March 7-9, 2002, 15 pp.
Bangkok Housing Market’s Booms and Busts, What Do We Learn?, presented at the PRRES 2002 Conference of the
     Pacific Rim Real Estate Society, Christchurch, January 20-23, 2002, 10 pp.
GIS and Modern Valuation Practices in Thailand, presented at Presented at the Ninth World Valuation Congress,
     Singapore, April 26-29, 2001, 11pp
The development of GIS Database System for Valuation in Thailand, presented at the 11th Conference of the Asean
     Valuers Association, Brunei Darussalam, August 9-11, 2000, 12 pp.
Thailand Property Outlook, presented at the pre-congress of the ASEAN Valuers Association, November 24-25,1999, 6 pp.
Thai Real Estate: Boom & Bust, presented at the 30-year Anniversary Conference of the Land Reform Training Institute,
     Taiwan, November 25, 1998, 4pp.
Thailand Real Estate: Boom and Bust Experience, presented at the 2nd Pacific and Asia Property Research Conference,
     Singapore, March 28-29, 1997, 12 pp.
Valuation Challenge amidst the Condition of Rapidly Changing Prices in Thailand, presented at the 9th ASEAN Valuers
     Congress, Bangkok, November 9, 1996, 10 pp
Innovative Land Readjustment in Thailand Where Public and Private Benefits Meet, presented at the Pacific Asia
     Property Research Conference, National University of Singapore and the Royal Institution of Chartered Surveyors,
     April 27-29, 1995, 15 pp.
Thailand’s Land Readjustment: Valuation Is the Key, presented at the 8th ASEAN Valuers Congress, Jakarta, Indonesia,
     October 11-15, 1994, 16 pp.
Thai Real Estate Review: Challenging Market Direction, presented at the Regional Seminar: Real Estate Development
     during the Bust Period, Agency for Real Estate Affairs, United Nations Conference Centre, August 17, 1993
Urban Land Development: Critiques on Conventional Planning Concepts, submitted to the Asian Urban Land Workshop,
     Institute for Advanced Studies, University of Malaya, June 8-10, 1990, 23 pp
Facts and Figures on Property Taxation in Thailand, presented at the Workshop: Property Tax Study of Thailand, 1990
Bangkok Slums: Social Implications through Physical Appearance, presented at Mahidol University (Bangkok) and the
     Virginia Technical Institute (USA)'s Workshop on the Effects of Crowding in Bangkok, August 10, 1987
The Social Impact of Single-objective Drainage Measures: Canals and Squatter Housing in Bangkok(jt.au.) presented
     at the International Workshop on Urban Flood Protection and Drainage in East and Southeast Asia, Chulalongkorn
     University, Bangkok, June 22-25, 1987
Community Organizations Bangkok Slum-and-squatter Settlements : A Critique, submitted to the International
     Symposium on Strategies for Slum-and-squatter Upgrading in the Developing World, Berlin, November 27-29, 1986
Slum Dwellers: The Less-privileged Segment of Urban Population, A Case of Bangkok Slum-and-squatter Settlements,
     presented at the Regional Seminar on Migrants and the Informal Sector, Jakarta, Indonesia, December 15-18,
     1985, 36 pp.

  top.gif Articles  

Baan Mankong: Slum Solution or Fiasco? Bangkok Post, January 24, 2010
Foreign Acquisition of Thai Land. OTEFA Newsletter (Newsletter of the Overseas Thai Economic and Finance
     Association), December 2009, Volume 1 Issue 2, Pages 8-10.
Nine Understandings of CSR. LAW (Magazine for the Ultimate Insider Analysis. Issue 2, Nov 07-Feb 08, Pages 78-80.
Rethinking Real Estate Cycles: Bangkok 1997 to 2007. GH Bank Housing Journal, Vol.1, No.1, July - December 2007,
     Pages 48-59.
Selling Land in Thailand to the foreigners. Executive Property Magazine, February 2007, P.85-87
Corporate Responsibility Isn’t Just Whitewash.  Bangkok Post. December 15, 2006.
Private Developers in the 1997 Housing Market Crisis in Bangkok (with Ranjith Perera and Karl E Weber). The Appraisal
     Journal, Vol.LXXIV, No. 1 (Winter 2006), Pages 77-85.
Housing speculation in Bangkok: lessons for emerging economies (with Ranjith Perera). Habitat International,
     Volume 29, Issue 3, September 2005, Pages 439-452
Study of American town offers insights for Thai tax system. Fair & Equitable, Magazine of the International Association
     of Assessing Officers, Vol.2, No.11, November 2004, p.8 and 15.
Housing Market in Bangkok after the Financial Crisis of 1997: Lessons learned from the Perspectives of Housing
     Developers, Journal of Financial Management of Property and Construction, Vol.8 No. 3 December 2003, p.167-178.
Errors & Omissions for Professional Valuers, VAT News, July - September 2000, p.18 (Thai)
Market Value: An International Definition. VAT News, April - June 2000, p.12 (Thai)
Buying A House in Thailand by Thai Expats in the USA: Is There Potentials?, VAT News, October - December 1999,
     p.10. (Thai)
How to Standardize Real Estate Valuation Practices in Thailand, The Nation Review, Sep 22-23, 1998
Thai Real Estate and Appraisal: Internationally Competitive, Kookang Turakit/Siam Post, May 8, 1995 (p.27) (Thai)
Bangkok Slums - Another Perspective, Bangkok Post, February 28, 1993, p.23
Real Estate Situation in Bang Na/Srinakarin Area, Bangkok, Bangkok Post April 8, 1991, p.1; The Nation Review April 5,
     1991, p.F4 ; Manager April 5, 1991, p.12 (Thai)
Computer Assisted Mass Appraisal (CAMA) Practices in Pracha-Uthit Area, Bangkok, Manager April 29, 1991, p.7 (Thai)
Potential Locations for Future Housing Development in Bangkok, Manager May 2, 1991, p.6 (Thai)
Land Readjustment Practices, Manager June 13, 1991, p.6 (Thai)
Land Experiment Pays Off, Bangkok Post June 24, 1991, p.10
Property Tax Practices, Manager July 4, 1991, p.8 (Thai)
Real Estate: Taxation Reform for Development, The Real Estate Journal, Vol.7, No.74, 1990, p.96-102
Future of Real Estate Market 1991, The Real Estate Journal, Vol.7, No.74, 1990, p.92-95 (Thai)
Land Price Analysis in Bangkok, Manager Weekly February 19-22, 1990, p.16,19 (Thai)
Urban Shift on the Right Track, Bangkok Post June 18, 1990, p.12-13
Low-income Housing System, The Real Estate Journal Vol.68, June 1990, p.42-46 (Thai)
Land Subdivision Practices, The Real Estate Journal Vol.70, August 1990, p.70-76 (Thai)
Mid Year Land Price Analysis, Bangkok Post August 27, 1990 ; Prachachart Turakit September 1, 1990, p.22 (Thai)
Next Wave: Middle Class Condo, Bangkok Post August 13, 1990
Year End Real Estate Market Review, Bangkok Post December 18, 1990; Bangkok Business December 18, 1990, p.9 (Thai)
Bangkok Slum and Squatter Settlements, Planning and Administration International Union of Local Authorities -
     The Hague, Vol.16, No.2, Autumn 1989, p.104-114
Bangkok Slum Lands: Policy Implications of Recent Findings (with S. Angel), Cities (a US academic journal), May 1989,
     p.136-p146
Don't Neglect the Urban Poor, TVS Newsletter Chulalongkorn University Social Research Institute, July 1989 (Thai)
Hobby-farm Land Subdivision, Prachachart Turakit, November 19-22, 1988 p.16,19 (Thai)
Analysis on Overall Housing Development, Prachachart Turakit, September 10-13, 1988 p.16 (Thai)
Slum Eviction Is Manageable, The Nation Review, August 2, 1987, p.10
International Year of Shelter for the Homeless, Social Development Journal, Catholic Council of Thailand for
     Development, Vol.5-6, 1986 (published in 1987) (Thai)
Migration Is No More the Culprit for Slum Growth, Siam-Rath Newspaper, April 6, 1987, p.7.(Thai)
The Fourth World (The Informal Sector in Europe), TVS Newsletter, Sep.-Oct. 1986. p.70-80. (Thai)
Slum Growth and Government Policies, The Real Estate Journal, Vol.3, No.26, 1985, p.53-60 (Thai)
Some Critiques on Non-government Development Organizations, TVS Newsletter, Vol.5, No.6 1985, p.48-53 (Thai)
1020 Bangkok Slums: A New Survey, Bangkok Post and The Nation Review, June 9, 1985, p.2
Experience in Working in Bangkok Slums, in Tassanee Intarasooksee (ed). Urban Community Development: Slum.
     (Bangkok: Office of the Prime Minister, 1984) (Thai); and in Wiwat Journal, Vol.1, No.47, 1984, p.30-33 (Thai)
News Script : 480 Bangkok Slums, Thai Rath Newspaper, October 6, 1984, p.1 (Thai)
Limit(ation)s of Self-help, Housing and Human Settlements Journal, Vol.1, No.2, p.64-75
Concepts of Slum Plan Formulation, Sapanmai, Vol.1, No.2, p.8-9 (Thai)
The Urban Poor Amidst the Change of Bangkok, CCTD Newsletter, Sept-Oct. 1982, p.2-5
Understanding Psychology of Squatters, The Nation Review, Sept. 8, 1982, p.5
Policies and Plans for Slums: A Macro Perspective, Sangkom Paritad Journal, Vol.1, No.2, p.64-78 (Thai)
13 Days of Rachadapisaek Slum Eviction, Siam Rath Newspaper, February 12, 1982, p.5 (Thai)
Slums and the Roles of Development Organizations, Matichon Newspaper, Sep. 16-17, 1981, p.4, and Human
     Settlement Study Journal, Nov. 1981 (Thai)
The Relationship between Self-help and Mutual Help in Community Development, Siam Rath Newspaper, February 17,
     1981, p.5 (Thai)
Urban Community Development: Prachacheun Slum, Matichon Newspaper, Feb.14, 1981, p.5-6. (Thai)
Status and Roles of Social Work Practices,Paper for the 1980 Social Work Exhibition,Thammasat University, 14 pp.(Thai)

  top.gif Lectures  

Since 1983, occasional lectures on real estate, property valuation, urbanization, housing and human settlements
     development at under-graduate and graduate levels, Prince Chulalongkorn Military Academy,Thammasat University,
     Chulalongorn University, Mahidol University, Social Institute of Technology (Krirk), International Christian University
     (Tokyo), National Institute for Development Administration (NIDA), KULeuven-PGCHS (Belgium), Institut Teknologi
     Properties Indonesia (Jakarta), University of South Australia (as a co-lecturer).
Guest speaker at National housing conferences held by the Office of the Prime Minister (1984), the Bangkok
     Metropolitan Administration (1985), at local housing conferences since 1984.
Guest speaker at international land and housing conferences and courses held by City of Berlin (1986), City of
     Yokohama (1987), United Nations Centre for Human Settlements(1988), UN-ESCAP(1988), CEFIGRE France(1989).
Guest speaker on housing industry and real estate development at training courses held by the National Housing
     Authority, Thammasat University, Chulalongkorn University since 1984, the Bangkok Metropolitan Administration
     since 1985, financial institutions and business firms.
Principal and course director of a 32-hour course on principles and practices in property valuation organized for
     over 50 sessions with over 2,000 participants (as of June 2005).

 

 

มีผลงานวิชาการ ลงตีพิมพ์ใน journals ไหน ที่ได้รับการยอมรับบ้างไหมครับ ?

:lol:




#737280 อยากรู้ว่าผังเมือง กทม. ดี/ไม่ดียังไง เชิญงานนี้ ผมเชิญ ผอ.ผังเมือง มาแจงด้วย...

โดย pornchokchai on 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 06:06

เสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 129:
"โอกาสและการด้อยค่าของที่ดินตามผังเมืองใหม่ กทม.2556 ครั้งที่ 2"
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00-17:00 น. ณ ห้องประชุม มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

 

วิเคราะห์เจาะลึกผังเมืองใหม่จะส่งผลบวกหรือลบต่อมูลค่าของที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างไร

ผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร จะส่งผลอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งผลกระทบต่อจังหวัดอื่น ๆ ในบริเวณเขตปริมณฑลโดยรอบ อนาคตของสุขุมวิทจะรุ่งหรือร่วง ถนนที่กว้าง 12, 16 หรือ 30 เมตรตามผังเมืองใหม่จะต้องเท่านั้นในความเป็นจริงจากการวัดหรือจากทะเบียนที่ดิน สถาบันการเงินที่รับจำนองที่ดินอยู่ จะสูญเสียมูลค่าหรือไม่อย่างไร นักพัฒนาที่ดินจะหาทางออกในการพัฒนาที่ดินอย่างไรดี ข้อพึงระวังในการประเมินค่าของผู้ประเมินจากผังเมืองใหม่นี้ควรเป็นอย่างไร

กำหนดการ
12:30 ลงทะเบียน

13:00 เปิดการเสวนาและรายงานกิจกรรม
ศาสตราภิชาน กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

13:15 จุดเด่นของผังเมืองรวม กทม. ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ดิน
ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร

14:00 บทวิเคราะห์ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

14:30 สิ่งที่พึงระวังในการวางแผนการพัฒนาที่ดินตามผังเมืองใหม่ กทม.
ผศ.อัศวิน พิชญโยธิน ประธานที่ปรึกษา โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

15:15 พัก-รับประทานเครื่องดื่ม เครื่องเคียง

15:30 บทวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
อ.วสันต์ คงจันทร์ กรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และกรรมการสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย
อ.จำนงค์ บัวไขย กรรมการผู้จัดการ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
อ.เอกชัย เปลี่ยนโพธิ์ กรรมการผู้จัดการ บจก.สยามอิมพีเรียล แอพเพรซัล

17:00 ปิดการเสวนา  

กิจกรรมวิชาการ

  • มูลนิธิจัดกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สิน และอสังหาริมทรัพย์แก่สาธารณชน
    โดยไม่แสวงหากำไรโดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรสำคัญจากทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
    สำคัญที่ว่า “Knowledge Is Not Private Property”
  • และในการนี้โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จะบันทึกการเข้าร่วมเสวนาวิชาการของท่านไว้ทุกครั้ง
    เพื่อเป็นหลักฐานในการออกใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของท่าน เสนอต่อสมาคมหรือหน่วยงานที่ท่านเป็นสมาชิก

สนใจ
ลงทะเบียน online ที่ http://www.thaiappra...hly/monthly.php




#728643 เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง: กลับมาแล้ว

โดย pornchokchai on 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 13:08

ไม่มีใครสามารถยกตัวอบย่างได้เลยว่าเสียงส่วนใหญ่ผิด


#726516 เลิกค่อนขอดทำลายชาติกันเถอะ

โดย pornchokchai on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 07:05

เลิกค่อนขอดทำลายชาติกันเถอะ
ภาพที่เห็นทั้งหลายก็แค่มุมกล้อง กดชัดเตอร์ทีเดียวได้นับหมื่นภาพ คนหวังร้ายก็เลือกเอาภาพที่ดูแย่สุดออกมาโพนทะนา สาบานได้ ผมไม่ใช่สมุนยัยปู เพียงอยากบอกว่า การที่คนในชาติบางคนออกมาค่อนขอดแต่เรื่องไร้สาระ หวังแต่จะทำลายศัตรูทางการเมืองนั้น อาจทำชาติพังหรือไม่เจริญไปด้วย โปรดสังวร

Attached Images

  • c2.jpg



#726513 ราคาอาหารไม่ได้แพงขึ้น: ผลสำรวจ 3 ครั้งในรอบปี

โดย pornchokchai on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 07:02

คุณโกหก

คนเข้ากันแน่นทุกร้าน

ราคาอาหารเป็นไปตามนั้น ไม่มีใครบ้าเก็บเพิ่มครับผม

 

 

 

 

ผมเคยทำงานสีลมนะครับ สังเกตว่าร้านมันไม่ขึ้น มันก็ไม่ขึ้น แต่ร้านมันไม่เป็นที่นิยม  หรือพูดกันตามตรงๆ คือ แดร๊กไม่ค่อยได้ หรือได้บ้าง หรือร้านขวัญใจคนเงินเดือนน้อย   แต่บระเจ๊า ร้านไม่น่าขึ้น คือร้านที่แพงอยู่แล้ว แม่มดันขึ้น เช่น น้ำมะนาวขอขึ้น 5 บาท กล้วยแขกแอบลดชิ้น บางร้านแอบขอขึ้นข้าว 5 บาท แบบเนียนๆ บางที เราไปกินข้าว ด้วยความที่มันรีบ ไม่มีอารมรณ์มานั่งคิดหรอกครับว่า วันนี้มันจะขึ้น 5 บาท 10 บาท ไข่ทอด 2 บาท เพราะเวลาสั่งมันก็จอยกัน แชร์กัน เช่นกินส้มตำมากัน 5 คน กินไป 800 บาท สีลมนี่เรียกราคา เบๆ ก็หารไปคนละ 160 มันดูไม่แพงใช่มะครับ แต่ถ้าเช็คจริงๆ มันอาจจะอ่าว ปรกติ 150 นี่หว่า...แบบนี้ก็มีนะครับ

 

"หรือบางที ป้ายราคาอะมันใช่ เตี๋ยวหมู 35 พิเศษ 40 แต่พอกินไป เคยปะครับ อ้าว ก็เตี๋ยวหมู 35 จริงแต่มีลูกชิ้นก็ 40 จ๊ะ แต่นี้ใส่เกี๊ยวพิเศษให้เลย 45 (กรูยังไม่ทันสั่ง) เงิบปะละ"




#726459 เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง: กลับมาแล้ว

โดย pornchokchai on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 04:25

วิพากษ์ความเห็นของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

 

Sat, 2013-04-06 12:18


ดร.โสภณ พรโชคชัย
 

ตามที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงปาฐกถาความตอนหนึ่งว่า "ถ้าย้อนไปดูประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ยังได้เป็นผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งได้พรรคพวกมาในสภาก็ได้แก้ไขกฎหมายเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง ในที่สุดผู้นำเสียงข้างมากก็นำพาเยอรมันไปสู่หายนะก็คือประเทศเยอรมัน" {1} ข้อความนี้ไม่สอดคล้องกับความจริง
 
แม้ฮิตเลอร์จะมาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นการเลือกตั้งที่โกงมา รวมทั้งการทำลายคู่แข่ง และที่สำคัญไม่ได้ชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2476 ฮิตเลอร์ได้คะแนนเสียง 44%  ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง  และแม้ฮิตเลอร์จะชนะการเลือกตั้งใน 33 จาก 35 เขตเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่โดยเสียงส่วนใหญ่อยู่ดี {2}  ดังนั้นการที่ฮิตเลอร์นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามจึงไม่ใช่มติของชาวเยอรมันส่วนใหญ่
 
บางคนเข้าใจว่าคนส่วนน้อยเห็นได้ถูกต้องกว่าคนส่วนใหญ่ เช่น คดี Perry v. Schwarzenegger ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิพากษาไปเมื่อ 4 สิงหาคม 2553 ว่า ผลการลงประชามติของชาวมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2551 ที่มีมติห้ามคนเพศเดียวกันสมรสกันนั้น ขัดต่อหลักความเสมอภาคและขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา  คำพิพากษานี้ดูประหนึ่งว่าศาลตัดสินไปในทางที่ขัดต่อมติมหาชน (Anti-Majoritarian Decision) คล้ายกับว่า "เมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้างมากรับรู้ไว้” {3}
 
ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิด ความจริงก็คือประชามติของชาวมลรัฐหนึ่งจะไปขัดกับรัฐธรรมนูญของทั้งประเทศ (ซึ่งมาจากฉันทามติของคนทั้งประเทศ) ย่อมไม่ได้อยู่แล้ว ประชามติของคนกลุ่มย่อยเช่นนี้ย่อมไม่มีผล เช่น ชาวฮาวายจะลงประชามติแยกออกจากสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้  หรือกรณีมติของคณะโจรว่าจะไปปล้นบ้านไหน ชุมชนไหน ย่อมใช้ไม่ได้เพราะโจรไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในสังคม
 
อย่างไรก็ตาม หากมีการลงประชามติกันทั่วประเทศห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ต้องแก้กฎหมายตามเสียงส่วนใหญ่  ผู้พิพากษาก็คงไม่อยู่ในวิสัยที่จะออกมาพูดเป็นอื่นในที่สาธารณะหรือมาตัดสินเป็นอื่นได้  ดังนั้นมันจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะกล่าวว่าศาล (ผู้พิพากษาไม่กี่คน) ซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้างมากไม่ได้
 
เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนั้นเป็นสัจธรรม (แต่กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้น ในกรณีศิลปวิทยาการ เช่นจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์ ก็ต้องถามผู้รู้ เป็นต้น)  ทั้งนี้ยกเว้นกรณีถูกโฆษณาชวนเชื่อ หรืองมงายเอง ซึ่งไม่ใช่พบเห็นแต่ในหมู่ปุถุชน แม้แต่อาจารย์ระดับดอกเตอร์ชื่อดังยังหลงคารมเปรตกู้มาแล้ว หรือกรณีพวกคุณหญิงคุณนาย นายทหารใหญ่ ๆ ก็ไปหลงเคารพอลัชชี เป็นต้น
 
ยิ่งกว่านั้นนายวสันต์ยังกล่าวว่า "เยอรมันจึงมีศาลรัฐธรรมนูญและมีอำนาจมาก และมีบทบัญญัติพิทักษ์รัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน"  การที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมีเกียรติภูมิสูงนั้นเป็นเพราะสภาเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาที่สมัครเข้ามาตามคุณสมบัติที่กำหนด {4}  แต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญของไทย กลับแตกต่างกัน โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 204 ระบุที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องอื่นอีก 2 คน {5}
 
อีกประเด็นหนึ่งที่พึงวิพากษ์การแสดงปาฐกถาของนายวสันต์ก็คือ ความไม่สมควรในวิจารณ์หรือเหน็บแนมการเมืองในฐานะที่เป็นตุลาการ  ทั้งนี้ตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่าตุลาการต้อง "ระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เสนอหรืออาจจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย" {6}
 
นอกจากนั้นในประมวลจริยธรรมขาราชการตุลาการยังระบุว่า "ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา" {7}  ดังนั้นการแสดงปาฐกถาครั้งนี้ซึ่งพาดพิงถึงบุคคลและพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จึงไม่ควรทำ เว้นแต่จะลาออกจากสถานะตุลาการ
 
หากผู้เป็นตุลาการออกมาพูดการเมือง จะถูกติเตียนว่าเอนเอียงได้  ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน โดยผลจากการสำรวจเมื่อปี 2554 {4} พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ (57%) ไม่เชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 37.62 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น) และมีส่วนน้อยที่เชื่อมั่น  เหตุผลที่ไม่เชื่อมั่นก็เพราะ “เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน” {8}
 
ผู้เขียนเป็นห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันตุลาการจึงแสดงความเห็นข้างต้นมาด้วยความเคารพและด้วยความบริสุทธิ์ใจ
 
 
อ้างอิง
 
{1} ข่าว "ปธ.ศาลรธน. ชี้ เสียงข้างมากหากยึดติดอำนาจ ประเทศจะหายนะ" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 5 เมษายน 2556 ณ www.thairath.co.th/content/pol/337042
 
{2} การเลือกตั้งในเยอรมนี German federal election, March 1933. http://en.wikipedia....ion,_March_1933



#726457 เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง: กลับมาแล้ว

โดย pornchokchai on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 04:21

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
16 มิถุนายน 2554

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย 

 

          ในระบอบประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง คือเสียงสวรรค์ แต่พวกเผด็จการทรราชพยายามบิดเบือนสัจธรรมข้อนี้อยู่เสมอ


          เรามายืนยันความถูกต้องกันเถิด เสียงส่วนใหญ่คือสัจธรรม หรือสัจธรรมยืนอยู่ข้างคนส่วนใหญ่ การตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ย่อมไม่ผิดพลาด ย่อมถูกต้องเสมอ ในกรณีของผู้เขียนซึ่งประกอบอาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินนั้น วิธีการประเมินค่าทรัพย์สินสำคัญวิธีหนึ่งก็คือ การเปรียบเทียบตลาด (Market Comparison Approach) ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินต้องหาข้อมูลให้เพียงพอ ซึ่งเมื่อหาพบแล้ว เราก็จะทราบได้ว่าในตลาดมีระดับราคาที่เรียกว่า “ช่วงชั้นราคาตลาด” (Zone of Market Prices) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “หั่งเส็ง” หรือ “หั่งเช้ง” ที่คนส่วนใหญ่ซื้อบ้านในราคาตลาด (Market Prices) ราคานั้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง (Market Value) ของทรัพย์สินที่เราประเมินซึ่งอาจแตกต่างไปบ้างตามลักษณะเฉพาะของทรัพย์สิน


          พฤติกรรมตลาด (Market Behavior หรือ Market Practices) ในท้องตลาด เป็นผู้กำหนดราคาตลาด ซึ่งสะท้อนจากความเป็นไปได้ทั้งทางกายภาพ ตลาด การเงิน และกฎหมาย เช่น ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ที่ดินที่เป็นที่นากับที่ดินที่เป็นสวนยางพารา หรือที่ดินที่มีระบบชลประทานกับที่ดินที่ไม่มี หรือที่ดินที่ถือครองเป็นโฉนดกับที่เป็น สปก.4-01 ย่อมมีราคาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนตามพฤติกรรมตลาด อย่างไรก็ตามในตลาดที่ไม่สมบูรณ์ (Imperfect Market) กลไกตลาดอาจถูกบิดเบือนไปได้ในบางขณะสั้น ๆ แต่ไมใช่ตลอดไป


          อาจกล่าวได้ว่าเมื่อมีตลาด ก็จะมีราคา เพราะตลาดเป็นแหล่งสังเคราะห์อุปสงค์และอุปทานให้ออกมาเป็นราคาตลาด ถ้าเราไม่ฟังเสียงตลาดหรือคนส่วนใหญ่ เราก็จะไม่สามารถทราบราคาที่แท้จริงได้ มีตัวอย่างว่า ครั้งหนึ่งก้อนหินจากดวงจันทร์ถูกขโมยหายไปจากองค์การนาซา ปรากฏว่าหินก้อนนี้มีราคา 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มีราคาเช่นนี้ก็เพราะมีพฤติกรรมตลาดที่แน่ชัดที่ผ่านการซื้อขายมาหลายต่อหลายครั้งในตลาด จนสามารถทราบได้นั่นเอง นักวิทยาศาสตร์ประเทศอื่นคงไม่สามารถไปดวงจันทร์ได้โดยง่าย แต่ก็อยากได้หินมาทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงมีระบบตลาดของหินดวงจันทร์เกิดขึ้น นี่แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมตลาดเป็นตัวกำหนดมูลค่าทรัพย์สิน


          อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงอาจมีข้อมูลที่สูงหรือต่ำผิดปกติ (Outliers) อยู่บ้าง ซึ่งย่อมเป็นความผิดพลาด (Errors) ที่อธิบายได้หรือยังอธิบายไม่ได้อันเป็นผลมาจากการจดบันทึกหรือเก็บข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน มีตัวแปรพิเศษ หรือกลุ่มตัวอย่างแตกต่างไปจากกลุ่มส่วนใหญ่จริง เช่น จากการเก็บข้อมูลในจำนวนที่เพียงพอพบว่า ปกติบ้านแบบเดียวกันในย่านนี้ มีราคา 1 ล้านบาท บวก/ลบ 10% แต่มีบางคนซื้อเพียง 5 แสนบาท เพราะเป็นบ้านเก่าที่ทรุดโทรม หรือมีคนฆ่าตัวตายในบ้าน คนเลยกลัว ในทางตรงกันข้าม บางคนก็อาจซื้อในราคา 2 ล้านบาท เพราะจำเป็นต้องซื้อหรือเพราะความไม่รู้ เป็นต้น เราจึงต้องร่อนเอาข้อมูล Outliers เหล่านี้ออกก่อนการวิเคราะห์และประมวลผล ไม่เช่นนั้นก็จะถือเป็นข้อมูลขยะ ถ้าเราเอาขยะเข้ามาวิเคราะห์ เราก็จะได้ขยะออกมา (Garbage In, Garbage Out).


          ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ให้สาวกยึดมั่นในพระพุทธองค์แต่ให้ยึดมั่นในพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนหลังพระองค์ปรินิพพาน ในสมัยพุทธกาลและหลังจากนั้นมาอีกนับร้อย ๆ ปี ก็ไม่มีการสร้างพระพุทธรูป แม้แต่พระวินัยบางข้อ ถ้าที่ประชุมสงฆ์เห็นควรละเว้นแก้ไข พระองค์ก็อนุญาตให้ทำได้ นี่แสดงว่าพระพุทธองค์ยอมรับปัญญา และความเป็นอิสระของคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังปฏิเสธการแบ่งชั้นวรรณะ เห็นคนเท่าเทียมกัน ทรงบวชจัณฑาลเป็นพระสงฆ์ จึงนับว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งประชาธิปไตย และจึงถูกทำลายหรือไม่ก็ถูกควบคุมให้อยู่ใต้อาณัติของวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์เรื่อยมา


          บางคนอ้างผิด ๆ ว่าเสียงส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจผิดพลาดได้ เช่น กรณีการเถลิงอำนาจของนาซี เยอรมนี โดยอ้างว่าฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงก็คือ การเลือกตั้งในปี 2476 ดังกล่าว นาซีไม่ได้ชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ นาซีได้คะแนนเสียงเพียง 44% เท่านั้น ทั้งนี้ยังเป็นการเลือกตั้งสกปรก รวมทั้งการทำลายคู่แข่งของฮิตเลอร์ และแม้นาซีจะชนะการเลือกตั้งใน 33 จาก 35 เขตเลือกตั้ง ก็เป็นการชนะด้วยเสียงที่ได้มากที่สุดแต่ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่อยู่ดี โดยสรุปแล้วในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นเรื่องของปุถุชน ทุกคนรู้เท่าทันกัน เสียงส่วนใหญ่ย่อมถูกต้องเสมอ ไม่มีใครโง่กว่าใคร เราจึงเชื่อมั่นในเสียงส่วนใหญ่ได้


          อย่างไรก็ตาม “กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น” เช่น เสียงส่วนใหญ่ของโจรย่อมใช้ไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง โจรก็ยังเป็นคนส่วนน้อยในสังคม ในเชิงเทคนิควิทยาการ เช่น การสร้างจรวดไปดวงจันทร์ เราจะถือเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ เราต้องถามผู้รู้ หรือเรื่องความเชื่อแต่เดิมว่าโลกแบน ถ้าให้ประชาชนผู้ไม่รู้วิทยาการออกเสียงในสมัยโบราณว่าโลกกลมหรือแบน ส่วนใหญ่ก็ต้องออกเสียงว่าโลกแบน เป็นต้น


          ด้วยข้อยกเว้นเหล่านี้ พวกเผด็จการทรราชจึงนำมาบิดเบือน สร้างความสับสนด้วยการอุปโลกน์ตนเป็นผู้นำ เป็นผู้รู้ เป็นอภิชนเหนือคนอื่น และข่มว่ามหาชนเป็นคนโง่ ถูก “ฟาดหัวด้วยเงิน” ได้โดยง่าย ไร้สามารถ ขาดศักยภาพในการตัดสินใจ จำเป็นต้องมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สวรรค์ส่งมาเพื่อนำทางให้อยู่เสมอ ๆ การบิดเบือนเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อให้ท้ายพวกเผด็จการทรราชมาทำการรัฐประหาร แล้วมาควบคุมประชาชน แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ก็มาโกงกิน ดังเช่นที่เห็นตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ สามทรราช รสช. หรืออาจรวม คมช. ด้วยก็ได้ มีใครเชื่อบ้างว่ารัฐบาลสุรยุทธ์และรัฐมนตรีเหล่านั้นใสสะอาดกว่ายุคอื่น ในยุคเผด็จการทรราชมักมีการโกงกินมากกว่าพวกนักการเมืองพลเรือนเพราะขาดการตรวจสอบและเพราะมักอ้างตนมีคุณธรรมเหนือผู้อื่น


          เผด็จการทรราชยังใช้อำนาจเขียนประวัติศาสตร์บิดเบือนต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อจะโค่นล้มรัฐบาล ป. พิบูลสงคราม ก็กล่าวหาว่ารัฐบาลดังกล่าวโกงเลือกตั้ง ทั้งที่การโกงกันเพียงบางส่วนจากทั้งสองฝ่าย และอาจเป็นการสร้างสถานการณ์การโกงเพื่อก่อรัฐประหาร ในสมัย 6 ตุลาคม ก็หาว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเพื่อตอกย้ำความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร ก็จัดแสดงนิทรรศการอาวุธในธรรมศาสตร์ที่สนามไชย ซึ่งผู้เขียนในฐานะนักศึกษาผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเชื่อว่าไม่เคยมีอาวุธสงครามเช่นนั้น หาไม่ตำรวจ ทหารและกลุ่มฝ่ายขวาที่บุกเข้าไปคงต้องเสียชีวิตกันมากมายไปแล้ว


          ประชาชนมักถูกมองว่าเป็นแค่ “ฝุ่นเมือง” หรือ “ปุถุชน” (บุคคลผู้มีกิเลสหนา) แต่ในความเป็นจริง ปุถุชนหรือสามัญชนนี่แหละคือเจ้าของประเทศตัวจริง ไม่ว่าชนชั้นปกครองจากชาติใด ราชวงศ์ใด หรือลัทธิใดมาครอบครอง สามัญชนก็ยังอยู่สร้างชาติ รักษาความเป็นชาติ เช่นที่เห็นได้ในประวัติศาสตร์จีน เกาหลี หรือล่าสุดในสมัยสงครามเวียดนามที่มีเพียงประชาชนระดับบนที่มีฐานะและโอกาสที่ดีกว่าที่หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อความอยู่รอดส่วนตัว ดังนั้นเราจึงต้องตระหนักถึงคุณค่าของมวลมหาประชาชน ดังบทกวีที่ว่า


          “ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า
ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ
ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน
ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป
เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่
ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่
เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ
ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”

 

หมายเหตุ:
ผู้เขียน เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อแสดงคารวะถึงเกียรติศักดิ์ของสามัญชนที่มักถูกมองข้าม หยามหมิ่น ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะให้บทความนี้เป็นผลบวกหรือลบต่อการเมืองฝ่ายใด และที่ผ่านมาและจากนี้ไป ผู้เขียนก็ไม่ได้คิดไปรับใช้การเมืองฝ่ายใด




#725354 วิพากษ์แนวคิดผังเมืองของ ผอ.ผังเมือง กทม.

โดย pornchokchai on 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 22:10

5 5 5




#717547 ราคาอาหารไม่ได้แพงขึ้น: ผลสำรวจ 3 ครั้งในรอบปี

โดย pornchokchai on 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 20:33

ราคาอาหารไม่ได้แพงขึ้น: ผลสำรวจ 3 ครั้งในรอบปี

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย
sopon@area.co.th; www.facebook.com/dr.sopon

 

          ตามที่มีข่าวว่าราคาอาหารแพงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ผู้สำรวจได้สำรวจราคาอาหารในย่านสีลม ซึ่งถือเป็นศูนย์ธุรกิจสำคัญที่สุดของประเทศไทย และมีคนทำงานในสำนักงานเป็นจำนวนมาก


          จากที่ผู้สำรวจได้สำรวจเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 พบว่าราคาอาหารไม่ได้แพงขึ้นตามความรู้สึกหรือตามที่เป็นประเด็นทางการเมือง ที่พยายามนำเสนอออกมาเป็นข่าวคราวในช่วงที่ผ่านมา ต่อมาในวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 หรือ 6 เดือนหลังจากนั้น ผู้สำรวจได้สำรวจซ้ำในร้านเดิม ๆ ในย่านสีลม ก็ยังยืนยันได้ว่า ราคาอาหารไม่ได้แพงขึ้นแต่อย่างใด และมาในครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ซึ่งถือเป็นการครบรอบ 1 ปีของการสำรวจครั้งแรก จึงได้ออกสำรวจอีกครั้งหนึ่ง

 

          ผลการสำรวจครั้งล่าสุดพบเช่นการสำรวจเมื่อครึ่งปีที่ผ่านมาคือ ร้านค้าและศูนย์อาหารต่าง ๆ แทบทั้งหมดยังขายในราคาเดิม โดยพิจารณาได้จากตารางต่อไปนี้:

 

market114-2556_01.jpg

 

          จะพบว่า ราคาอาหารแทบไม่ได้ปรับขึ้นเลย หรือปรับเพิ่มขึ้นเพียง 2% ในช่วงครึ่งแรกที่สำรวจ ซึ่งยังต่ำกว่าการปรับเพิ่มของอัตราภาวะเงินเฟ้อที่ 3-4% ต่อปี  มีเพียงบางร้านหรือบางศูนย์อาหารเท่านั้นปรับราคาขึ้น แต่ก็ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ผิดกับความรู้สึกของบุคคลบางส่วนที่เชื่อว่าราคาอาหารปรับเพิ่มสูงขึ้น แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาไม่ปรับเพิ่มขึ้นเลย


          ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ขนาดในพื้นที่สีลม ซึ่งเป็นศูนย์ธุรกิจสำคัญที่สุด หรือ Central Business District ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันการเงิน และบริษัทชั้นนำ ราคาอาหาร ก็ยังไม่ได้ปรับเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในบริเวณอื่นก็คงมีสภาพไม่แตกต่างกัน หรืออาจปรับเพิ่มน้อยกว่านี้อีกก็เป็นได้


          อย่างไรก็ตามอาจมีบางบริเวณ เช่น เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองอุตสาหกรรมที่มีการปรับเพิ่มของราคาขายมากกว่านี้ หรือสำหรับรายการอาหารแบบฟาสต์ฟูด ก็อาจปรับราคาเพิ่มขึ้นตามอำเภอใจโดยไม่ได้มีการควบคุม แต่สำหรับประชาชนกันเอง ย่อมมีความเห็นใจและถ้อยทีถ้อยอาศัยกันตามสมควร จึงทำให้แทบไม่มีการปรับราคาขาย


          ในกรณีนี้บางท่านอาจตั้งข้อสังเกตว่า แม้ราคาไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณอาจจะลดน้อยลง แต่จากการสังเกตก็พบว่า ปริมาณก็ยังพอ ๆ กับแต่เดิม ไม่ได้ปรับลงปริมาณลงแต่อย่างไร อย่างไรก็ตามก็ยังอาจมีบางท่านให้ข้อสังเกตว่า แม้ปริมาณจะคงเดิม แต่คุณภาพก็อาจลดลง แต่ข้อนี้ ผู้สำรวจคงไม่สามารถไปตรวจสอบในรายละเอียดในระดับนั้น และคงอยู่ที่วิจารณญาณของทุกท่านที่พิจารณาผลการสำรวจนี้


          การกล่าวโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงว่าราคาอาหารแพงขึ้นมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นความหวังดีที่ต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้กับสังคม แต่อันตรายประการหนึ่งก็คืออาจทำให้ผู้ค้าบางรายฉวยโอกาสขึ้นราคา ซ้ำเติมประชาชนได้ ดังนั้นการนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ จึงควรมีความรับผิดชอบ และผู้เสพข้อมูลควรใช้วิจารณญาณ


          โปรดดูภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งที่ 1 (5 พฤษภาคม 2555) และครั้งที่ 2 (16 พฤศจิกายน 2555) และครั้งที่ 3 (14 พฤษภาคม 2556) ดังต่อไปนี้

 

รูปที่ 1: แผนที่ที่ตั้งของร้านอาหารลำดับตามภาพที่สำรวจ
ณ ย่านสีลม ศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพมหานคร 11:40 – 13:00 เสาร์ 5 พฤษภาคม 2555
สำรวจซ้ำอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 และ วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2556

market_001.jpg

 

รูปที่ 2: ราคาต่ำสุดข้าวราดแกงอย่างเดียว 25 บาทเท่านั้น ณ สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี
ท่าทางคงจะตรึงราคามานานอย่างเหนียวแน่น น่าขอบคุณผู้ค้า

market_002.jpg

 

รูปที่ 2.1 ถ่ายซ้ำเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ยังยืนราคาตามเดิม
market_002_2.jpg

 

รูปที่ 2.2 ถ่ายซ้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ยังยืนราคาเดิม
market11456_01.jpg

 

รูปที่ 3: บะหมี่เกี๊ยว 30 และ 35 บาท (พิเศษ) ณ ซอยสีลม 5 (ละลายทรัพย์)
ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นศูนย์ธุรกิจการเงินสำคัญที่สุดของชาติ
แต่ในการสำรวจซ้ำเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ไม่พบ

market_003.jpg

 

รูปที่ 4: ป้ายราคาร้านอาหารที่เริ่มต้น 30 บาทในศูนย์อาหาร ณ ซอยสีลม 5 (ละลายทรัพย์)
เจ้าของร้านบอกว่า ถ้าเป็นที่สาขาอื่น เขาเริ่มต้นขายที่ 25 บาท เพราะค่าเช่าถูกกว่าที่นี่

market_004.jpg

 

รูปที่ 4.1 ถ่ายซ้ำเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ยังยืนราคาตามเดิม
market_004_2.jpg

 

รูปที่ 4.2 ถ่ายซ้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ยังยืนราคาเดิม
market11456_02.jpg




#686073 ภาพโป้เด็กหรือศิลป

โดย pornchokchai on 22 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:27

แสดงว่าต้อกเต้อร์แกคิดอะไรกับเด็ก 

 

เค้าสื่อความไร้เดียงสา ชื่อก็บอกอยู่ ดูสายตาของเด็กสิ

 

การเปลือยอก แปลว่าเด็กอ่ะ ไม่คิดเรื่องพรรค์อย่างว่า

ไม่มีจริตอย่างผู้ใหญ่ ที่คิดเรื่องข่มขืนอะไรไปโน่น  :D

 

ศิลปินกล้าเอาลูกตัวเอง หรือคุณกล้าให้ลูกเมียคุณไปยืนเป็นแบบให้เขาวาดไหมครับ




#686071 ภาพโป้เด็กหรือศิลป

โดย pornchokchai on 22 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:26

ความเห็นนี้ เป็นของ จขปท. ตัวจริงหรือตัวแทนฯ

คิดว่า ตัวจริงยังเข้า สรท. ไม่ได้ อย่าได้ออกความเห็นแทน

แค่ งานศิลป์ ยังไม่เข้าใจ อย่าเก็ต ไอเดีย โชว์กึ้นเลย

 

 

นิทรรศการศิลปะ “เดียงสา”
large_1.jpg

 

เอาสาระดีกว่ามั๊ง อย่าเอาแต่พูดส่อเสียด แสดงตนเป็นคนไม่ดีอยู่ได้




#686063 เก็บภาษีที่ดินว่างเปล่าเถอะ

โดย pornchokchai on 22 เมษายน พ.ศ. 2556 - 15:22

สามัญชนมีกระทั่งภาษีล้อเลื่อน ภาษีรถยนต์ คนพอมีพอกินก็ยังมีภาษีคอนโดฯ (ค่าส่วนกลาง) แต่พวกมหาเศรษฐี ชนชั้นสูงเก็บที่ดินไว้มหาศาลจนหญ้ารก เต็มไปหมด กลับไม่ต้องเสียภาษีสักบาท หรือถ้าเสียภาษีโรงเรียน ภาษีที่ดิน ก็น้อยมาก เรียกว่าค่าเดินทางไปเสียยังสูงกว่าภาษีเสียอีก . . . . แต่ปากไอ้พวกนี้บอกมันรักชาติ มันพอเพียง . . . นี่มันอาชญากร (เศรษฐกิจ) ชัด ๆ

 

โรงเรียน กับ โรงเรือน นี่ความหมายต่างกันเยอะเลยนะคะ

เที่ยวนี้ท่านดอกเตอร์มาเอง หรือเป็นเจ้าหน้าที่มาโพสให้คะ ?

 

 

ขอบคุณครับ ภาษีโรงเรือนครับผม




#685486 เก็บภาษีที่ดินว่างเปล่าเถอะ

โดย pornchokchai on 22 เมษายน พ.ศ. 2556 - 06:43

สามัญชนมีกระทั่งภาษีล้อเลื่อน ภาษีรถยนต์ คนพอมีพอกินก็ยังมีภาษีคอนโดฯ (ค่าส่วนกลาง) แต่พวกมหาเศรษฐี ชนชั้นสูงเก็บที่ดินไว้มหาศาลจนหญ้ารก เต็มไปหมด กลับไม่ต้องเสียภาษีสักบาท หรือถ้าเสียภาษีโรงเรียน ภาษีที่ดิน ก็น้อยมาก เรียกว่าค่าเดินทางไปเสียยังสูงกว่าภาษีเสียอีก . . . . แต่ปากไอ้พวกนี้บอกมันรักชาติ มันพอเพียง . . . นี่มันอาชญากร (เศรษฐกิจ) ชัด ๆ




#672273 วิพากษ์ความเห็นของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

โดย pornchokchai on 9 เมษายน พ.ศ. 2556 - 10:48

ตกลงมีใครแก้ตัวให้นายวสันต์ ได้หรือยังครับ อย่าออกนอกเรื่องเลยครับ มาถกให้เข้าประเด็นนะครับ




#672267 วิพากษ์ความเห็นของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

โดย pornchokchai on 9 เมษายน พ.ศ. 2556 - 10:44

คุณบ้าหรือเปล่า ผมตั้งมูลนิธิมานี่ออกเงินส่วนตัวเอง คนที่คุณกราบ ยังไม่ใครออกเงินทำบุญเช่นผมเลย ผมทำเพื่อส่วนรวมมากมาย คุณกรุณาอย่าตาบอดครับผม

 

ตอนที่ผมตั้งมูลนิธิแรก คุณยังวิ่งขายโฆษณาให้หนังสือขายบ้านและที่ดินอยู่เลย

 

ส่วนประโยคนี้

คนที่คุณกราบ ยังไม่ใครออกเงินทำบุญเช่นผมเลย

ก็สะท้อนจิตใจต่ำทรามของคุณ โดยไม่ต้องมีใครแหย่

 

1 คุณรู้หรือ ว่าผมกราบใคร

ถ้าผมกราบเจ้านายหลายพระองค์ล่ะ คุณมิล้ำเส้นละหรือ

 

2 เราพูดถึงการตั้งมูลนิธิ

คุณดันไปพูดเรื่องทำบุญ ตกลงมูลนิธิของคุณคือการทำบุญหรือ

ถ้าใช่ ก็เป็นการทำบุญที่ประหลาดมาก

เพราะทำแล้วมีรายได้ มีเงินเดือนแฮะ

 

 

โพสต์นี้ของคุณ ทำให้ผมสบายใจว่า ดูคน เอ้ย ดูสัตว์ไม่ผิด

เอาหนังมนุษย์มาคลุม แต่ใจข้างใน โสมม นัก

 

 

ใส่ไคล้ เลวทรามมาก ผมทำดีจริง ถ้าสิ่งที่คุณพูดเป็นเท็จ ขอให้คุณไม่ตายดี จะหลอกหลอนให้คุณฉิบหายตลอดไปครับ เตรียมรับเคราะห์กรรมได้เลยครับ